สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 38

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 10, 2010 16:59 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 38 ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ และการดำเนินการตามแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัย จำนวน 25 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ลพบุรี สระบุรี สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี

1. สงขลา เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 53 เกิดฝนตกหนักและต่อเนื่อง มีน้ำท่วมขัง 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางกล่ำ ระดับประมาณ 0.50—0.80 เมตร

2. ตรัง เกิดฝนตกหนัก ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. — 1 พ.ย. 53 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 5 ตำบล กันตัง 1 ตำบล วังวิเศษ 1 ตำบล

3. ชุมพร มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละแม 4 ตำบล พะโต๊ะ 4 ตำบล หลังสวน 8 ตำบล ทุ่งตะโก 3 ตำบล สวี 1 ตำบล

4. นครศรีธรรมราช มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 21 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหัวไทร 11 ตำบล ลานสกา 5 ตำบล สิชล 9 ตำบล ชะอวด 9 ตำบล ขนอม 3 ตำบล พิปูน 5 ตำบล นบพิดำ 4 ตำบล จุฬาภรณ์ 5 ตำบล เมือง 13 ตำบล ปากพนัง 16 ตำบล พรหมคีรี 5 ตำบล ทุ่งสง 10 ตำบล ท่าศาลา 10 ตำบล ถ้ำพรรณรา 2 ตำบล ช้างกลาง 3 ตำบล ร่อนพิบูลย์ 5 ตำบล พระพรหม 4 ตำบล ฉวาง 10 ตำบล บางขัน 3 ตำบล นาบอน 3 ตำบล ทุ่งใหญ่ 7 ตำบล

5. สุราษฎร์ธานี มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนม 3 ตำบล เคียนซา 2 ตำบล เมือง 2 ตำบล พุนพิน 7 ตำบล เมืองวิภาวดี 2 ตำบล เวียงสระ 6 ตำบล พระแสง 4 ตำบล ท่าฉาง6 ตำบล กาญจนดิษฐ์ 7 ตำบล บ้านนาสาร 11 ตำบล ไชยา 9 ตำบล ดอนสัก 2 ตำบล บ้านตาขุน1 ตำบลบ้านนาดิบ 2 ตำบล

6. ลพบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง ชัยบาดาล พัฒนานิคม ลำสนธิ ท่าหลวง หนองม่วง สระโบสถ์ โคกเจริญ บ้านหมี่ ท่าวุ้ง ปัจจุบันมีน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

7. สระบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 15 ต.ค.53 ในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง บ้านหมอ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด หนองแซง หนองแค วิหารแดง หนองโดน ปัจจุบันมีน้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านหมอ และดอนพุด

8. สุโขทัย สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอกงไกลาศ ตำบลกง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

9. พิษณุโลก สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 29 ส.ค.53 ในพื้นที่ 1 อำเภอ คือ อำเภอบางระกำ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

10.นครสวรรค์ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง หนองบัว ตาคลี ท่าตะโก ลาดยาว บรรพตพิสัย โกรกพระ พยุหคีรี เก้าเลี้ยว ชุมแสง ปัจจุบันมีน้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ เมืองนครสวรรค์ โกรกพระ และพยุหะคีรี คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 15 พฤศจิกายน 2553

11.ชัยนาท สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 3-4 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเนินขาม หันคา เมืองชัยนาท วัดสิงห์ หนองมะโมง มโนรมย์ สรรพยา ปัจจุบันมีน้ำท่วม 4 อำเภอได้แก่ เมืองชัยนาท วัดสิงห์ มโนรมย์ และสรรพยา คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 15 พฤศจิกายน 2553

12.สิงห์บุรี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค 53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่อำเภออินทร์บุรี เมืองสิงห์บุรี พรหมบุรี บางระจัน ค่ายบางระจัน ท่าช้าง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 15 พฤศจิกายน 2553

13.อ่างทอง สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และแสวงหา คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ 15 พฤศจิกายน 2553

14.พระนครศรีอยุธยา สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 19-20 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ บางบาล เสนา บางปะอิน อุทัย บางซ้าย ลาดบัวหลวง นครหลวง บางปะหัน บ้านแพรก สถานการณ์ปัจจุบันน้ำเริ่มลดลง

15.นนทบุรี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด 7 ตำบล เมืองนนทบุรี 4 ตำบล บางกรวย 4 ตำบล บางใหญ่ 6 ตำบล บางบัวทอง 8 ตำบลไทรน้อย 7 ตำบล

16.ปทุมธานี สถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ

17.สุพรรณบุรี สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง บางปลาม้า สองพี่น้อง สามชุก หนองหญ้าไซ เดิมบางนางบวช อู่ทอง ปัจจุบันน้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง บางปลาม้า สองพี่น้อง และอู่ทอง

18.นครราชสีมา สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 15-16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 31 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง สูงเนิน ขามทะเลสอ โนนแดง คง เสิงสาง หนองบุญมาก จักรราช เทพารักษ์ ด่านขุนทด บ้านเหลื่อม โนนสูง โชคชัย พิมาย โนนไทย ห้วยแถลง ปากช่อง สีคิ้ว ปักธงชัย ขามสะแกแสง เฉลิมพระเกียรติ พระทองคำ บัวใหญ่ ครบุรี บัวลาย เมืองยาง ศรีดา ชุมพวง วังน้ำเขียว ลำทะเมน แก้งสนามนาง ปัจจุบันมีน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ เมืองยาง

19.ศรีสะเกษ สถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 16 ต.ค.53 ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอราศีไศล กันทรารมย์ ศิลาลาด บึงบูรพ์ เมืองศรีสะเกษ และยางชุมน้อย

20.สุรินทร์ สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 19 ต.ค.53 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง สังขะ บัวเชด ศรีขรภูมิ ศรีณรงค์ ชุมพลบุรี กาบเชิง ปัจจุบันมีน้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี

21.ขอนแก่น สถานการณ์น้ำท่วมขัง เมื่อวันที่ 20 ต.ค.53 ในพื้นที่ 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแวงใหญ่ แวงน้อย ชนบทบ้านแฮด มัญจาคีรี โคกโพธิ์ชัย โนนศิลา เปลือยน้อย หนองสองห้อง ภูเวียง น้ำพอง อุบลรัตน์ หนองนาคำ ปัจจุบันมีน้ำท่วม 6 อำเภอ ได้แก่ ชนบท เมือง มัญจาคีรี อุบลรัตน์ ภูเวียง และหนองนาคำ

22.กาฬสินธุ์ สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย ร่องคำ ฆ้องชัย

23.มหาสารคาม สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง โกสุมพิสัย กุดรัง เชียงยืน กันทรวิชัย นาเชือก บรบือ ปัจจุบันมีน้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ เมือง โกสุมพิสัย และกันทรวิชัย

24.ร้อยเอ็ด สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอจังหาร โพนทราย

25.อุบลราชธานี สถานการณ์น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง วารินชำราบ

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (8 พฤศจิกายน 2553) มีปริมาณน้ำ ทั้งหมด 56,059 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(55,692 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 367 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 32,218 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (58,744 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 80) จำนวน 2,685 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างจำนวน 99.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบาย 84.50 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 17,496 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (8 พฤศจิกายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 52,467 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน(52,170 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 297 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 28,944 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (55,515 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 80) จำนวน 3,048 ล้านลูกบาศก์เมตร วันนี้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 94.41 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบาย 75.01 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 17,128 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                               หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ      ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
               ในอ่างปี 53      ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย      รับได้อีก
            ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
1.ภูมิพล         8,659  64      4,859   36     21.9   15.28        0   1.85     4,803
2.สิริกิติ์         7,805  82      4,955   52     7.08    7.11     3.91   3.94     1,705
ภูมิพล+สิริกิติ์     16,464  72      9,814   43    28.98   22.39     3.91   5.79     6,508
3.แควน้อยฯ        776 101        740   96     2.13    3.14      1.3    1.3         0
4.ป่าสักชลสิทธิ์      967 101        964  100     5.06   10.91     7.78   8.64         0
รวม 4 อ่างฯ    18,207  74     11,518   47    36.17   36.44    12.99  15.73     6,508

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 22 อ่าง ดังนี้

                                                                                     หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ            ปริมาตรน้ำในอ่างฯ      ปริมาตรน้ำใช้การได้       ปริมาณน้ำไหล    ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำรับได้อีก
                                                                   ลงอ่าง
                    ปริมาตร  % ความจุ     ปริมาตร   % ความจุ      วันนี้    เมื่อ    วันนี้     เมื่อ
                        น้ำ     อ่างฯ         น้ำ      อ่างฯ             วาน            วาน
1.สิริกิต์               7,805       82      4,955        52     7.08   7.11   3.91    3.94         1,705
2.แม่งัดฯ                280      106        258        97     0.97   0.98   1.08    1.09             0
3.กิ่วลม                  98       88         94        84     1.84   2.51   2.15    2.51            14
4.กิ่วคอหมา              195      115        189       111     0.58   0.97    0.3    0.55             0
5.แควน้อยฯ              776      101        740        96     2.13   3.41    1.3     1.3             0
6.ห้วยหลวง              127      108        122       103      0.1   1.46   0.05    1.05             0
7.จุฬาภรณ์               173      105        129        79     0.48   0.59   1.01    1.01             0
8.อุบลรัตน์             2,793      115      2,212        91    16.86  17.98  30.31   31.63             0
9.ลำปาว              1,262       88      1,177        82        1   0.92    1.7    3.22           168
10. ลำตะคอง            351      112        324       103     1.09   1.96    1.7    1.82             0
11.ลำพระเพลิง           110      100        109        99     0.25   0.25   0.35    0.36             0
12.มูลบน                119       84        112        79        0   0.29   0.34    0.34            22
13.ลำแซะ               250       91        243        88        0   1.07    0.9    1.18            25
14.สิรินธร             1,590       81        759        39     0.83   3.37      0       0           376
15.ป่าสักฯ               976      101        964       100     5.06  10.91   7.78    8.64             0
16.ทับเสลา              162      101        154        96     0.66   0.75   0.83       0             0
17.กระเสียว             251      105        211        88     1.51   1.86   2.37    2.73             0
18.ศรีนครินทร์         14,298       81      4,033        23     5.96  13.87   6.72   16.72         3,447
19.ขุนด่านฯ              219       98        214        96     0.16   0.22   0.26    0.27             5
20.คลองสียัด             423      101        393        94        0    0.4   0.61     0.4             0
21.หนองปลาไหล          164      100        150        92     0.52   0.29   0.41    0.42             0
22.ประแสร์              250      100        230        93     0.67      0   0.43    0.49             0

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำต่างๆ ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น

แม่น้ำยม บริเวณอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำล้นตลิ่ง

แม่น้ำน่าน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำชี อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำมูล อำเภอสะตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำท่วม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำล้นตลิ่ง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำตาปี บริเวณอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

คลองบางใหญ่ บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

แม่น้ำโกลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

คลองตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 2,181 ลบ.ม./วินาที(ลดลงจากเมื่อวาน 69 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 2,503 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 176 ลบ.ม./วินาที)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 212 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 5 ลบ.ม./วินาที) และทุ่งฝั่งตะวันตก 130 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 8 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 57 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 31 ลบ.ม./วินาที)

การดำเนินการตามแผนเตรียมสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ ระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 11 ฉบับ แบ่งเป็น แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำในจังหวัดทางภาคใต้ 8 ฉบับ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 1 ฉบับ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำชีและมูล 1 ฉบับ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำมหาสารคามและกาฬสินธุ์ 1 ฉบับ

2. แจ้งเตือนให้เตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2553 จำนวน 5 ฉบับ

3. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ได้เตรียมการไว้ จำนวน 1,200 เครื่อง สนับสนุนแล้ว จำนวน 612 เครื่อง ในพื้นที่ 36 จังหวัด ดังนี้

ภาคเหนือ 5 จังหวัด จำนวน 28 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดลำพูน(2) พิษณุโลก (2) นครสวรรค์(20) กำแพงเพชร(1)สุโขทัย(2)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด จำนวน 62 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น(22) มหาสารคาม(7) ร้อยเอ็ด(8) กาฬสินธุ์(3) ศรีสะเกษ(3) นครราชสีมา(18) สุรินทร์(1)

ภาคกลาง 15 จังหวัด 432 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท(19) ลพบุรี(45) สิงห์บุรี(41) สระบุรี(17) พระนครศรีอยุธยา(44) อ่างทอง(31) อุทัยธานี(3) สุพรรณบุรี(59) นนทบุรี(56) ปทุมธานี(59) กรุงเทพฯ(3) ฉะเชิงเทรา(18) นครปฐม(31) กาญจนบุรี(2) สมุทรสาคร(4)

ภาคตะวันออก 2 จังหวัด จำนวน 6 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครนายก(5) ชลบุรี(1)

ภาคใต้ 7 จังหวัด จำนวน 84 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด เพชรบุรี(1) สงขลา(44) นครศรีธรรมราช(22) พัทลุง (1) ปัตตานี (5) นราธิวาส(9) ยะลา(2)

4. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 1,785,906 กิโลกรัม (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 1,251,020 กิโลกรัม) แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 3,275 ชุด (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 950 ชุด) และดูแลสุขภาพสัตว์ 651,605 ตัว (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 83,501 ตัว) ในพื้นที่ 40 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สระบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี สระแก้ว ขอนแก่น มหาสารคาม หนองคาย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี น่าน กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส ยะลา ชุมพร สุราษฎร์ธานี

ผลกระทบด้านการเกษตร

ด้านพืช แบ่งเป็น 3 ช่วงภัย

1. ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ต.ค. 53) ประสบภัย จำนวน 54 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี กรุงเทพฯ ชัยนาท นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และระนอง

คาดว่าจะเสียหาย 2,757,236 ไร่ ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ วันที่ 4 พ.ย.53) พบว่าเสียหายแล้ว 868,225 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 778,640 ไร่ พืชไร่ 77,385 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 12,539 ไร่ เกษตรกร 101,745 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 555.77 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยเหลือแล้ว 87.48 ล้านบาท (เงินท้องถิ่น เงินทดรองราชการอำเภอและจังหวัด 80.81 ล้านบาท เงินทดรองราชการปลัดกระทรวงเกษตรฯ 6.67 ล้านบาท) อยู่ระหว่างขอรับการช่วยเหลือ 468.29 ล้านบาท

2. ช่วงภัยวันที่ 1 ตุลาคม — 4 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พ.ย. 53 ยกเว้น ภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 46 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก ลำพูน ลำปาง นครสวรรค์ น่าน พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองคาย หนองบัวลำภู อุบลราชธานี กรุงเทพฯ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

คาดว่าจะเสียหาย 6,829,585 ไร่ แยกเป็น ข้าว 5,122,680 พืชไร่ 1,521,772 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 185,133 ไร่ เกษตรกร 543,326 ราย

3. ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่จังหวัด ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส พัทลุง ปัตตานี ยะลา สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลา

คาดว่าจะเสียหาย 640,164 ไร่ แยกเป็น ข้าว 296,516 พืชไร่ 33,935 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 309,713 ไร่ เกษตรกร 263,216 ราย

รวม 3 ช่วงภัย

          ช่วงภัย                เกษตรกร (ราย)               พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย (ไร่)
                                                       ข้าว         พืชไร่      พืชสวน        รวมทั้งสิ้น
          1 ส.ค. - 30 ก.ย.53         293,947     2,441,369      283,617     32,250      2,757,236
          1 ต.ค. — 4 พ.ย.53          543,326     5,122,680    1,521,772    185,133      6,829,585
          1 พ.ย. - ปัจจุบัน             263,216       296,516       33,935    309,713        640,164
          รวม                      1,100,489     7,860,565    1,839,324    527,096     10,226,985

ด้านประมง แบ่งเป็นความเสียหายเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเรือประมง ดังนี้

1.) พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

1.1 ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 - 5 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ย. 53 ยกเว้นภาคใต้) ประสบภัยทั้งสิ้น 56 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก แพร่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ เลย มุกดาหาร นครพนม หนองบัวลำภู อุดรธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร สกลนคร อุบลราชธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา อุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี เพชรบุรี พังงา

คาดว่าจะเสียหาย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 104,797 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 90,437 ตารางเมตร เกษตรกร 62,480 ราย ได้ดำเนินการสำรวจแล้ว (ณ วันที่ 29 ต.ค.53) พบว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงเสียหายแล้ว 9,496 ไร่ และ 10,267 ตารางเมตร คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 31.65 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยเหลือแล้ว 17.92 ล้านบาท (เงินท้องถิ่น เงินทดรองราชการอำเภอและจังหวัด 12.84 ล้านบาท เงินทดรองราชการปลัดกระทรวงเกษตรฯ 5.08 ล้านบาท) อยู่ระหว่างขอรับการช่วยเหลือ 13.73 ล้านบาท

1.2 ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส

คาดว่าจะเสียหาย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 8,562 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 47,086 ตารางเมตร เกษตรกร 7,665 ราย

รวม 2 ช่วงภัย

          ช่วงภัย                      จำนวน     เกษตรกร          พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย
                                     จังหวัด       (ราย)              ไร่       ตรม.
          1 ส.ค.— 5 พ.ย. 53             56      62,480         104,797     90,437
          1 พ.ย. - ปัจจุบัน                 7       7,665           8,562     47,086
          รวม                                   70,145         113,359    137,523

2.) เรือประมง ช่วงระหว่าง วันที่ 1 สิงหาคม — 5 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ย. 53) ประสบภัยพิบัติทั้งสิ้น 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี จันทบุรี ระยอง กระบี่ ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 581 ลำ แบ่งเป็น เรือประมงพานิช 58 ลำ เรือประมงพื้นบ้าน 523 ลำ

ด้านปศุสัตว์ แบ่งเป็น 2 ช่วงภัย

1. ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 - 5 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ย. 53 ยกเว้นภาคใต้) ประสบภัยทั้งสิ้น 40 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน ขอนแก่น มหาสารคาม หนองคาย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กรุงเทพฯ ชัยนาท ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ปราจีนบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร

คาดว่าจะเสียหาย เกษตรกร 131,355 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 17,014,030 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 387,686 ตัว สุกร 396,016 ตัว แพะ - แกะ 21,626 ตัว สัตว์ปีก 16,208,612 ตัว แปลงหญ้า 37,269 ไร่

2. ช่วงภัยวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พ.ย. 53 เฉพาะภาคใต้) ประสบภัย จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี นราธิวาส สงขลา กระบี่ ยะลา ชุมพร สุราษฎร์ธานี

คาดว่าจะเสียหาย เกษตรกร 96,744 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 4,646,473 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 210,875 ตัว สุกร 202,762 ตัว แพะ - แกะ 43,871 ตัว สัตว์ปีก 4,188,965 ตัว แปลงหญ้า 5,045 ไร่

รวม 2 ช่วงภัย

          ช่วงภัย               เกษตรกร                          คาดว่าจะเสียหาย (ตัว)
                                (ราย)    โค-กระบือ      สุกร  แพะ-แกะ       สัตว์ปีก         รวม   แปลงหญ้า (ไร่)
          1 ส.ค. — 5 พ.ย.53   131,355     387,686  396,106   21,626  16,208,612  17,014,030         37,269
          1 พ.ย. - ปัจจุบัน       96,744     210,875  202,762   43,871   4,188,965   4,646,473          5,045
          รวม                 228,099     598,561  598,868   65,497  20,397,577  21,660,503         42,314

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ