คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่ม โดยประสานการปฏิบัติงานกับจังหวัดที่ประสบภัยและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สรุปการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินถล่ม และสถานการณ์อุทกภัยและผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2550) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 9 - 21 พฤษภาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 11 จังหวัด 26 อำเภอ 6 กิ่งฯ 93 ตำบล 349 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดลำปาง พิจิตร อุตรดิตถ์ แพร่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท และชลบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 48,585 คน 13,153 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านทั้งหลัง 2 หลัง บางส่วน 52 หลัง ถนน 139 สาย สะพาน 33 แห่ง ทำนบ 6 แห่ง ฝาย 59 แห่ง วัด 2 แห่ง โรงเรียน 8 แห่ง สถานที่ราชการ 19 แห่ง ท่อระบายน้ำ 53 แห่ง สัตว์ปีก 410 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 113,509 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 51 บ่อ
1.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 34,481,640 บาท
1.4 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2550)
1.4.1 สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท และจังหวัดชลบุรี
1.4.2 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี พิจิตร สุพรรณบุรี และจังหวัดนครปฐม ดังนี้
1) จังหวัดอุทัยธานี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่เขียว (หมู่ที่ 7,9,12,13,15,21) ตำบลสว่างอารมณ์ (หมู่ที่ 4,6) และตำบลหนองหลวง (หมู่ที่ 1,5,6) ราษฎรเดือดร้อน 78 ครัวเรือน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 เมตร และอำเภอเมืองฯ ตำบลสะแกกรัง (หมู่ที่ 1,8) ตำบลหาดทะนง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลเกาะเทโพ (หมู่ที่ 1,6) ตำบลท่าซุง (หมู่ที่ 1,2,3,6,7,8) ตำบลเนินแจง (หมู่ที่ 5,6,8) ตำบลหนองไผ่แบน (หมู่ที่ 2,4,5,6) ตำบลโนนเหล็ก (หมู่ที่ 1) ตำบลทุ่งใหญ่ (หมู่ที่ 5) และตำบลน้ำซึม (หมู่ที่ 1,2,4,7) โดยพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 8,000 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร
2) จังหวัดพิจิตร ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มพื้นที่การเกษตร จำนวน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอวชิรบารมี และกิ่งอำเภอบึงนาราง โดยพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 26,000 ไร่ ระดับน้ำสูง 0.30-0.60 เมตร
3) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรในทุ่งบางปลาม้าและทุ่งสองพี่น้อง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง จำนวน 73,109 ไร่ ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 เมตร
โครงการฯ โพธิ์พระยาเร่งระบายน้ำออกตามคันกั้นน้ำฝั่งขวาแม่น้ำสุพรรณ ด้วยเครื่องสูบน้ำขนาด 12-24 นิ้ว จำนวน 16 เครื่อง และขอเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน อีก 7 เครื่อง
4) จังหวัดนครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรบริเวณริมแม่น้ำ ท่าจีน ที่ตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 13,14) ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน และตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 6,400 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.50 เมตร มีแนวโน้มลดลง
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางเลนได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าให้การช่วยเหลือ จำนวน 3 เครื่อง หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติในปลายเดือนพฤษภาคม 2550
อนึ่ง ในช่วงระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2550 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ประกอบกับเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งในช่วงน้ำขึ้นเป็นบางพื้นที่ ซึ่งทั้ง 4 จังหวัดได้จัดทำแนวกระสอบทรายป้องกันไว้แล้ว
2. การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ
จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มปี 2550 ของกระทรวงมหาดไทย
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มปี 2550 ในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2550 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) เป็นประธาน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน มูลนิธิและองค์กรการกุศล โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) เป็นกรรมการและเลขานุการฯ เพื่อติดตามสถานการณ์และบูรณาการการปฏิบัติงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 9 - 21 พฤษภาคม 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 11 จังหวัด 26 อำเภอ 6 กิ่งฯ 93 ตำบล 349 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดลำปาง พิจิตร อุตรดิตถ์ แพร่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี นครปฐม ชัยนาท และชลบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 48,585 คน 13,153 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านทั้งหลัง 2 หลัง บางส่วน 52 หลัง ถนน 139 สาย สะพาน 33 แห่ง ทำนบ 6 แห่ง ฝาย 59 แห่ง วัด 2 แห่ง โรงเรียน 8 แห่ง สถานที่ราชการ 19 แห่ง ท่อระบายน้ำ 53 แห่ง สัตว์ปีก 410 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 113,509 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 51 บ่อ
1.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 34,481,640 บาท
1.4 สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2550)
1.4.1 สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท และจังหวัดชลบุรี
1.4.2 ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี พิจิตร สุพรรณบุรี และจังหวัดนครปฐม ดังนี้
1) จังหวัดอุทัยธานี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่เขียว (หมู่ที่ 7,9,12,13,15,21) ตำบลสว่างอารมณ์ (หมู่ที่ 4,6) และตำบลหนองหลวง (หมู่ที่ 1,5,6) ราษฎรเดือดร้อน 78 ครัวเรือน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 เมตร และอำเภอเมืองฯ ตำบลสะแกกรัง (หมู่ที่ 1,8) ตำบลหาดทะนง (หมู่ที่ 1-6) ตำบลเกาะเทโพ (หมู่ที่ 1,6) ตำบลท่าซุง (หมู่ที่ 1,2,3,6,7,8) ตำบลเนินแจง (หมู่ที่ 5,6,8) ตำบลหนองไผ่แบน (หมู่ที่ 2,4,5,6) ตำบลโนนเหล็ก (หมู่ที่ 1) ตำบลทุ่งใหญ่ (หมู่ที่ 5) และตำบลน้ำซึม (หมู่ที่ 1,2,4,7) โดยพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 8,000 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร
2) จังหวัดพิจิตร ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มพื้นที่การเกษตร จำนวน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอวชิรบารมี และกิ่งอำเภอบึงนาราง โดยพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 26,000 ไร่ ระดับน้ำสูง 0.30-0.60 เมตร
3) จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรในทุ่งบางปลาม้าและทุ่งสองพี่น้อง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง จำนวน 73,109 ไร่ ระดับน้ำสูง 0.50-1.00 เมตร
โครงการฯ โพธิ์พระยาเร่งระบายน้ำออกตามคันกั้นน้ำฝั่งขวาแม่น้ำสุพรรณ ด้วยเครื่องสูบน้ำขนาด 12-24 นิ้ว จำนวน 16 เครื่อง และขอเครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน อีก 7 เครื่อง
4) จังหวัดนครปฐม ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรบริเวณริมแม่น้ำ ท่าจีน ที่ตำบลบางหลวง (หมู่ที่ 13,14) ตำบลหินมูล อำเภอบางเลน และตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 6,400 ไร่ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.50 เมตร มีแนวโน้มลดลง
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางเลนได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าให้การช่วยเหลือ จำนวน 3 เครื่อง หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติในปลายเดือนพฤษภาคม 2550
อนึ่ง ในช่วงระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2550 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ประกอบกับเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งในช่วงน้ำขึ้นเป็นบางพื้นที่ ซึ่งทั้ง 4 จังหวัดได้จัดทำแนวกระสอบทรายป้องกันไว้แล้ว
2. การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด/อำเภอ
จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 (งบ 50 ล้านบาท) แล้ว
3. การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มปี 2550 ของกระทรวงมหาดไทย
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มปี 2550 ในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2550 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ จันทน์เสนะ) เป็นประธาน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน มูลนิธิและองค์กรการกุศล โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) เป็นกรรมการและเลขานุการฯ เพื่อติดตามสถานการณ์และบูรณาการการปฏิบัติงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--