แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กระทรวงศึกษาธิการ
มหาวิทยาลัยบูรพา
วิจิตร ศรีสอ้าน
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ซึ่งมี นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานฯ ที่เห็นชอบมาตรการแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทในเด็กและเยาวชน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ให้รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ตามประเด็นอภิปราย ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
มาตรการแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทในเด็กและเยาวชน 6 ประการ มีดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว โดยการจัดอบรมบิดา มารดา ผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ สามารถดูแลและส่งเสริมศักยภาพเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสมตามวัย และให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการครอบครัวในชุมชน ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่หรือกิจกรรมสำหรับครอบครัวและพัฒนาสื่อในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่ครอบครัว โดยจัดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน จังหวัด และประเทศ
2. มาตรการส่งเสริมศักยภาพประคองผ่านวัยในเด็กและเยาวชน โดยการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพตามวัยด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ทุกรูปแบบตั้งแต่วัยเด็ก เยาวชนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน 5 ระดับ คือ ระดับเด็กและเยาวชน ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับจังหวัดและภูมิภาค และระดับชาติ
3. มาตรการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา โดยการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขวิกฤตสังคมให้เป็นมาตรฐานกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และมีระบบติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งมีการดำเนินงาน คือ การศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหาและการส่งต่อ นอกจากนี้สถานศึกษาต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (มาตรา 63) อันเกี่ยวกับการจัดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
4. มาตรการส่งเสริมระบบเครือข่ายผู้ปกครองในโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งต้องมีการจัดทำมาตรฐานกลางการปฐมนิเทศนักเรียน นักศึกษา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันภายใต้ความคิดผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาในการปฐมนิเทศ และการติดตามประเมินผลสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานกลาง ตลอดจนการเสนอคณะรัฐมนตรีให้วันประชุมผู้ปกครองเป็นวันลาที่ไม่นับเป็นวันลา ซึ่งผู้ปกครองไม่ถูกหักค่าแรงหรือขาดงาน นอกจากนี้ควรมีการจัดอบรมให้อาจารย์ฝ่ายแนะแนวและอาจารย์ฝ่ายปกครองมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิเด็กและจิตวิทยาพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยเพื่อเป็นวิทยากรตัวคูณ ในการอบรมให้กับผู้ปกครอง โดยกำหนดให้เป็นหัวข้อบังคับในการปฐมนิเทศซึ่งอาจจะมีใบประกาศรับรองให้ผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมหลักสูตรดังกล่าว
5. มาตรการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ โดยการปรับโครงสร้างสายงานการกำกับดูแลโรงเรียนอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนให้ขึ้นตรงต่อสายงานเดียวกันเพื่อเป็นเอกภาพในการกำกับดูแลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน กำหนดมาตรฐานโรงเรียนอาชีวศึกษาที่สังกัดภาครัฐและภาคเอกชนให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน จัดทำฐานข้อมูลโรงเรียนอาชีวศึกษา ตลอดจนมีนโยบายในการปรับปรุงการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
6. มาตรการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการแก้ไขปัญหาเชิงรุก โดยการส่งเสริมการประกวดนวัตกรรมความเป็นเลิศในสายอาชีพทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และด้านสังคม และการจัดนิทรรศการและเวทีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบูรณาการร่วมกันจากหลายภาคส่วน คือ สถานศึกษา องค์กรพัฒนาชุมชน ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
มาตรการแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทในเด็กและเยาวชน 6 ประการ มีดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว โดยการจัดอบรมบิดา มารดา ผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ สามารถดูแลและส่งเสริมศักยภาพเด็กและเยาวชนได้อย่างเหมาะสมตามวัย และให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการครอบครัวในชุมชน ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่หรือกิจกรรมสำหรับครอบครัวและพัฒนาสื่อในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่ครอบครัว โดยจัดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน จังหวัด และประเทศ
2. มาตรการส่งเสริมศักยภาพประคองผ่านวัยในเด็กและเยาวชน โดยการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพตามวัยด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ทุกรูปแบบตั้งแต่วัยเด็ก เยาวชนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน 5 ระดับ คือ ระดับเด็กและเยาวชน ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับจังหวัดและภูมิภาค และระดับชาติ
3. มาตรการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา โดยการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขวิกฤตสังคมให้เป็นมาตรฐานกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และมีระบบติดตามประเมินผลให้เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งมีการดำเนินงาน คือ การศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหาและการส่งต่อ นอกจากนี้สถานศึกษาต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 (มาตรา 63) อันเกี่ยวกับการจัดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง
4. มาตรการส่งเสริมระบบเครือข่ายผู้ปกครองในโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งต้องมีการจัดทำมาตรฐานกลางการปฐมนิเทศนักเรียน นักศึกษา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันภายใต้ความคิดผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในระบบการศึกษาของสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาในการปฐมนิเทศ และการติดตามประเมินผลสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานกลาง ตลอดจนการเสนอคณะรัฐมนตรีให้วันประชุมผู้ปกครองเป็นวันลาที่ไม่นับเป็นวันลา ซึ่งผู้ปกครองไม่ถูกหักค่าแรงหรือขาดงาน นอกจากนี้ควรมีการจัดอบรมให้อาจารย์ฝ่ายแนะแนวและอาจารย์ฝ่ายปกครองมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิเด็กและจิตวิทยาพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยเพื่อเป็นวิทยากรตัวคูณ ในการอบรมให้กับผู้ปกครอง โดยกำหนดให้เป็นหัวข้อบังคับในการปฐมนิเทศซึ่งอาจจะมีใบประกาศรับรองให้ผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมหลักสูตรดังกล่าว
5. มาตรการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ โดยการปรับโครงสร้างสายงานการกำกับดูแลโรงเรียนอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนให้ขึ้นตรงต่อสายงานเดียวกันเพื่อเป็นเอกภาพในการกำกับดูแลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน กำหนดมาตรฐานโรงเรียนอาชีวศึกษาที่สังกัดภาครัฐและภาคเอกชนให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน จัดทำฐานข้อมูลโรงเรียนอาชีวศึกษา ตลอดจนมีนโยบายในการปรับปรุงการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
6. มาตรการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการแก้ไขปัญหาเชิงรุก โดยการส่งเสริมการประกวดนวัตกรรมความเป็นเลิศในสายอาชีพทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และด้านสังคม และการจัดนิทรรศการและเวทีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบูรณาการร่วมกันจากหลายภาคส่วน คือ สถานศึกษา องค์กรพัฒนาชุมชน ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--