คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการ 7 วันปลอดควันวันสงกรานต์และการเดินทางตรวจราชการจังหวัดเชียงราย สรุปได้ดังนี้
1. รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการ “7 วันปลอดควันวันสงกรานต์” ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน สรุปสาระสำคัญ ได้แก่
1) การจัดประชุมชี้แจงนายอำเภอ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และเครือข่ายภาคประชาชน โดยจังหวัดได้แจ้งให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ และ อปท. ในจังหวัด เรื่องการจัดสัปดาห์การรณรงค์ “7 วันปลอดควัน
วันสงกรานต์” พร้อมทั้งแจ้งมาตรการและแผนการดำเนินงานในช่วงของการรณรงค์
2) การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันจังหวัดและอำเภอ มีประกาศจังหวัดเรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และประกาศจังหวัด เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และมลพิษทางอากาศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (แก้ไขเพิ่มเติม) เพื่อบูรณาการการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควันและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัด พร้อมแจ้งให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ จัดตั้งคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อรวบรวมผลการดำเนินการสรุปสถานการณ์ ให้จังหวัดทราบจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ
3) การจัดชุดปฏิบัติการป้องปราม/ควบคุม และการปฏิบัติการดับไฟ มีการจัดชุดปฏิบัติการประจำตำบล (ชปต.) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการงดการเผาของ อปท.ในจังหวัด
4) การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยบินทหารในพื้นที่ เพื่อขึ้นบินตรวจทางอากาศทุกวันทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น เพื่อป้องปราม/ควบคุมการเผาและชี้เป้าให้หน่วยปฏิบัติการในพื้นที่เข้าทำการดับไฟ
5) จำนวนครั้งที่เกิดจุดไฟไหม้ (Hotspots) ในพื้นที่แยกเป็น ไฟป่า ไฟจากการเผาพื้นที่การเกษตร และการเผาขยะในห้วง 7 วัน (11-17 เม.ย.2550)
(1) จังหวัดเชียงใหม่ เกิดจุดไฟไหม้ 19 ครั้ง แยกเป็น เผาขยะ/กิ่งไม้/ไร่นา 18 ครั้ง และการก่อสร้าง 1 ครั้ง
(2) จังหวัดเชียงราย ไม่เกิดจุดไฟไหม้
(3) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจุดไฟไหม้ 4 ครั้ง เป็นไฟไหม้ป่าทั้งหมด
6) คุณภาพอากาศปริมาณฝุ่นละออง (PM10) ในรอบ 7 วัน (11-17 เม.ย.2550) (ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ)
สถานี PM10* (เดือนเมษายน 2550)
11 12 13 14 15 16 17
จ.เชียงใหม่ ศูนย์ราชการรวมฯ อ.แม่ริม 82 57 52 42 53 50 46
ร.ร.ยุพราชวิทยาลัย อ.เมือง 82 64 60 58 66 61 60
จ.ลำปาง ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อ.เมือง 56 41 43 30 40 32 25
สนง.การประปาฯ อ.แม่เมาะ 49 33 38 30 34 32 -
จ.เชียงราย ร.ร.สามัคคีวิทยาคม อ.เมือง 92 65 51 46 38 44 44
จ.แม่ฮ่องสอน ทสจ.แม่ฮ่องสอน อ.เมือง 175 169 99 78 90 81 55
สรุปผลการดำเนินการระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2550 สามารถควบคุมการจุดไฟไหม้ใน 3 จังหวัดเป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (PM10) ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 11, 12 เมษายน 2550 มีปริมาณฝุ่นละอองสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน)
2. การเดินทางตรวจราชการจังหวัดเชียงราย มีการประชุมรวม 4 ครั้ง ประกอบด้วย
1) การประชุมเฉพาะกรณีโครงการพัฒนาดอยตุงฯ สรุปว่า เหตุการณ์ไฟป่าในพื้นที่ คพต.พ. ปี 2540 — 2550 มีจำนวน 702 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 8,732 ไร่ 78 ตร.ว. โดยในปี พ.ศ. 2550 เกิดมากที่สุด จำนวน 114 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 1,913 ไร่ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากคนลักลอบจุด รองลงมาคือ คนหาของป่า คนล่าสัตว์ คนเลี้ยงสัตว์ คนเผาไร่ ไฟข้ามเขต และอุบัติเหตุ ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณรอบนอกพื้นที่ขอบของโครงการฯ จุดไฟไหม้ที่ใกล้พระตำหนักที่สุดเกิดทางทิศใต้ของพระตำหนัก ในปี 2547 เกิด 2 ครั้ง ปี 2548 เกิด 1 ครั้ง ปี 2549 เกิด 3 ครั้ง และ ปี 2550 ระหว่างวันที่ 11 มีนาคม — 5 เมษายน 2550 เกิด 9 ครั้ง โดยเฉพาะในวันที่ 1 เมษายน 2550 เกิดใกล้พระตำหนักมากที่สุด
2) การประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนท้องถิ่น เรื่องกรณีปัญหาไฟป่า แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ไฟป่าในพื้นที่รอบพระตำหนักดอยตุง 19 หมู่บ้าน ตำบลแม่ฟ้าหลวง และตำบลแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผู้นำชุมชนยืนยันว่าชาวบ้านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผาป่าครั้งนี้ เพราะสมเด็จย่าได้นำความเจริญมาให้ รวมทั้งทรงปลูกฝังเรื่องการเผาป่าว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ปัจจุบัน 50% ของชาวบ้านทำงานอยู่กับโครงการ มีที่ทำกิน และได้รับผลประโยชน์จากป่าอีกด้วย สำหรับการป้องกันปัญหา ชาวบ้านต้องการที่จะเป็นผู้ดูแลผืนป่า โดยรัฐจัดสรรเงินทุนให้สำหรับดูแลป้องกันไฟป่า แต่ละหมู่บ้านแบ่งเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ การเผาป่าทำได้แต่ต้องขออนุญาต โดยต้องทำแนวกันไฟ รวมทั้งการจัดการการชิงเผาในช่วงเวลากลางคืน
3) การประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงราย กรณีจำเพาะจากการสืบสวนสอบสวน มี 6 ประเด็น คือ (1) ความขัดแย้งระหว่างโครงการพัฒนาดอยตุงกับคนงานและประชาชน 2) การบริหารงานของเจ้าหน้าที่โครงการกับประชาชน (3) การสร้างสถานการณ์ (4) ยาเสพติด (5) กลุ่มวัยรุ่น (6) ความมั่นคงทางการเมือง
4) การประชุมคณะใหญ่ระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะข้าราชการจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่โครงการดอยตุง ผู้นำชุมชน และสื่อมวลชน เรื่องแนวทางป้องกันแก้ปัญหาไฟป่าโดยภาพรวม ได้แก่ (1) การบูรณาการการดำเนินการป้องกัน แก้ไขปัญหา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ชาวบ้าน ชุมชน และท้องถิ่นเป็นแกนหลัก (2) การใช้องค์ความรู้และการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาหนุนเสริมการฟื้นฟูป่าและชีวภาพ (3) การพิจารณากฎหมายป่าชุมชนเพื่อปรับแนวเขตป่าใหม่
(4) การตั้งคณะกรรมการระดับอาเซียนเพื่อหารือความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน (5) การทำแนวป้องกันไฟป่าอย่างยั่งยืน เน้นการจัด Zoning พื้นที่ Bio Zone และ Buffer Zone (6) การถ่ายโอนการดูแลไฟป่าให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยนำร่องจากชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
1. รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการ “7 วันปลอดควันวันสงกรานต์” ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน สรุปสาระสำคัญ ได้แก่
1) การจัดประชุมชี้แจงนายอำเภอ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และเครือข่ายภาคประชาชน โดยจังหวัดได้แจ้งให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ และ อปท. ในจังหวัด เรื่องการจัดสัปดาห์การรณรงค์ “7 วันปลอดควัน
วันสงกรานต์” พร้อมทั้งแจ้งมาตรการและแผนการดำเนินงานในช่วงของการรณรงค์
2) การจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาหมอกควันจังหวัดและอำเภอ มีประกาศจังหวัดเรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และประกาศจังหวัด เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และมลพิษทางอากาศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (แก้ไขเพิ่มเติม) เพื่อบูรณาการการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติหมอกควันและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัด พร้อมแจ้งให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ จัดตั้งคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อรวบรวมผลการดำเนินการสรุปสถานการณ์ ให้จังหวัดทราบจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ
3) การจัดชุดปฏิบัติการป้องปราม/ควบคุม และการปฏิบัติการดับไฟ มีการจัดชุดปฏิบัติการประจำตำบล (ชปต.) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการงดการเผาของ อปท.ในจังหวัด
4) การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากหน่วยบินทหารในพื้นที่ เพื่อขึ้นบินตรวจทางอากาศทุกวันทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็น เพื่อป้องปราม/ควบคุมการเผาและชี้เป้าให้หน่วยปฏิบัติการในพื้นที่เข้าทำการดับไฟ
5) จำนวนครั้งที่เกิดจุดไฟไหม้ (Hotspots) ในพื้นที่แยกเป็น ไฟป่า ไฟจากการเผาพื้นที่การเกษตร และการเผาขยะในห้วง 7 วัน (11-17 เม.ย.2550)
(1) จังหวัดเชียงใหม่ เกิดจุดไฟไหม้ 19 ครั้ง แยกเป็น เผาขยะ/กิ่งไม้/ไร่นา 18 ครั้ง และการก่อสร้าง 1 ครั้ง
(2) จังหวัดเชียงราย ไม่เกิดจุดไฟไหม้
(3) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจุดไฟไหม้ 4 ครั้ง เป็นไฟไหม้ป่าทั้งหมด
6) คุณภาพอากาศปริมาณฝุ่นละออง (PM10) ในรอบ 7 วัน (11-17 เม.ย.2550) (ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ)
สถานี PM10* (เดือนเมษายน 2550)
11 12 13 14 15 16 17
จ.เชียงใหม่ ศูนย์ราชการรวมฯ อ.แม่ริม 82 57 52 42 53 50 46
ร.ร.ยุพราชวิทยาลัย อ.เมือง 82 64 60 58 66 61 60
จ.ลำปาง ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อ.เมือง 56 41 43 30 40 32 25
สนง.การประปาฯ อ.แม่เมาะ 49 33 38 30 34 32 -
จ.เชียงราย ร.ร.สามัคคีวิทยาคม อ.เมือง 92 65 51 46 38 44 44
จ.แม่ฮ่องสอน ทสจ.แม่ฮ่องสอน อ.เมือง 175 169 99 78 90 81 55
สรุปผลการดำเนินการระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2550 สามารถควบคุมการจุดไฟไหม้ใน 3 จังหวัดเป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (PM10) ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ยกเว้นจังหวัดแม่ฮ่องสอนในวันที่ 11, 12 เมษายน 2550 มีปริมาณฝุ่นละอองสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน)
2. การเดินทางตรวจราชการจังหวัดเชียงราย มีการประชุมรวม 4 ครั้ง ประกอบด้วย
1) การประชุมเฉพาะกรณีโครงการพัฒนาดอยตุงฯ สรุปว่า เหตุการณ์ไฟป่าในพื้นที่ คพต.พ. ปี 2540 — 2550 มีจำนวน 702 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 8,732 ไร่ 78 ตร.ว. โดยในปี พ.ศ. 2550 เกิดมากที่สุด จำนวน 114 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 1,913 ไร่ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากคนลักลอบจุด รองลงมาคือ คนหาของป่า คนล่าสัตว์ คนเลี้ยงสัตว์ คนเผาไร่ ไฟข้ามเขต และอุบัติเหตุ ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณรอบนอกพื้นที่ขอบของโครงการฯ จุดไฟไหม้ที่ใกล้พระตำหนักที่สุดเกิดทางทิศใต้ของพระตำหนัก ในปี 2547 เกิด 2 ครั้ง ปี 2548 เกิด 1 ครั้ง ปี 2549 เกิด 3 ครั้ง และ ปี 2550 ระหว่างวันที่ 11 มีนาคม — 5 เมษายน 2550 เกิด 9 ครั้ง โดยเฉพาะในวันที่ 1 เมษายน 2550 เกิดใกล้พระตำหนักมากที่สุด
2) การประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนท้องถิ่น เรื่องกรณีปัญหาไฟป่า แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหา ไฟป่าในพื้นที่รอบพระตำหนักดอยตุง 19 หมู่บ้าน ตำบลแม่ฟ้าหลวง และตำบลแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผู้นำชุมชนยืนยันว่าชาวบ้านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผาป่าครั้งนี้ เพราะสมเด็จย่าได้นำความเจริญมาให้ รวมทั้งทรงปลูกฝังเรื่องการเผาป่าว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ปัจจุบัน 50% ของชาวบ้านทำงานอยู่กับโครงการ มีที่ทำกิน และได้รับผลประโยชน์จากป่าอีกด้วย สำหรับการป้องกันปัญหา ชาวบ้านต้องการที่จะเป็นผู้ดูแลผืนป่า โดยรัฐจัดสรรเงินทุนให้สำหรับดูแลป้องกันไฟป่า แต่ละหมู่บ้านแบ่งเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ การเผาป่าทำได้แต่ต้องขออนุญาต โดยต้องทำแนวกันไฟ รวมทั้งการจัดการการชิงเผาในช่วงเวลากลางคืน
3) การประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงราย กรณีจำเพาะจากการสืบสวนสอบสวน มี 6 ประเด็น คือ (1) ความขัดแย้งระหว่างโครงการพัฒนาดอยตุงกับคนงานและประชาชน 2) การบริหารงานของเจ้าหน้าที่โครงการกับประชาชน (3) การสร้างสถานการณ์ (4) ยาเสพติด (5) กลุ่มวัยรุ่น (6) ความมั่นคงทางการเมือง
4) การประชุมคณะใหญ่ระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะข้าราชการจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่โครงการดอยตุง ผู้นำชุมชน และสื่อมวลชน เรื่องแนวทางป้องกันแก้ปัญหาไฟป่าโดยภาพรวม ได้แก่ (1) การบูรณาการการดำเนินการป้องกัน แก้ไขปัญหา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ชาวบ้าน ชุมชน และท้องถิ่นเป็นแกนหลัก (2) การใช้องค์ความรู้และการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาหนุนเสริมการฟื้นฟูป่าและชีวภาพ (3) การพิจารณากฎหมายป่าชุมชนเพื่อปรับแนวเขตป่าใหม่
(4) การตั้งคณะกรรมการระดับอาเซียนเพื่อหารือความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน (5) การทำแนวป้องกันไฟป่าอย่างยั่งยืน เน้นการจัด Zoning พื้นที่ Bio Zone และ Buffer Zone (6) การถ่ายโอนการดูแลไฟป่าให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยนำร่องจากชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--