แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมายอาญา
กระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรี
ตลาดหุ้น
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า โดยที่ปัจจุบันความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศมีมากขึ้น ได้มีเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศและเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ประกอบกับตามมาตรฐานระหว่างประเทศมีการกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศหรือเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว เป็นการสมควรที่ประเทศไทยจะได้ดำเนินการในมาตรฐานเดียวกัน และสมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ในกรณีที่ผู้กระทำความผิด จำเลย หรือผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวหลบหนี จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. เพิ่มบทนิยามคำว่า “เจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศ” และ “เจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ” (ร่างมาตรา 3 แก้ไขมาตรา 1)
2. เพิ่มความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ ตามมาตรา 143 มาตรา 144 มาตรา 149 และมาตรา 150 (ร่างมาตรา 4 แก้ไขมาตรา 7)
3. เพิ่มหลักการเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่ตามมาตรา 95 / 1 และมาตรา 98 วรรคสอง มาใช้บังคับในกรณีที่ผู้กระทำความผิด จำเลย หรือผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหลบหนี (ร่างมาตรา 5 เพิ่มความเป็นมาตรา 95 / 1)
4. เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ตามมาตรา 143 มาตรา 144 มาตรา 149 และมาตรา 150 เป็นความผิดประเภทหนึ่งในมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 7 — 10)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--
กระทรวงยุติธรรมเสนอว่า โดยที่ปัจจุบันความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติและองค์การระหว่างประเทศมีมากขึ้น ได้มีเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศและเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ประกอบกับตามมาตรฐานระหว่างประเทศมีการกำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศหรือเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว เป็นการสมควรที่ประเทศไทยจะได้ดำเนินการในมาตรฐานเดียวกัน และสมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ในกรณีที่ผู้กระทำความผิด จำเลย หรือผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวหลบหนี จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. เพิ่มบทนิยามคำว่า “เจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศ” และ “เจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ” (ร่างมาตรา 3 แก้ไขมาตรา 1)
2. เพิ่มความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐบาลต่างประเทศ หรือเจ้าพนักงานขององค์การระหว่างประเทศ ตามมาตรา 143 มาตรา 144 มาตรา 149 และมาตรา 150 (ร่างมาตรา 4 แก้ไขมาตรา 7)
3. เพิ่มหลักการเรื่องอายุความสะดุดหยุดอยู่ตามมาตรา 95 / 1 และมาตรา 98 วรรคสอง มาใช้บังคับในกรณีที่ผู้กระทำความผิด จำเลย หรือผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหลบหนี (ร่างมาตรา 5 เพิ่มความเป็นมาตรา 95 / 1)
4. เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการปกครอง ตามมาตรา 143 มาตรา 144 มาตรา 149 และมาตรา 150 เป็นความผิดประเภทหนึ่งในมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 7 — 10)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มิถุนายน 2550--จบ--