คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพหม่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ โดยอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำได้หากไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบหมายเป็นผู้ลงนาม และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้ความตกลงฉบับนี้มีผลใช้บังคับต่อไป
สาระสำคัญของความตกลงฯ โดยสรุปมีดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญาจะส่งเสริมการลงทุนแก่กันและกัน โดยให้การประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. ในเรื่องการอนุญาตให้ลงทุน ภาคีคู่สัญญาจะให้การประติบัติภายใต้กรอบกฏหมายและข้อบังคับของตน สำหรับการลงทุนที่เข้ามาจัดตั้งแล้ว ภาคีคู่สัญญาจะให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติ หรือการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งแล้วแต่การประติบัติใดจักเป็นคุณมากกว่า โดยมีข้อยกเว้นสำหรับกรณีที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นภาคีความตกลงที่เกี่ยวข้องกับสหภาพศุลกากร ความตกลงเขตการค้าเสรี หรือความตกลงเรื่องภาษี
3. การลงทุนโดยผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาที่จะได้รับสิทธิประโยน์ในด้านความคุ้มครองจากความตกลงนี้ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจหากเป็นข้อบังคับของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
4. ในกรณีเวนคืน ภาคีคู่สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าตลาดอย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
5. ในกรณีที่การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งประสบความสูญเสียอันเนื่องจากสงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธอื่น ๆ การก่อกบฏ การต่อต้านรัฐบาล หรือเหตุการณ์คล้ายคลึง จะได้รับการประติบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ที่ไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนของตนหรือของประเทศที่สาม ในกรณีที่ความสูญเสียเป็นผลมาจากการเรียกเกณฑ์ทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ของภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุน หรือการทำลายทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งมิได้มีสาเหตุจากการเกิดการสู้รบ หรือไม่จำเป็นต้องมีขึ้นตามความจำเป็นของสถานการณ์ จะได้รับการชดใช้อย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
6. ภาคีคู่สัญญาจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสามารถโอนเงินการลงทุนและผลตอบแทนกลับออกไปโดยเสรีด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้อย่างเสรี โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตลาดของวันที่มีการโอนเงิน
7. ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างภาคีคู่สัญญากับผู้ลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง อาจเสนอข้อพิพาทไปยังศาลของรัฐภาคีคู่สัญญาที่ได้มีการลงทุน หรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ โดยคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นสิ้นสุดและผูกพันคู่พิพาท
8. ข้อพิพาทระหว่างภาคีคู่สัญญาที่เกิดจากการใช้หรือตีความความตกลงฯ อาจเสนอให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศพิจารณา โดยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นสิ้นสุดและผูกพันคู่กรณี
9. ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหลังได้แจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่า ได้ดำเนินการตามกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากนั้นความตกลง ฯ จะมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะถูกบอกเลิกโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นลานลักษณ์อักษร
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ความตกลงฯ จะช่วยคุ้มครองทรัพย์สิน ผู้ลงทุน รวมทั้งการโอนเงินตราต่างประเทศเข้า- ออก พม่าของนักลงทุนไทย โดยคำนึงว่าปัจจุบันไทยมีมูลค่าการลงทุนในพม่า ประมาณ 1,341.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และอังกฤษ โดยสาขาหลักของการลงทุน ได้แก่ พลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ประมงอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการแปรรูปสินค้าเกษตร ตัวอย่างบริษัทเอกชนของไทยที่ไปลงทุนในพม่าที่สำคัญได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับสิทธิในการสำรวจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันนอกชานฝั่งพม่า โดยขณะนี้ได้พบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้ ยังได้ร่วมทุนในการผลิตก๊าซจากแหล่งในพม่าด้วย อีกทั้ง การจัดทำความตกลงดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่จะพัฒนาการทำการเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) ในประเทศสมาชิกยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี —เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady —Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) โดยไทยมีความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกับประเทศสมาชิก ACMECS ที่ไทยเข้าไปลงทุนแล้วทุกประเทศ (กัมพูชา ลาว เวียดยนาม) ยกเว้นพม่า และในภาพรวม การลงนามความตกลงฯ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับพม่า และโดยพม่าที่กำหนดจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ACMECS ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมศกนี้ จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะเสนอให้มีการลงนามความตกลงดังกล่าวระหว่างการประชุม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
สาระสำคัญของความตกลงฯ โดยสรุปมีดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญาจะส่งเสริมการลงทุนแก่กันและกัน โดยให้การประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่แก่การลงทุนของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. ในเรื่องการอนุญาตให้ลงทุน ภาคีคู่สัญญาจะให้การประติบัติภายใต้กรอบกฏหมายและข้อบังคับของตน สำหรับการลงทุนที่เข้ามาจัดตั้งแล้ว ภาคีคู่สัญญาจะให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติ หรือการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งแล้วแต่การประติบัติใดจักเป็นคุณมากกว่า โดยมีข้อยกเว้นสำหรับกรณีที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นภาคีความตกลงที่เกี่ยวข้องกับสหภาพศุลกากร ความตกลงเขตการค้าเสรี หรือความตกลงเรื่องภาษี
3. การลงทุนโดยผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาที่จะได้รับสิทธิประโยน์ในด้านความคุ้มครองจากความตกลงนี้ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานผู้มีอำนาจหากเป็นข้อบังคับของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
4. ในกรณีเวนคืน ภาคีคู่สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าตลาดอย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
5. ในกรณีที่การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งประสบความสูญเสียอันเนื่องจากสงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธอื่น ๆ การก่อกบฏ การต่อต้านรัฐบาล หรือเหตุการณ์คล้ายคลึง จะได้รับการประติบัติในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ที่ไม่ด้อยไปกว่าที่ภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนของตนหรือของประเทศที่สาม ในกรณีที่ความสูญเสียเป็นผลมาจากการเรียกเกณฑ์ทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ของภาคีคู่สัญญาผู้รับการลงทุน หรือการทำลายทรัพย์สินโดยกองกำลังหรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งมิได้มีสาเหตุจากการเกิดการสู้รบ หรือไม่จำเป็นต้องมีขึ้นตามความจำเป็นของสถานการณ์ จะได้รับการชดใช้อย่างเป็นธรรมและไม่ล่าช้า
6. ภาคีคู่สัญญาจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสามารถโอนเงินการลงทุนและผลตอบแทนกลับออกไปโดยเสรีด้วยเงินสกุลที่สามารถใช้ได้อย่างเสรี โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตลาดของวันที่มีการโอนเงิน
7. ในกรณีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างภาคีคู่สัญญากับผู้ลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง อาจเสนอข้อพิพาทไปยังศาลของรัฐภาคีคู่สัญญาที่ได้มีการลงทุน หรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ โดยคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นสิ้นสุดและผูกพันคู่พิพาท
8. ข้อพิพาทระหว่างภาคีคู่สัญญาที่เกิดจากการใช้หรือตีความความตกลงฯ อาจเสนอให้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศพิจารณา โดยคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ถือเป็นสิ้นสุดและผูกพันคู่กรณี
9. ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหลังได้แจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่า ได้ดำเนินการตามกฎหมายภายในเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากนั้นความตกลง ฯ จะมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะถูกบอกเลิกโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นลานลักษณ์อักษร
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ความตกลงฯ จะช่วยคุ้มครองทรัพย์สิน ผู้ลงทุน รวมทั้งการโอนเงินตราต่างประเทศเข้า- ออก พม่าของนักลงทุนไทย โดยคำนึงว่าปัจจุบันไทยมีมูลค่าการลงทุนในพม่า ประมาณ 1,341.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และอังกฤษ โดยสาขาหลักของการลงทุน ได้แก่ พลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ประมงอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการแปรรูปสินค้าเกษตร ตัวอย่างบริษัทเอกชนของไทยที่ไปลงทุนในพม่าที่สำคัญได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับสิทธิในการสำรวจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันนอกชานฝั่งพม่า โดยขณะนี้ได้พบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้ ยังได้ร่วมทุนในการผลิตก๊าซจากแหล่งในพม่าด้วย อีกทั้ง การจัดทำความตกลงดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่จะพัฒนาการทำการเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming) ในประเทศสมาชิกยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี —เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady —Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) โดยไทยมีความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนกับประเทศสมาชิก ACMECS ที่ไทยเข้าไปลงทุนแล้วทุกประเทศ (กัมพูชา ลาว เวียดยนาม) ยกเว้นพม่า และในภาพรวม การลงนามความตกลงฯ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับพม่า และโดยพม่าที่กำหนดจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ACMECS ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมศกนี้ จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะเสนอให้มีการลงนามความตกลงดังกล่าวระหว่างการประชุม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--