คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนงานการสนับสนุนโครงการพลังงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติกำหนดให้พื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา) เป็น “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” โดยให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และต่างประเทศ และให้จัดทำแผนพัฒนาระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาวเป็นกรอบในการพัฒนา ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เพื่อให้กระทรวง/กรมที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งนี้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 รองนายกรัฐมนตรี(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานพิจารณาโครงการด้านพลังงานที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และหากโครงการใดที่สามารถดำเนินการได้ทันที ขอให้ปรับแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการโดยพลัน โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
การประเมินศักยภาพพลังงานหมุนเวียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปตามประเภทเชื้อเพลิงได้ดังนี้
(1) พลังงานชีวมวล มีปริมาณเหลือจากการใช้ประโยชน์ 0.29 ล้านตัน/ปี ใช้ผลิตพลังไฟฟ้าได้ประมาณ 28 เมกะวัตต์
(2) พลังงานก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียและฟาร์มปศุสัตว์ ผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 16.68 ล้าน ลบ.ม./ปี ใช้ผลิตพลังไฟฟ้าได้ประมาณ 2,858 กิโลวัตต์
(3) พลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ย 18 — 20 เมกะจูล/ตร.ม./วัน ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอในการใช้ผลิตน้ำร้อน
(4) พลังงานลม บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานีมีศักยภาพพลังงานลมสูง เช่น แหลมตาชี สามารถที่จะส่งเสริมเป็นโครงการต้นแบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
(5) ไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบผลผลิตประมาณ 6.44 ล้านลิตร/ปี ผลิตไบโอดีเซลได้ประมาณ 5.8 ล้านลิตร/ปี น้ำมันพืชใช้แล้วประมาณ 1.47 ล้านลิตร/ปี ผลิตไบโอดีเซลได้ประมาณ 1.33 ล้านลิตร/ปี
(6) พลังงานน้ำ ได้แก่ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองอัยบูเต๊ะ จ.นราธิวาส สามารถติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ 3,822 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย 19.21 ล้านหน่วย/ปี และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองละเอ๊ะ จ. ยะลา สามารถติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ 484 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย 2.85 ล้านหน่วย/ปี แต่ทั้งนี้โครงการทั้งสองต้องศึกษาความเหมาะสมผลกระทบสิ่งแวดล้อมและออกแบบรายละเอียด
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยที่ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และน้ำมัน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถดำเนินการได้ แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ประกอบกับเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ทำให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันไม่จูงใจให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชน กพช.จึงมีมติกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มจากเดิม โดยกำหนดส่วนเพิ่มสำหรับโครงการที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 1.50 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และพลังงานหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 1.00 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 ได้มีมติกำหนดให้พื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา) เป็น “เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ” โดยให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และต่างประเทศ และให้จัดทำแผนพัฒนาระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาวเป็นกรอบในการพัฒนา ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เพื่อให้กระทรวง/กรมที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งนี้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 รองนายกรัฐมนตรี(นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานพิจารณาโครงการด้านพลังงานที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และหากโครงการใดที่สามารถดำเนินการได้ทันที ขอให้ปรับแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการโดยพลัน โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
การประเมินศักยภาพพลังงานหมุนเวียนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปตามประเภทเชื้อเพลิงได้ดังนี้
(1) พลังงานชีวมวล มีปริมาณเหลือจากการใช้ประโยชน์ 0.29 ล้านตัน/ปี ใช้ผลิตพลังไฟฟ้าได้ประมาณ 28 เมกะวัตต์
(2) พลังงานก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียและฟาร์มปศุสัตว์ ผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 16.68 ล้าน ลบ.ม./ปี ใช้ผลิตพลังไฟฟ้าได้ประมาณ 2,858 กิโลวัตต์
(3) พลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ย 18 — 20 เมกะจูล/ตร.ม./วัน ซึ่งมีศักยภาพเพียงพอในการใช้ผลิตน้ำร้อน
(4) พลังงานลม บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานีมีศักยภาพพลังงานลมสูง เช่น แหลมตาชี สามารถที่จะส่งเสริมเป็นโครงการต้นแบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
(5) ไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบผลผลิตประมาณ 6.44 ล้านลิตร/ปี ผลิตไบโอดีเซลได้ประมาณ 5.8 ล้านลิตร/ปี น้ำมันพืชใช้แล้วประมาณ 1.47 ล้านลิตร/ปี ผลิตไบโอดีเซลได้ประมาณ 1.33 ล้านลิตร/ปี
(6) พลังงานน้ำ ได้แก่ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองอัยบูเต๊ะ จ.นราธิวาส สามารถติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ 3,822 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย 19.21 ล้านหน่วย/ปี และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองละเอ๊ะ จ. ยะลา สามารถติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ 484 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย 2.85 ล้านหน่วย/ปี แต่ทั้งนี้โครงการทั้งสองต้องศึกษาความเหมาะสมผลกระทบสิ่งแวดล้อมและออกแบบรายละเอียด
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยที่ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า ความร้อน และน้ำมัน ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถดำเนินการได้ แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ประกอบกับเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ทำให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันไม่จูงใจให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชน กพช.จึงมีมติกำหนดส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มจากเดิม โดยกำหนดส่วนเพิ่มสำหรับโครงการที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 1.50 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และพลังงานหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 1.00 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--