คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. มาตรการเร่งรัดติดตามในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
1.1 กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นสมควรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ในภาพรวมในอัตราร้อยละ 93.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,566,200 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายลงทุนเห็นสมควรกำหนดเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 73.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ โดยเป้าหมายในภาพรวมข้างต้นแยกเป็นรายไตรมาส ดังนี้
ไตรมาสที่ 1 เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายอัตรา
แต่ละไตรมาส สะสม ณ สิ้นไตรมาส การเบิกจ่ายสะสม
(ล้านบาท) (ล้านบาท) ณ สิ้นไตรมาส (%)
1 257,797 257,797 16.46
2 407,212 665,009 42.46
3 407,212 1,072,221 68.46
4 384,345 1,456,566 93.00
การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ข้างต้น พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) ในช่วงระยะเวลาก่อนพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ ส่วนราชการมีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีฯ ประกาศใช้ คาดว่าส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทันที
(2) โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำร้อยละ 76.07 ของวงเงินงบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) โดยในจำนวนนี้เป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจำนวน 176,309 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 11.26 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งโดยปกติรายจ่ายประเภทดังกล่าวจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนภายในปีงบประมาณ
(3) สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเต็มตามจำนวนวงเงินงบประมาณรายจ่าย ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้บังคับแล้ว จึงทำให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังจากวันประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ยกเว้นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งต้องดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณก่อน
(4) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเงินอุดหนุนโดยทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติใน การเบิกจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลมากขึ้น
1.2 ให้นำอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
2. แนวทางการดำเนินงานของส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
2.1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยเร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผนงบประมาณ แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทงบรายจ่าย และรายการในงบรายจ่าย ที่ต้องดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัด ยกเว้นงบบุคลากรประเภทเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคนั้น ๆ ตามแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้โดยไม่ชักช้า แต่อย่างช้าไม่เกิน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
2.2 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จ ภายในสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (สิ้นเดือนมีนาคม 2550)
2.3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการตรวจรับงาน และเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ
2.4 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่ในการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตลอดจนติดตามปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินและดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
2.5 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายงานสถานะการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ทุกสิ้นเดือนส่งให้กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
2.6 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้คลังจังหวัดดำเนินการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการในจังหวัดเพื่อให้การเบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าหมาย
3. แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานกลาง
3.1 กระทรวงการคลังจะมอบหมายให้กรมบัญชีกลางรายงานปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รวมทั้งมาตรการที่ควรดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ สำหรับรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ให้ติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานในสังกัด ผ่านทางระบบ GFMIS
3.2 ให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานผลการติดตามการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. มาตรการเร่งรัดติดตามในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
1.1 กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง และสำนักงบประมาณได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นสมควรกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ในภาพรวมในอัตราร้อยละ 93.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,566,200 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายลงทุนเห็นสมควรกำหนดเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 73.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละส่วนราชการ โดยเป้าหมายในภาพรวมข้างต้นแยกเป็นรายไตรมาส ดังนี้
ไตรมาสที่ 1 เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายอัตรา
แต่ละไตรมาส สะสม ณ สิ้นไตรมาส การเบิกจ่ายสะสม
(ล้านบาท) (ล้านบาท) ณ สิ้นไตรมาส (%)
1 257,797 257,797 16.46
2 407,212 665,009 42.46
3 407,212 1,072,221 68.46
4 384,345 1,456,566 93.00
การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ข้างต้น พิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) ในช่วงระยะเวลาก่อนพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้ ส่วนราชการมีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีฯ ประกาศใช้ คาดว่าส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทันที
(2) โครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำร้อยละ 76.07 ของวงเงินงบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) โดยในจำนวนนี้เป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจำนวน 176,309 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 11.26 ของวงเงินงบประมาณ ซึ่งโดยปกติรายจ่ายประเภทดังกล่าวจะสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งจำนวนภายในปีงบประมาณ
(3) สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเต็มตามจำนวนวงเงินงบประมาณรายจ่าย ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้บังคับแล้ว จึงทำให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังจากวันประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ยกเว้นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งต้องดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณก่อน
(4) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเงินอุดหนุนโดยทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติใน การเบิกจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลมากขึ้น
1.2 ให้นำอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
2. แนวทางการดำเนินงานของส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ
2.1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยเร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผนงบประมาณ แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทงบรายจ่าย และรายการในงบรายจ่าย ที่ต้องดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัด ยกเว้นงบบุคลากรประเภทเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคนั้น ๆ ตามแผนการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้โดยไม่ชักช้า แต่อย่างช้าไม่เกิน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
2.2 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จ ภายในสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (สิ้นเดือนมีนาคม 2550)
2.3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการตรวจรับงาน และเบิกจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ
2.4 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานในการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่ในการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตลอดจนติดตามปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินและดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
2.5 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรายงานสถานะการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน ทุกสิ้นเดือนส่งให้กรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
2.6 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้คลังจังหวัดดำเนินการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการในจังหวัดเพื่อให้การเบิกจ่ายเป็นไปตามเป้าหมาย
3. แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานกลาง
3.1 กระทรวงการคลังจะมอบหมายให้กรมบัญชีกลางรายงานปัญหาอุปสรรคในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รวมทั้งมาตรการที่ควรดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบ สำหรับรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ให้ติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานในสังกัด ผ่านทางระบบ GFMIS
3.2 ให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานผลการติดตามการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--