แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ร่างพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยบูรพา
กระทรวงยุติธรรม
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148(3) (4) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. .... และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า โดยที่มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 บัญญัติให้ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148 (3) และ (4) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแพทย์ตามมาตรา 150 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ผ่านการอบรมทางนิติเวชศาสตร์ไปร่วมชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุแทนได้แต่เมื่อ สิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ยังคงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนแพทย์ จึงสมควรขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจากเดิมอีกห้าปี และโดยที่ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนแพทย์ดังกล่าว จึงสมควรกำหนดให้มีการมอบหมายการชันสูตรพลิกศพในกรณีการตาย โดยยังมิปรากฏเหตุตามมาตรา 148 (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148(3) (4) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 ออกไปอีกจนถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553
2. กำหนดให้นำความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148 (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า โดยที่มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 บัญญัติให้ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148 (3) และ (4) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแพทย์ตามมาตรา 150 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา อาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ผ่านการอบรมทางนิติเวชศาสตร์ไปร่วมชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุแทนได้แต่เมื่อ สิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ยังคงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนแพทย์ จึงสมควรขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจากเดิมอีกห้าปี และโดยที่ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนแพทย์ดังกล่าว จึงสมควรกำหนดให้มีการมอบหมายการชันสูตรพลิกศพในกรณีการตาย โดยยังมิปรากฏเหตุตามมาตรา 148 (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148(3) (4) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 ออกไปอีกจนถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553
2. กำหนดให้นำความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148 (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--