คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการโครงการทางพิเศษสายบางพลี — สุขสวัสดิ์ และทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ตอนบางพลี - บางขุนเทียน ช่วงสุขสวัสดิ์ — บางขุนเทียน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. ค่าก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ จำนวน 18,397.00 ล้านบาท ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องขอความสนับสนุนจากรัฐ โดยให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินจำนวน 18,397.00 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้และรัฐเป็นผู้รับภาระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยดังกล่าวเพื่อ กทพ. นำเงินกู้ไปจ่ายค่าก่อสร้างให้แก่เอกชนผู้รับจ้างก่อสร้าง
2. ให้ กทพ. เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจรของทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ตอนบางพลี-บางขุนเทียน ช่วงสุขสวัสดิ์ — บางขุนเทียน) และทางเชื่อมต่อโครงการฯ กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมและทางเชื่อมต่อโครงการฯ กับทางพิเศษบูรพาวิถี วงเงินจำนวน 8,394.45 ล้านบาท ต่อไป โดยขอความสนับสนุนจากรัฐ โดยให้ กทพ. กู้เงินจำนวน 8,394.45 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และรัฐเป็นผู้รับภาระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อ กทพ. ใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณาให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับผู้บริหารโครงการโดยเร็ว เพื่อให้รัฐสามารถวางแผนบริหารจัดการหนี้ภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--
1. ค่าก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ จำนวน 18,397.00 ล้านบาท ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องขอความสนับสนุนจากรัฐ โดยให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินจำนวน 18,397.00 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้และรัฐเป็นผู้รับภาระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยดังกล่าวเพื่อ กทพ. นำเงินกู้ไปจ่ายค่าก่อสร้างให้แก่เอกชนผู้รับจ้างก่อสร้าง
2. ให้ กทพ. เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างระบบเก็บค่าผ่านทางและระบบควบคุมความปลอดภัยด้านการจราจรของทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ และทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ตอนบางพลี-บางขุนเทียน ช่วงสุขสวัสดิ์ — บางขุนเทียน) และทางเชื่อมต่อโครงการฯ กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมและทางเชื่อมต่อโครงการฯ กับทางพิเศษบูรพาวิถี วงเงินจำนวน 8,394.45 ล้านบาท ต่อไป โดยขอความสนับสนุนจากรัฐ โดยให้ กทพ. กู้เงินจำนวน 8,394.45 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และรัฐเป็นผู้รับภาระต้นเงินกู้และดอกเบี้ยดังกล่าว เพื่อ กทพ. ใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณาให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับผู้บริหารโครงการโดยเร็ว เพื่อให้รัฐสามารถวางแผนบริหารจัดการหนี้ภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--