คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝนปี 2550 ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2550 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยธรรมชาติและผลกระทบด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ
ผลการเพาะปลูกพืช และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยธรรมชาติและผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัย 2 ช่วง คือ
เมื่อวันที่ 18-22 สิงหาคม 2550 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่งผลให้บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรเสียหายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพังงา ดังนี้
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ประสบภัย 1 อำเภอ คือ อำเภอพนม ปัจจุบัน(23 ส.ค.50) ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่ม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 เมตร แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
จังหวัดพังงา พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง เกาะยาว กะปง คุระบุรี ปัจจุบัน (23 ส.ค.50) ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่ม 2 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 เมตร และอำเภอตะกั่วป่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 105 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 959 ตัว แบ่งเป็น โค 56 ตัว กระบือ 420 ตัว สุกร 27 ตัว ไก่พื้นเมือง 456 ตัว สำหรับด้านพืชและด้านประมงอยู่ระหว่างสำรวจ
เมื่อวันที่ 5—16 สิงหาคม 2550 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ อุดรธานี เลย และหนองบัวลำภู ได้รับผลกระทบ ดังนี้
ด้านพืช เกษตรกร 33,251 ราย พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย ศรีสะเกษ อุดรธานี กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี จำนวน 444,177 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 272,775 ไร่
ด้านประมง เกษตรกร 1,903 ราย พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เลย ศรีสะเกษ และหนองบัวลำภู จำนวน 2,282 บ่อ และ 7 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 1,514 ไร่ และ 68 ตารางเมตร ตามลำดับ
ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 3,175 ราย พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ จำนวน 86,127 ตัว แบ่งเป็น โค 2,618 ตัว กระบือ 194 ตัว สุกร 289 ตัว ไก่พื้นเมือง 83,026 ตัว แปลงหญ้า 122 ไร่
ฝนทิ้งช่วง (ช่วงเกิดภัยระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน — 15 สิงหาคม 2550)
ด้านพืช เกษตรกร 29,824 ราย พื้นที่ประสบภัย 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ยโสธร และลพบุรี จำนวน 2.07 ล้านไร่ คาดว่าจะเสียหาย 1.69 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1.31 ล้านไร่ พืชไร่-พืชสวน 0.38 ล้านไร่
2. สถานการณ์น้ำ
2.1 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 47,565 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2549 (52,201 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,636 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,522 และ 5,823 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 63 และ 61 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,345 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า 30% ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 5 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ (16%) อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี (27%) อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (23%) อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี (20%) และอ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี (25%)
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ มากกว่า 80 % ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 2 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี (85%) อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง (81%)
2.2 สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ (ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำยมที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำน่านที่อำเภอเมือง อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลุ่มน้ำชี โขง มูล) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำมูลที่อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แม่น้ำมูลที่อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ แม่น้ำโขงที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม แม่น้ำชีที่อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคกลาง (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำป่าสักที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบรูณ์ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคตะวันตก (ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำเพชรบุรี) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำแม่กลองที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แม่น้ำแควน้อยที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และแม่น้ำเพชรบุรีที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคตะวันออก (ลุ่มน้ำปราจีนบุรี บางปะกง) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต
ภาคใต้ (ลุ่มน้ำตาปี) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำตะกั่วป่าที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แม่น้ำคลองปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แม่น้ำตาปีที่อำเภอเคียนซา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปัตตานีที่อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และแม่น้ำตรัง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. ผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน
ผลการเพาะปลูกข้าวและพืชฤดูฝนในเขตชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง 23.15 ล้านไร่ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2550 ปลูกแล้ว 10.11 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปี 9.96 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.15 ล้านไร่
4. การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
4.1 การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 321 เครื่อง แบ่งเป็น
เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบ อุทกภัย จำนวน 73 เครื่อง ในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ 43 เครื่อง ลำพูน 10 เครื่อง นนทบุรี 10 เครื่อง ปทุมธานี 2 เครื่อง สมุทรสาคร 2 เครื่อง อ่างทอง 6 เครื่อง
เพื่อช่วยเหลือสภาวะฝนทิ้งช่วงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 248 เครื่อง ในพื้นที่ 18 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี 6 เครื่อง หนองบัวลำภู 6 เครื่อง หนองคาย 13 เครื่อง เลย 6 เครื่อง สกลนคร 8 เครื่อง ขอนแก่น 8 เครื่อง มหาสารคาม 1 เครื่อง ร้อยเอ็ด 53 เครื่อง กาฬสินธุ์ 38 เครื่อง ชัยภูมิ 7 เครื่อง ยโสธร 7 เครื่อง นครพนม 12 เครื่อง มุกดาหาร 8 เครื่อง อำนาจเจริญ 10 เครื่อง นครราชสีมา 48 เครื่อง บุรีรัมย์ 8 เครื่อง สุรินทร์ 3 เครื่อง และศรีสะเกษ 6 เครื่อง
4.2 การปฏิบัติการฝนหลวง
มีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 11 หน่วยปฏิบัติการและ 4 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ หน่วยฯเชียงใหม่ หน่วยฯพิษณุโลก หน่วยฯลพบุรี หน่วยฯกำแพงแสน หน่วยฯขอนแก่น หน่วยฯอุดรธานี หน่วยฯร้อยเอ็ด หน่วยฯนครราชสีมา หน่วยฯอุบลราชธานี หน่วยฯสระแก้ว และหน่วยฯหัวหิน และฐานเติมสารฝนหลวง จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดระยอง และจังหวัดราชบุรี
ดำเนินการช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้
1. เพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณน้ำเก็บกักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่าง ฯ ก่อนสิ้นฤดูฝน โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง โดยจะเน้นอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำในช่วงต้นปี 2550 จำนวน 2 อ่าง ได้แก่ ภาคกลาง (ทับเสลา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 33%) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลำนางรอง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 31%)
2. เน้นปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณจังหวัดต่างๆ ที่มีผู้ขอรับบริการฝนหลวง จำนวน 44 จังหวัด
ผลการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 10-16 สิงหาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ 272 เที่ยวบิน มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ถึงหนัก ถึงหนักมาก ในพื้นที่ 52 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--
ผลการเพาะปลูกพืช และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยธรรมชาติและผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัย 2 ช่วง คือ
เมื่อวันที่ 18-22 สิงหาคม 2550 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่งผลให้บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรเสียหายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพังงา ดังนี้
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ประสบภัย 1 อำเภอ คือ อำเภอพนม ปัจจุบัน(23 ส.ค.50) ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่ม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 เมตร แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
จังหวัดพังงา พื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง เกาะยาว กะปง คุระบุรี ปัจจุบัน (23 ส.ค.50) ยังมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่ม 2 อำเภอ คือ อำเภอเมือง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 เมตร และอำเภอตะกั่วป่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 105 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 959 ตัว แบ่งเป็น โค 56 ตัว กระบือ 420 ตัว สุกร 27 ตัว ไก่พื้นเมือง 456 ตัว สำหรับด้านพืชและด้านประมงอยู่ระหว่างสำรวจ
เมื่อวันที่ 5—16 สิงหาคม 2550 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ อุดรธานี เลย และหนองบัวลำภู ได้รับผลกระทบ ดังนี้
ด้านพืช เกษตรกร 33,251 ราย พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย ศรีสะเกษ อุดรธานี กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี จำนวน 444,177 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 272,775 ไร่
ด้านประมง เกษตรกร 1,903 ราย พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เลย ศรีสะเกษ และหนองบัวลำภู จำนวน 2,282 บ่อ และ 7 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 1,514 ไร่ และ 68 ตารางเมตร ตามลำดับ
ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 3,175 ราย พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ จำนวน 86,127 ตัว แบ่งเป็น โค 2,618 ตัว กระบือ 194 ตัว สุกร 289 ตัว ไก่พื้นเมือง 83,026 ตัว แปลงหญ้า 122 ไร่
ฝนทิ้งช่วง (ช่วงเกิดภัยระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน — 15 สิงหาคม 2550)
ด้านพืช เกษตรกร 29,824 ราย พื้นที่ประสบภัย 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ยโสธร และลพบุรี จำนวน 2.07 ล้านไร่ คาดว่าจะเสียหาย 1.69 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1.31 ล้านไร่ พืชไร่-พืชสวน 0.38 ล้านไร่
2. สถานการณ์น้ำ
2.1 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 47,565 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2549 (52,201 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,636 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,522 และ 5,823 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 63 และ 61 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,345 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ น้อยกว่า 30% ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 5 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ (16%) อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี (27%) อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (23%) อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี (20%) และอ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี (25%)
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ มากกว่า 80 % ของความจุอ่างฯ มีจำนวน 2 อ่าง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี (85%) อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง (81%)
2.2 สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ (ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำยมที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำน่านที่อำเภอเมือง อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลุ่มน้ำชี โขง มูล) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำมูลที่อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แม่น้ำมูลที่อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ แม่น้ำโขงที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม แม่น้ำชีที่อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคกลาง (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำป่าสักที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบรูณ์ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคตะวันตก (ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำเพชรบุรี) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำแม่กลองที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แม่น้ำแควน้อยที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และแม่น้ำเพชรบุรีที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาคตะวันออก (ลุ่มน้ำปราจีนบุรี บางปะกง) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต
ภาคใต้ (ลุ่มน้ำตาปี) มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้อยถึงน้อยวิกฤต ยกเว้น แม่น้ำตะกั่วป่าที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แม่น้ำคลองปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แม่น้ำตาปีที่อำเภอเคียนซา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปัตตานีที่อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และแม่น้ำตรัง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. ผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน
ผลการเพาะปลูกข้าวและพืชฤดูฝนในเขตชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง 23.15 ล้านไร่ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2550 ปลูกแล้ว 10.11 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปี 9.96 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.15 ล้านไร่
4. การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
4.1 การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 321 เครื่อง แบ่งเป็น
เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบ อุทกภัย จำนวน 73 เครื่อง ในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ 43 เครื่อง ลำพูน 10 เครื่อง นนทบุรี 10 เครื่อง ปทุมธานี 2 เครื่อง สมุทรสาคร 2 เครื่อง อ่างทอง 6 เครื่อง
เพื่อช่วยเหลือสภาวะฝนทิ้งช่วงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 248 เครื่อง ในพื้นที่ 18 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี 6 เครื่อง หนองบัวลำภู 6 เครื่อง หนองคาย 13 เครื่อง เลย 6 เครื่อง สกลนคร 8 เครื่อง ขอนแก่น 8 เครื่อง มหาสารคาม 1 เครื่อง ร้อยเอ็ด 53 เครื่อง กาฬสินธุ์ 38 เครื่อง ชัยภูมิ 7 เครื่อง ยโสธร 7 เครื่อง นครพนม 12 เครื่อง มุกดาหาร 8 เครื่อง อำนาจเจริญ 10 เครื่อง นครราชสีมา 48 เครื่อง บุรีรัมย์ 8 เครื่อง สุรินทร์ 3 เครื่อง และศรีสะเกษ 6 เครื่อง
4.2 การปฏิบัติการฝนหลวง
มีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 11 หน่วยปฏิบัติการและ 4 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ หน่วยฯเชียงใหม่ หน่วยฯพิษณุโลก หน่วยฯลพบุรี หน่วยฯกำแพงแสน หน่วยฯขอนแก่น หน่วยฯอุดรธานี หน่วยฯร้อยเอ็ด หน่วยฯนครราชสีมา หน่วยฯอุบลราชธานี หน่วยฯสระแก้ว และหน่วยฯหัวหิน และฐานเติมสารฝนหลวง จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดระยอง และจังหวัดราชบุรี
ดำเนินการช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้
1. เพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณน้ำเก็บกักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่าง ฯ ก่อนสิ้นฤดูฝน โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง โดยจะเน้นอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำในช่วงต้นปี 2550 จำนวน 2 อ่าง ได้แก่ ภาคกลาง (ทับเสลา มีปริมาณน้ำเก็บกัก 33%) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ลำนางรอง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 31%)
2. เน้นปฏิบัติการฝนหลวงบริเวณจังหวัดต่างๆ ที่มีผู้ขอรับบริการฝนหลวง จำนวน 44 จังหวัด
ผลการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 10-16 สิงหาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ 272 เที่ยวบิน มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ถึงหนัก ถึงหนักมาก ในพื้นที่ 52 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--