รายงานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 10, 2010 15:21 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2553 ตามที่คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้

ข้อเท็จจริง

คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารสโมสรและหอประชุม กระทรวงคมนาคม ซึ่งมีกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม (นายประกิจ พลเดช) เป็นประธานการประชุม โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          ประเด็น                สรุปสาระสำคัญ

1. ผู้เข้าร่วมประชุม มีกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีทั้งสิ้น 24 ท่าน เข้าร่วมประชุมจำนวน 14 ท่าน

          2. การดำเนินงาน        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายโสภณ  ซารัมย์) แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับ

นโยบายของกระทรวง แนวทางในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมดังนี้

          คมนาคม                1) งานนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ประสบความสำเร็จและสามารถดำเนินการแก้ไข

ปัญหาวิกฤตของหน่วยงานในสังกัด มีดังนี้

  • บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มรายได้ ลด

ค่าใช้จ่าย และธรรมาภิบาล / ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางอากาศ /

การยกเลิกฐานจากท่าอากาศยานดอนเมืองมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันบริษัท

การบินไทย จำกัดประสบความสำเร็จจากการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาของทุกฝ่าย

  • การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้

ด้านอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ได้ให้ทุกฝ่าย

ที่เกี่ยวข้องมาหารือและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและถูกวิธีและการป้องกันไม่ให้เกิด

เหตุการณ์ร้ายแรงในอนาคต

ด้านบริหารจัดการภายในองค์กร กรณี สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย

ได้สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาองค์กรให้กับสหภาพฯ เพื่อให้เกิดความตระหนักในหน้าที่

และมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการต่อประชาชนผู้ใช้บริการสาธารณะ (รถไฟ) ซึ่งปัจจุบันปัญหาภายใน

ดังกล่าวได้รับการแก้ไขและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี รวมทั้งพนักงานในองค์กรยอมรับ

การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น

  • องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กรณี โครงการรถเมล์เอ็นจีวี ได้นำผล

การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนมาจัดทำเป็นโครงการโดยมีการประเมินค่าใช้จ่ายในเรื่อง

การจ่ายค่าเช่าแล้วไม่เกิดการขาดทุน และการดำเนินงานโครงการเป็นการบริหารจัดการบริการ

ระบบขนส่งสาธารณะให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน

และช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวในอนาคต ดังนั้น โครงการดังกล่าวจึงเป็นโครงการที่มีประโยชน์

อย่างยิ่ง

2) งานนโยบายหลักของกระทรวงคมนาคม

  • ถนนไร้ฝุ่น (ระยะทาง 3,000 กิโลเมตร) เป็นโครงข่ายระบบขนส่งภาคชนบท ทำให้มีการ

ขนส่งสินค้าการเกษตรเข้ามาขายในเมือง หากมีการสร้างทางเพิ่มเติม 4,000 กิโลเมตร จะทำให้

ระบบขนส่งในชนบทมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ประชาชนในชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับประโยชน์สูง และ

เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบข้อคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ

ของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่า การดำเนินงานในโครงการสำคัญต่อประเทศควรมีการจัดทำ

ประชาพิจารณ์ ศึกษาผลกระทบและงบประมาณอย่างละเอียดรอบคอบ หากพบว่าเกิดปัญหาควรยุติ

โครงการดังกล่าว

          3. การดำเนินงาน        ปลัดกระทรวงคมนาคม (นายสุพจน์  ทรัพย์ล้อม)  รายงานผลการดำเนินงานสำคัญใน
          กระทรวงคมนาคม         ภาพรวมของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีภารกิจหลักในเรื่องการคมนาคมของประชาชนเพื่อให้

เดินทางโดยสะดวกและปลอดภัยด้วยระบบการขนส่งมวลชนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยสรุป

ดังนี้

เป้าหมายการพัฒนา (Goals) ของกระทรวงคมนาคม มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

และบริการระบบขนส่ง “ขนส่งก้าวหน้า พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม"

ดังนี้

(G1) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Hubs&Spokes)

(G2) เพื่อให้มีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจ

(G3) เพื่อปรับปรุงคุณภาพการบริการและเพิ่มความปลอดภัย(Safety) ในการเดินทางและการขนส่ง

(G4) เพื่อส่งเสริมการขนส่งที่ประหยัดพลังงาน (Energy Saving)เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

(Environmental Friendly) และต้นทุน (Low cost)

(G5) เพื่อให้มีการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะอย่างทั่วถึงและมีความเท่าเทียมกัน

(G6) เพื่อเพิ่มความคล่องตัว (Mobility) และยกระดับการเข้าถึง(Accessibility)

กรอบทิศทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม

1. แนวคิดในการพัฒนาในอนาคต In-Side-Out พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศให้มี

ความสมบูรณ์ ควบคู่การเชื่อมโยงกับประเทศอื่นทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค

2. แนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคม เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการ

อย่างสมดุลและยั่งยืน 4 ด้าน คือ Transpot Logistic Node / Utilization /

Missing Link / Modal Shift

3. นโยบายคมนาคมของรัฐที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นนโยบายการขยายโครงสร้าง

พื้นฐานไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น

4. การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงเส้นทางการค้าใหม่ เพื่อการเป็นศูนย์กลางการคมนาคม

ขนส่งในในภูมิภาคอินโดจีน

5. การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมเพื่อรองรับการขยายเส้นทางเศรษฐกิจการค้า

และการลงทุนภายในภูมิภาคอาเซียนและจีนตอนใต้

สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม

1. ด้านการขนส่งทางถนน มีแผนพัฒนาระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะเร่งด่วนระหว่าง

พ.ศ. 2550 - 2554

  • เส้นทางสู่ภาคกลาง/ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 บางปะอิน-สระบุรี-

นครราชสีมา ระยะทาง 190 กิโลเมตร

  • เส้นทางสู่ภาคตะวันตก/ภาคใต้ ทางหลวงหมายเลข 81 บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี

ระยะทาง 98 กิโลเมตร และทางหลวงหมายเลข 8 นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ระยะทาง

154 กิโลเมตร

  • เส้นทางสู่ภาคตะวันออก ทางหลวงหมายเลข 7 ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด

ระยะทาง 89 กิโลเมตร

  • เส้นทางสู่ภาคกลาง/ภาคเหนือ ทางหลวงหมายเลข 5 บางปะอิน-นครสวรรค์

ระยะทาง 160 กิโลเมตร

1.1 ภาพรวมโครงข่ายทางหลวงในประเทศไทย มีระยะทางทั้งสิ้น 445,511 กิโลเมตร

1.2 การจัดทำแผนบูรณาการเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบโครงข่ายทางหลวง ทางหลวงชนบท

ทางหลวงท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาระบบโครงข่ายให้มีความสมบูรณ์เพื่อให้จังหวัดร่วมกับองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นสำรวจทางหลวงท้องถิ่นซึ่งมีปัญหาอุปสรรคที่ไม่สามารถปรับปรุง บำรุงรักษา

หรือพัฒนาเส้นทางให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางสัญจร และเพื่อแก้ปัญหาจุดตัด

รถไฟกับทางหลวง

1.3 โครงการยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท (ถนนไร้ฝุ่น) ซึ่งมีผลประโยชน์ทางด้าน

เศรษฐกิจในภาพรวม คือ การกระจายรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานในท้องถิ่น ประหยัด

ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเนื่องจากโรคที่เกิดจากฝุ่นละอองในอากาศ ด้านซ่อมบำรุงรักษารถยนต์

และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

1.4 การพัฒนาทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เช่น

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางพิเศษ

สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมและวงแหวนด้านใต้

1.5 โครงการ “สร้างนักขับรถมืออาชีพ"

1.6 การเดินรถระหว่างประเทศ เดินรถโดยสารไทย-ลาว และเดินรถบรรทุกไทย-ลาว-เวียดนาม

2. ด้านการขนส่งระบบราง ได้มีการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขต

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะเวลา 20 ปี(พ.ศ.2553-2572) มีจำนวนทั้งสิ้น 12 เส้นทาง

ระยะทางรวม 495 กิโลเมตร ประกอบด้วย 8 โครงข่ายสายหลัก (โครงข่าย BMT เดิม และ

แอร์พอร์ตลิงก์)ได้แก่ สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) สายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก)

แอร์พอร์ตลิงห์ (บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ) สายสีเขียวเข้ม(ลำลูกกา-สมุทรปราการ) สายสี

เขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4)

สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) และ 4 โครงข่ายสายรอง

(โครงข่ายสาย รองเพิ่มเติม) ได้แก่ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)

สายสีเทา (วัชรพล-สะพาน-พระราม 9) และสายสีฟ้า (ดินแดง- สาทร) โดยอยู่ในกำกับของ

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม

นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการพัฒนาการขนส่งระบบรางเพิ่มเติมอีก ดังนี้

2.1 แนวทางการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โครงการภายใต้แผนแม่บทเรื่อง

พัฒนาระบบรางและรถไฟความเร็วสูง “บูรณะทางเดิม เพิ่มหัวรถจักร ขยายโครงข่าย เพิ่มสาย

ทางคู่มุ่งสู่ไฮสปีด"

2.2 โครงการก่อสร้างทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญในการแก้ไข

ปัญหาเพื่อให้การเดินรถมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมทั้งยกระดับคุณภาพการบริการ

ขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต

3. ด้านการขนส่งทางน้ำ มีโครงการต่างๆ ดังนี้

3.1 ท่าเทียบเรือเชียงแสน แห่งที่ 2 จังหวัดเชียงราย เป็นการรองรับการขนส่งที่เชื่อมต่อกับ

ประเทศจีนตอนใต้ ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้าง

3.2 ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล เป็นท่าเรือที่รองรับสะพานเศรษฐกิจ ขณะนี้อยู่ระหว่าง

เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติก่อสร้าง

3.3 การปรับปรุงท่าเทียบเรือที่จังหวัดสงขลา แห่งที่ 2

3.4 โครงการก่อสร้างสถานีขนส่งทางลำน้ำ ในจังหวัดอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง เพื่อเชื่อมโยง

การขนส่งสินค้าภาคเหนือ ภาคอีสานกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่ท่าเทียบเรือแหลมฉบังและ

ท่าเทียบเรือศรีราชา

3.5 โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟท่าเทียบเรือแหลมฉบัง

4. ด้านการขนส่งทางอากาศ ได้มีการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

4.1 การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ระยะที่ 2) โดยมีการขยายอาคารผู้โดยสารหลัก

ด้านทิศตะวันออก อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และงานสาธารณูปโภค

4.2 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต โดยแบ่งกลุ่มงานออกแบบและก่อสร้างเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มขยายขีดความสามารถเขตปฏิบัติการการบิน กลุ่มอาคารผู้โดยสาร กลุ่มอาคารทดแทน กลุ่มระบบ

สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และกลุ่มงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4. ข้อเสนอแนะของ 1. การปรับปรุงการจราจร เนื่องจากสภาพการจราจรโดยส่วนใหญ่ไม่มีความคล่องตัว

กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี เช่น ทางด่วน ถนนที่มีแยกต่างๆ หรือการหยุดชะงักของโครงการก่อสร้างที่ยังไม่มีการดำเนินการต่อ

เช่น ทางด่วนโฮปเวลล์ควรหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน หาวิธีการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ

สามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เกิดความคล่องตัวสูงประชาชนได้รับความสะดวกสบาย และ

เกิดประโยชน์สูงสุดในการเดินทาง

2. สถานีขนส่งรถโดยสาร ควรอยู่ชานเมืองและต้องเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

3. วิทยุการบิน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานควบคุมจราจรทางอากาศ ควรมีการสำรวจและ ตรวจสอบ

เรื่องสัญญาณไฟของอาคารที่มีความสูงให้ถูกต้องและเคร่งครัดตามกฎระเบียบเพื่อความปลอดภัย

4. โครงการรถเมล์เอ็นจีวี เห็นควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งการ

ตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงในเรื่องการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี และเสนอให้มีโครงการรถเมล์ฟรี

สำหรับเด็กนักเรียนด้วย

5. รางวัล “สถานที่เป็นมิตรกับผู้พิการ” ซึ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับรางวัลดังกล่าว

จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในโครงการประกวดสถานที่ดีเด่นที่เอื้อ

ต่อผู้พิการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ความสำคัญกับผู้โดยสารทุกเพศ ทุกวัย

รวมถึงผู้พิการ จึงเห็นว่าควรจะได้มีการปรับปรุงการให้บริการต่างๆ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความ

สะดวกสบายและเป็นไปตามมาตรฐานสากลให้มากที่สุด

6. สิ่งอำนวยความสะดวก ขอให้เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในรถยนต์สาธารณะ สถานีบริการขนส่ง

มวลชน สถานที่ในสถานีขนส่งมวลชน เช่น ถนน ทางลาด ฯ เพื่อให้ผู้พิการและผู้สูงอายุสามารถ

ใช้ชีวิตอย่างปกติ ได้รับบริการที่ดีและมีความเสมอภาค

7. การค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงคมนาคมใน

การขอใช้พื้นที่ในสนามบินนานาชาติสำหรับเป็นห้องรับรองเรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์

ปัจจุบันได้รับพื้นที่จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้ว แต่ยังขาดพื้นที่สนามบินภูเก็ตและสนามบิน

เชียงใหม่ จึงขอความร่วมมือกระทรวงคมนาคมจัดพื้นที่รับรองดังกล่าว

8. การบริหารจัดการ เห็นด้วยกับการนำระบบการบริหารจัดการมาใช้ในกระทรวง

คมนาคมโดยเน้นเรื่องธรรมาภิบาลเป็นหลัก รวมถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และทำให้ไม่ให้เกิด

ความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการ

5. การเสนอรูปแบบการ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเรื่องการเสนอรูปแบบการประชุมฯ โดยให้ลดเวลาในการนำเสนอ

ประชุมคณะกรรมการ ภารกิจของกระทรวง และให้มีการกำหนดประเด็นเรื่องที่จะพิจารณา โดยนำประเด็นดังกล่าว

          ผู้ช่วยรัฐมนตรี            เวียนให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีทุกกระทรวงได้รับทราบเพื่อให้เกิดการบูรณาการ ทั้งนี้

เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

6. การประชุมคณะ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมอบหมายให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และสิ่งแวดล้อมเป็นประธานการประชุม ครั้งที่ 3/2553 ในวันที่ 29 ตุลาคม 2553 เวลา 13.30 น.

          ครั้งที่ 2/2553           ณ ห้องประชุม 501  ชั้น 5  ตึกบัญชาการ  ทำเนียบรัฐบาล

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ