คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานโครงการสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2550 ดังนี้
1. การพัฒนาและส่งเสริมการผลิตยางพารา
สถานการณ์การผลิตยางพารา สถานการณ์การผลิตยางพารา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปี 2548 ถึง ปี 2549 มีผลผลิตลดลงถึง 75,668 ตัน จาก 365,789 ตัน เหลือเพียง 290,121 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20.68 แต่มูลค่ายังคงเพิ่มขึ้น จาก 18,707.337 ล้านบาท เป็น 19,404.774 ล้านบาท เนื่องจากราคายางเฉลี่ยสูงขึ้น
ผลการดำเนินงาน ปี 2550
1) ดำเนินการให้การสงเคราะห์ปลูกแทน ทั้งสิ้น 62,698 ไร่ (ปัตตานี 6,576 ไร่ ยะลา 15,803 ไร่ นราธิวาส 17,235 ไร่ สตูล 6,870 ไร่ และสงขลา 16,214 ไร่)
2) ดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกษตรกรร่วมโครงการ 365 ราย (ปัตตานี 70 ราย ยะลา 140 ราย นราธิวาส 35 ราย สตูล 60 ราย และสงขลา 60 ราย)
3) โครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2550 ดำเนินการโครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา เพื่อเป็นศูนย์กลางการรับซื้อขายยางพาราและสร้างเครือข่ายตลาดกลางในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- งบลงทุน ค่าก่อสร้างตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลาพร้อมอุปกรณ์วงเงิน 16 ล้านบาท ใช้งบ ศอ.บต.ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในต้นเดือนกรกฎาคม และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้หากจะเปิดตลาดกลางชั่วคราวก่อนภายในเดือนตุลาคม 2550 ก็สามารถดำเนินการได้เพียงแต่ต้องได้รับการจัดสรรงบดำเนินการเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนก่อน
- งบดำเนินการ เป็นเงินหมุนเวียนเพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกร ได้ขอสนับสนุนจาก ศอ.บต. เพิ่มเติม วงเงิน 10- 15 ล้านบาท
2. การพัฒนาอาชีพด้านปศุสัตว์
ดำเนินการโครงการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านปศุสัตว์ โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนผู้เลี้ยงปศุสัตว์ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปศุสัตว์ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ โคเนื้อเดิม มีผลการดำเนินงานดังนี้
1)ดำเนินกิจกรรมพัฒนาอาชีพและการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการติดตามให้คำแนะนำด้านวิชาการ ควบคู่กับการสนับสนุนวัสดุที่จำเป็นแก่กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เป็นประจำทุกเดือน จำนวน 211 ฟาร์ม (ปัตตานี 84 ฟาร์ม ยะลา 45 ฟาร์ม นราธิวาส 45 ฟาร์ม สตูล 26 ฟาร์ม และสงขลา 11 ฟาร์ม)
2) ฝึกอบรมแกนนำเกษตรกร จำนวน 211 กลุ่ม (ปัตตานี 84 กลุ่ม ยะลา 45 กลุ่ม นราธิวาส 45 กลุ่ม สตูล 26 กลุ่ม และสงขลา 11 กลุ่ม)
3) ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มอาชีพ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร 2,389 ราย (ปัตตานี 951 ราย ยะลา 700 ราย นราธิวาส 438 ราย สตูล 100 ราย และสงขลา 200 ราย)
4) ดำเนินการในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งในการผลิตปศุสัตว์ 165 กลุ่ม (ปัตตานี 50 กลุ่ม ยะลา 35 กลุ่ม นราธิวาส 50 กลุ่ม สตูล 20 กลุ่ม และสงขลา 10 กลุ่ม)
5) ดำเนินการในกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกรและปศุสัตว์
- เกษตรกร 2,375 ราย (ปัตตานี 750 ราย ยะลา 525 ราย นราธิวาส 650 ราย สตูล 300 ราย และสงขลา 150 ราย )
- ปศุสัตว์ 5,091 ตัว (ปัตตานี 1,500 ตัว ยะลา 1,341 ตัว นราธิวาส 1,300 ตัว สตูล 650 ตัว และสงขลา 300 ตัว)
6) ให้บริการผสมเทียม 2,376 ตัว (ปัตตานี 1,747 ตัว ยะลา 16 ตัว นราธิวาส 613 ตัว)
3. การพัฒนาอาชีพด้านประมง
ดำเนินการโครงการพัฒนาอาชีพด้านประมง โครงการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) โครงการควบคุมการทำประมง และโครงการเฝ้าระวังทรัพยากรชายฝั่ง มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1) ฝึกอบรมเกษตรกรด้านการประมง 100 ราย (นราธิวาส 100 ราย)
2) ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานฟาร์ม 59 ฟาร์ม 300 ตัวอย่าง
- ฟาร์ม 59 ฟาร์ม (ปัตตานี 49 ฟาร์ม สตูล 10 ฟาร์ม)
- ตัวอย่าง 300 ตัวอย่าง (ปัตตานี 119 ตัวอย่าง นราธิวาส 10 ตัวอย่าง สตูล 73 ตัวอย่างและสงขลา 98 ตัวอย่าง)
3) ส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ส่งเสริมในโรงเรียน เป้าหมาย 273 แห่ง (ปัตตานี 104 แห่ง ยะลา 68 แห่ง นราธิวาส 101 แห่ง) คัดเลือกโรงเรียนครบตามเป้าหมายแล้ว
- ส่งเสริมเกษตรกร เป้าหมาย 4,500 ราย (ปัตตานี 1,700 ราย ยะลา 1,100 แห่ง นราธิวาส 1,700 แห่ง) คัดเลือกเกษตรกรครบตามเป้าหมายแล้ว
4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร 120 ราย (นราธิวาส 60 ราย และสงขลา 60 ราย)
5) ดำเนินการกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน 2 แห่ง (สงขลา 2 แห่ง )
6) ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าประมง
- ตัวอย่าง 13,449 ตัวอย่าง (ปัตตานี 1,191 ตัวอย่าง นราธิวาส 141 ตัวอย่าง สตูล 1,998 ตัวอย่าง และสงขลา 10,119 ตัวอย่าง)
- ฟาร์ม 1,633 ฟาร์ม (ปัตตานี 145 ฟาร์ม นราธิวาส 39 ฟาร์ม สตูล 469 ฟาร์ม และสงขลา 980 ฟาร์ม)
7) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 470 ราย (นราธิวาส 210 ราย สตูล 120 ราย และสงขลา 140 ราย)
8) เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ 119,920,710 ตัว (ปัตตานี 27,681,000 ตัว ยะลา 6,672,500 ตัว นราธิวาส 18,450,000 ตัว สตูล 31,370,210 ตัว และสงขลา 35,747,000 ตัว)
9) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการ 85 ครั้ง (ยะลา 17 ครั้ง สงขลา 68 ครั้ง)
10) ควบคุมการทำประมงในพื้นที่ทั่วไป โดยใช้เรือตรวจประมงทะเลจากหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลจังหวัดปัตตานีดำเนินการเฝ้าระวังตรวจตราปราบปรามผู้กระทำผิด สามารถจับกุมผู้กระทำผิดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึงพฤษภาคม 2550 รวมทั้งสิ้น 9 คดี ผู้ต้องหา จำนวน 30 ราย
11) ควบคุมการทำประมงในเขตพื้นที่ 3,000 เมตร บริเวณชายฝั่งที่สำคัญ โดยใช้เรือตรวจประมงทะเลจากศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลภาคใต้ตอนบนจังหวัดชุมพร ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม — กันยายน 2550 จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 10 วัน
12) จัดชุดเฉพาะกิจนำเรือออกปฏิบัติงานในพื้นที่ทะเลบริเวณอ่าวไทย จำนวน 2 ชุด โดยเน้นหนักในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม —กันยายน 2550 จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 12 วัน
4. โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน
ดำเนินการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1) เพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยในปี 2550 มีเป้าหมาย 32,714 ไร่ (ปัตตานี 1,922 ไร่ ยะลา 1,643 ไร่ และนราธิวาส 29,149 ไร่) ใช้งบประมาณ 69.83 ล้านบาท
- ดำเนินการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานแล้ว 13,171 ไร่ (ปัตตานี 13,171 ไร่)
- ปลูกปาล์มน้ำมันแล้ว 8,593 ไร่ (ปัตตานี 8,593 ไร่)
2) ก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาด 45 ตันทะลายต่อชั่วโมง ใช้งบประมาณ 270 ล้านบาท โดยทำสัญญาก่อสร้างระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2548 — 20 ตุลาคม 2550 ดำเนินการจัดซื้อเครื่องจักรกลเรียบร้อยแล้ว และการก่อสร้างโรงงานอยู่ในขั้นเชื่อมโครงหลังคา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามสัญญาภายในเดือนตุลาคม 2550
5. การปรับปรุงคุณภาพผลไม้ลองกอง
สถานการณ์การผลิตลองกอง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลองกองเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในปี 2550 มีพื้นที่ปลูก 158,340 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 113,596 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 85,162 ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2550) โดยผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือน สิงหาคม — กันยายน 2550
การพัฒนาผลผลิตลองกอง ปี 2550
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกองในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
1) ดำเนินการโครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน โดยการส่งเสริมและ เตรียมความพร้อมของเกษตรกร ให้ปฏิบัติต่อสวนลองกองตามระบบเกษตรที่ดีเหมาะสม (GAP) จนได้รับการรับรอง GAP จำนวน 2,996 แปลง (ปัตตานี 623 แปลง ยะลา 723 แปลง และนราธิวาส 1,650 แปลง)
2) ดำเนินการโครงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ โดยการจัดทำข้อมูลประมาณการผลผลิตในปี 2550 และนำข้อมูลไปวางแผนเตรียมมาตรการรองรับ และหาทางแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดในช่วงที่ลองกองออกสู่ตลาดมากเป็นการล่วงหน้า
3) ดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตลองกองให้มีคุณภาพ โดยการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการทรงพุ่มในการเตรียมความพร้อมของต้นลองกอง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีแบบผสมผสานในสวนลองกองเพื่อลดการใช้สารเคมี และการจัดการช่อดอก ช่อผลในการเพิ่มคุณภาพผลผลิตลองกอง โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย 370 คน (ปัตตานี 60 ราย ยะลา 120 ราย นราธิวาส 70 ราย สตูล 60 ราย และสงขลา 60 ราย) ขณะนี้ได้ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่และคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และเตรียมปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์แล้ว
4) สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้ดำเนินการรณรงค์ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกอง และเตรียมความพร้อมของกรรมการบริหารศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน จังหวัดละ 200,000 บาท
การส่งเสริมการตลาดลองกอง ปี 2550
1) เตรียมความพร้อมของศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนและสหกรณ์ 48 ศูนย์ (ปัตตานี 7 ศูนย์ ยะลา 16 ศูนย์ และนราธิวาส 25 ศูนย์) ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนของศูนย์ 39.10 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถดำเนินการคัดแยกและกระจายผลผลิตได้ประมาณ 15,000 ตัน
2) ส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรจำนวน 6 แห่ง (ปัตตานี 2 แห่ง ยะลา 3 แห่ง และนราธิวาส 1 แห่ง) จัดซื้อลองกองจากเกษตรกรโดยใช้เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 15 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 คาดว่าจะสามารถดำเนินการคัดแยกและกระจายผลผลิตได้ประมาณ 3,330 ตัน
3) สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการค้าผลไม้ใน 3 จังหวัด เพื่อประสานเชื่อมโยงการผลิตและการตลาด ตลอดจนประสานตลาดขายส่ง เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ห้างสรรพสินค้าในกทม. และกระทรวงพาณิชย์เพื่อร่วมกันวางแผนกระจายผลผลิตออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด
4) สนับสนุนงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร จัดทำแผนการเพิ่มมูลค่าลองกองส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าลองกอง เชื่อมโยงการตลาดลองกอง ตลอดจนประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าลองกองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 85,000 บาท
6. การเจรจากับรัฐบาลประเทศอินโดนีเซีย เรื่องการขอใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการประมงไทยเข้ามาทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย เพื่อให้ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเรือปัตตานีและนราธิวาสมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ความร่วมมือด้านการประมงระหว่างประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียได้มีการเจรจาจัดทำ MOU มาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่ง MOU ดังกล่าวได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2548 ประกอบกับประเทศอินโดนีเซียได้มีการกำหนดนโยบายการทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียใหม่โดยออกประกาศกระทรวงกิจการทางทะเลและการประมงฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป ทำให้ในปัจจุบันการเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียต้องทำในลักษณะระบบการร่วมทุน หรือการให้เช่าเรือเท่านั้น ซึ่งมีเรือประมงไทยที่ทำการประมงโดยได้รับใบอนุญาตถูกต้องในลักษณะการร่วมทุนและการให้เช่าเรือภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ของอินโดนีเซีย มีประมาณ 400 ลำ โดยร่วมทำการประมงกับบริษัทประมงอินโดนีเซีย 31 บริษัท สำหรับปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเรือปัตตานีและนราธิวาส จากสถิติปริมาณสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือประมงทั้งสองแห่ง เมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา พบว่ามีปริมาณลดลงทุกปี โดยในปี 2550 ปริมาณสัตว์น้ำของท่าเทียบเรือประมงปัตตานีมียอดประมาณการว่าจะมีเพียง 88,566 ตัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่าลดลงถึงร้อยละ 16.45 สำหรับท่าเทียบเรือประมงนราธิวาสมียอดประมาณการ ปี 2550 จำนวน 6,274 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่าลดลงร้อยละ 15.93 ทั้งนี้ปัญหาการลดลงของปริมาณสัตว์น้ำที่นำมาที่ท่าเทียบเรือประมงทั้งสองแห่ง มาจากปัญหา 2 ประเด็นหลัก คือ
1) ปัญหาต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ทำให้ชาวประมงขาดทุนและหยุดทำการประมงจำนวนมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานขอนโยบายเรื่องขายน้ำมันดีเซลราคาถูกกับกระทรวงพลังงาน
2) ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มมีปัญหาตั้งแต่ช่วงปี 2547 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจต่างๆ ซบเซารวมถึงด้านการประมงด้วย โดยเฉพาะท่าเทียบเรือประมงปัตตานีเคยถูกวางระเบิดมาแล้วถึง 2 ครั้ง จึงจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกลับมาโดยเร็ว จึงจะสามารถทำให้ระบบการประมงเป็นไปตามปกติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--
1. การพัฒนาและส่งเสริมการผลิตยางพารา
สถานการณ์การผลิตยางพารา สถานการณ์การผลิตยางพารา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา มีผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปี 2548 ถึง ปี 2549 มีผลผลิตลดลงถึง 75,668 ตัน จาก 365,789 ตัน เหลือเพียง 290,121 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20.68 แต่มูลค่ายังคงเพิ่มขึ้น จาก 18,707.337 ล้านบาท เป็น 19,404.774 ล้านบาท เนื่องจากราคายางเฉลี่ยสูงขึ้น
ผลการดำเนินงาน ปี 2550
1) ดำเนินการให้การสงเคราะห์ปลูกแทน ทั้งสิ้น 62,698 ไร่ (ปัตตานี 6,576 ไร่ ยะลา 15,803 ไร่ นราธิวาส 17,235 ไร่ สตูล 6,870 ไร่ และสงขลา 16,214 ไร่)
2) ดำเนินการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกษตรกรร่วมโครงการ 365 ราย (ปัตตานี 70 ราย ยะลา 140 ราย นราธิวาส 35 ราย สตูล 60 ราย และสงขลา 60 ราย)
3) โครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2550 ดำเนินการโครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลา เพื่อเป็นศูนย์กลางการรับซื้อขายยางพาราและสร้างเครือข่ายตลาดกลางในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- งบลงทุน ค่าก่อสร้างตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลาพร้อมอุปกรณ์วงเงิน 16 ล้านบาท ใช้งบ ศอ.บต.ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในต้นเดือนกรกฎาคม และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังจากเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้หากจะเปิดตลาดกลางชั่วคราวก่อนภายในเดือนตุลาคม 2550 ก็สามารถดำเนินการได้เพียงแต่ต้องได้รับการจัดสรรงบดำเนินการเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนก่อน
- งบดำเนินการ เป็นเงินหมุนเวียนเพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกร ได้ขอสนับสนุนจาก ศอ.บต. เพิ่มเติม วงเงิน 10- 15 ล้านบาท
2. การพัฒนาอาชีพด้านปศุสัตว์
ดำเนินการโครงการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านปศุสัตว์ โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและยั่งยืนผู้เลี้ยงปศุสัตว์ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปศุสัตว์ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ โคเนื้อเดิม มีผลการดำเนินงานดังนี้
1)ดำเนินกิจกรรมพัฒนาอาชีพและการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการติดตามให้คำแนะนำด้านวิชาการ ควบคู่กับการสนับสนุนวัสดุที่จำเป็นแก่กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เป็นประจำทุกเดือน จำนวน 211 ฟาร์ม (ปัตตานี 84 ฟาร์ม ยะลา 45 ฟาร์ม นราธิวาส 45 ฟาร์ม สตูล 26 ฟาร์ม และสงขลา 11 ฟาร์ม)
2) ฝึกอบรมแกนนำเกษตรกร จำนวน 211 กลุ่ม (ปัตตานี 84 กลุ่ม ยะลา 45 กลุ่ม นราธิวาส 45 กลุ่ม สตูล 26 กลุ่ม และสงขลา 11 กลุ่ม)
3) ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มอาชีพ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร 2,389 ราย (ปัตตานี 951 ราย ยะลา 700 ราย นราธิวาส 438 ราย สตูล 100 ราย และสงขลา 200 ราย)
4) ดำเนินการในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งในการผลิตปศุสัตว์ 165 กลุ่ม (ปัตตานี 50 กลุ่ม ยะลา 35 กลุ่ม นราธิวาส 50 กลุ่ม สตูล 20 กลุ่ม และสงขลา 10 กลุ่ม)
5) ดำเนินการในกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกรและปศุสัตว์
- เกษตรกร 2,375 ราย (ปัตตานี 750 ราย ยะลา 525 ราย นราธิวาส 650 ราย สตูล 300 ราย และสงขลา 150 ราย )
- ปศุสัตว์ 5,091 ตัว (ปัตตานี 1,500 ตัว ยะลา 1,341 ตัว นราธิวาส 1,300 ตัว สตูล 650 ตัว และสงขลา 300 ตัว)
6) ให้บริการผสมเทียม 2,376 ตัว (ปัตตานี 1,747 ตัว ยะลา 16 ตัว นราธิวาส 613 ตัว)
3. การพัฒนาอาชีพด้านประมง
ดำเนินการโครงการพัฒนาอาชีพด้านประมง โครงการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) โครงการควบคุมการทำประมง และโครงการเฝ้าระวังทรัพยากรชายฝั่ง มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1) ฝึกอบรมเกษตรกรด้านการประมง 100 ราย (นราธิวาส 100 ราย)
2) ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานฟาร์ม 59 ฟาร์ม 300 ตัวอย่าง
- ฟาร์ม 59 ฟาร์ม (ปัตตานี 49 ฟาร์ม สตูล 10 ฟาร์ม)
- ตัวอย่าง 300 ตัวอย่าง (ปัตตานี 119 ตัวอย่าง นราธิวาส 10 ตัวอย่าง สตูล 73 ตัวอย่างและสงขลา 98 ตัวอย่าง)
3) ส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ส่งเสริมในโรงเรียน เป้าหมาย 273 แห่ง (ปัตตานี 104 แห่ง ยะลา 68 แห่ง นราธิวาส 101 แห่ง) คัดเลือกโรงเรียนครบตามเป้าหมายแล้ว
- ส่งเสริมเกษตรกร เป้าหมาย 4,500 ราย (ปัตตานี 1,700 ราย ยะลา 1,100 แห่ง นราธิวาส 1,700 แห่ง) คัดเลือกเกษตรกรครบตามเป้าหมายแล้ว
4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร 120 ราย (นราธิวาส 60 ราย และสงขลา 60 ราย)
5) ดำเนินการกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน 2 แห่ง (สงขลา 2 แห่ง )
6) ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าประมง
- ตัวอย่าง 13,449 ตัวอย่าง (ปัตตานี 1,191 ตัวอย่าง นราธิวาส 141 ตัวอย่าง สตูล 1,998 ตัวอย่าง และสงขลา 10,119 ตัวอย่าง)
- ฟาร์ม 1,633 ฟาร์ม (ปัตตานี 145 ฟาร์ม นราธิวาส 39 ฟาร์ม สตูล 469 ฟาร์ม และสงขลา 980 ฟาร์ม)
7) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 470 ราย (นราธิวาส 210 ราย สตูล 120 ราย และสงขลา 140 ราย)
8) เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ 119,920,710 ตัว (ปัตตานี 27,681,000 ตัว ยะลา 6,672,500 ตัว นราธิวาส 18,450,000 ตัว สตูล 31,370,210 ตัว และสงขลา 35,747,000 ตัว)
9) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการ 85 ครั้ง (ยะลา 17 ครั้ง สงขลา 68 ครั้ง)
10) ควบคุมการทำประมงในพื้นที่ทั่วไป โดยใช้เรือตรวจประมงทะเลจากหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลจังหวัดปัตตานีดำเนินการเฝ้าระวังตรวจตราปราบปรามผู้กระทำผิด สามารถจับกุมผู้กระทำผิดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึงพฤษภาคม 2550 รวมทั้งสิ้น 9 คดี ผู้ต้องหา จำนวน 30 ราย
11) ควบคุมการทำประมงในเขตพื้นที่ 3,000 เมตร บริเวณชายฝั่งที่สำคัญ โดยใช้เรือตรวจประมงทะเลจากศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลภาคใต้ตอนบนจังหวัดชุมพร ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม — กันยายน 2550 จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 10 วัน
12) จัดชุดเฉพาะกิจนำเรือออกปฏิบัติงานในพื้นที่ทะเลบริเวณอ่าวไทย จำนวน 2 ชุด โดยเน้นหนักในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหลัก ออกปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม —กันยายน 2550 จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 12 วัน
4. โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน
ดำเนินการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1) เพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยในปี 2550 มีเป้าหมาย 32,714 ไร่ (ปัตตานี 1,922 ไร่ ยะลา 1,643 ไร่ และนราธิวาส 29,149 ไร่) ใช้งบประมาณ 69.83 ล้านบาท
- ดำเนินการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานแล้ว 13,171 ไร่ (ปัตตานี 13,171 ไร่)
- ปลูกปาล์มน้ำมันแล้ว 8,593 ไร่ (ปัตตานี 8,593 ไร่)
2) ก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาด 45 ตันทะลายต่อชั่วโมง ใช้งบประมาณ 270 ล้านบาท โดยทำสัญญาก่อสร้างระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2548 — 20 ตุลาคม 2550 ดำเนินการจัดซื้อเครื่องจักรกลเรียบร้อยแล้ว และการก่อสร้างโรงงานอยู่ในขั้นเชื่อมโครงหลังคา ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามสัญญาภายในเดือนตุลาคม 2550
5. การปรับปรุงคุณภาพผลไม้ลองกอง
สถานการณ์การผลิตลองกอง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลองกองเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในปี 2550 มีพื้นที่ปลูก 158,340 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 113,596 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 85,162 ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2550) โดยผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือน สิงหาคม — กันยายน 2550
การพัฒนาผลผลิตลองกอง ปี 2550
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกองในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
1) ดำเนินการโครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน โดยการส่งเสริมและ เตรียมความพร้อมของเกษตรกร ให้ปฏิบัติต่อสวนลองกองตามระบบเกษตรที่ดีเหมาะสม (GAP) จนได้รับการรับรอง GAP จำนวน 2,996 แปลง (ปัตตานี 623 แปลง ยะลา 723 แปลง และนราธิวาส 1,650 แปลง)
2) ดำเนินการโครงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ โดยการจัดทำข้อมูลประมาณการผลผลิตในปี 2550 และนำข้อมูลไปวางแผนเตรียมมาตรการรองรับ และหาทางแก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดในช่วงที่ลองกองออกสู่ตลาดมากเป็นการล่วงหน้า
3) ดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตลองกองให้มีคุณภาพ โดยการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการทรงพุ่มในการเตรียมความพร้อมของต้นลองกอง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีแบบผสมผสานในสวนลองกองเพื่อลดการใช้สารเคมี และการจัดการช่อดอก ช่อผลในการเพิ่มคุณภาพผลผลิตลองกอง โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย 370 คน (ปัตตานี 60 ราย ยะลา 120 ราย นราธิวาส 70 ราย สตูล 60 ราย และสงขลา 60 ราย) ขณะนี้ได้ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่และคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และเตรียมปัจจัยการผลิตและอุปกรณ์แล้ว
4) สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้ดำเนินการรณรงค์ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลองกอง และเตรียมความพร้อมของกรรมการบริหารศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน จังหวัดละ 200,000 บาท
การส่งเสริมการตลาดลองกอง ปี 2550
1) เตรียมความพร้อมของศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนและสหกรณ์ 48 ศูนย์ (ปัตตานี 7 ศูนย์ ยะลา 16 ศูนย์ และนราธิวาส 25 ศูนย์) ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนของศูนย์ 39.10 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถดำเนินการคัดแยกและกระจายผลผลิตได้ประมาณ 15,000 ตัน
2) ส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรจำนวน 6 แห่ง (ปัตตานี 2 แห่ง ยะลา 3 แห่ง และนราธิวาส 1 แห่ง) จัดซื้อลองกองจากเกษตรกรโดยใช้เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 15 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 คาดว่าจะสามารถดำเนินการคัดแยกและกระจายผลผลิตได้ประมาณ 3,330 ตัน
3) สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการค้าผลไม้ใน 3 จังหวัด เพื่อประสานเชื่อมโยงการผลิตและการตลาด ตลอดจนประสานตลาดขายส่ง เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ห้างสรรพสินค้าในกทม. และกระทรวงพาณิชย์เพื่อร่วมกันวางแผนกระจายผลผลิตออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด
4) สนับสนุนงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร จัดทำแผนการเพิ่มมูลค่าลองกองส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าลองกอง เชื่อมโยงการตลาดลองกอง ตลอดจนประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าลองกองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 85,000 บาท
6. การเจรจากับรัฐบาลประเทศอินโดนีเซีย เรื่องการขอใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการประมงไทยเข้ามาทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย เพื่อให้ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเรือปัตตานีและนราธิวาสมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ความร่วมมือด้านการประมงระหว่างประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียได้มีการเจรจาจัดทำ MOU มาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่ง MOU ดังกล่าวได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2548 ประกอบกับประเทศอินโดนีเซียได้มีการกำหนดนโยบายการทำประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียใหม่โดยออกประกาศกระทรวงกิจการทางทะเลและการประมงฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป ทำให้ในปัจจุบันการเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซียต้องทำในลักษณะระบบการร่วมทุน หรือการให้เช่าเรือเท่านั้น ซึ่งมีเรือประมงไทยที่ทำการประมงโดยได้รับใบอนุญาตถูกต้องในลักษณะการร่วมทุนและการให้เช่าเรือภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ของอินโดนีเซีย มีประมาณ 400 ลำ โดยร่วมทำการประมงกับบริษัทประมงอินโดนีเซีย 31 บริษัท สำหรับปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเรือปัตตานีและนราธิวาส จากสถิติปริมาณสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือประมงทั้งสองแห่ง เมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา พบว่ามีปริมาณลดลงทุกปี โดยในปี 2550 ปริมาณสัตว์น้ำของท่าเทียบเรือประมงปัตตานีมียอดประมาณการว่าจะมีเพียง 88,566 ตัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่าลดลงถึงร้อยละ 16.45 สำหรับท่าเทียบเรือประมงนราธิวาสมียอดประมาณการ ปี 2550 จำนวน 6,274 ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 พบว่าลดลงร้อยละ 15.93 ทั้งนี้ปัญหาการลดลงของปริมาณสัตว์น้ำที่นำมาที่ท่าเทียบเรือประมงทั้งสองแห่ง มาจากปัญหา 2 ประเด็นหลัก คือ
1) ปัญหาต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ทำให้ชาวประมงขาดทุนและหยุดทำการประมงจำนวนมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานขอนโยบายเรื่องขายน้ำมันดีเซลราคาถูกกับกระทรวงพลังงาน
2) ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มมีปัญหาตั้งแต่ช่วงปี 2547 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจต่างๆ ซบเซารวมถึงด้านการประมงด้วย โดยเฉพาะท่าเทียบเรือประมงปัตตานีเคยถูกวางระเบิดมาแล้วถึง 2 ครั้ง จึงจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกลับมาโดยเร็ว จึงจะสามารถทำให้ระบบการประมงเป็นไปตามปกติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--