แท็ก
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
นายกรัฐมนตรี
คิง พาวเวอร์
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ ที่เห็นชอบหลักการยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) (พ.ศ.2550-2554) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย สำหรับกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปีให้มีความชัดเจน เหมาะสมตามความจำเป็น และขีดความสามารถในการดำเนินงาน แล้วเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นรายปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
1. วิสัยทัศน์
สวพส. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน เน้นสนับสนุนภารกิจของโครงการหลวง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการและเกิดความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2. พันธกิจ
2.1 ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของโครงการหลวง
2.2 รักษาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งรักษาคุณค่า และสร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง
2.3 ส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับแนวทางของโครงการหลวง รวมทั้งสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม
2.4 เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงทั้งภายในและต่างประเทศ
3. เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
3.1 ด้านเศรษฐกิจ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในพื้นที่โครงการหลวงเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และในพื้นที่นำร่องการพัฒนาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในระยะเวลาของแผน
3.2 ด้านสังคม ประชากรบนพื้นที่สูงทั้งในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่นำร่องการพัฒนา (พื้นที่ขยายผลโครงการหลวง) สามารถรวมตัวเป็นองค์กรพึ่งตนเองและมีกระบวนการจัดการกลุ่มอย่างน้อยพื้นที่โครงการ 1 แห่ง และมีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างน้อยร้อยละ 20 ของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่นำร่อง
3.3 ด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 30 ของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงมีผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านอาหารปลอดภัยร้อยละ 30 ของพื้นที่นำร่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การลดใช้สารเคมีและมีคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลักเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 30 ของชุมชนโครงการหลวงและพื้นที่นำร่องการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์พอใช้
4. ยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ประกอบด้วย
4.1 ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนามี 4 แผนงาน ดังนี้ 1) แผนงานวิจัยและพัฒนาสนับสนุนงานโครงการหลวง 2) แผนงานส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติ 3) แผนงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่นำร่องการพัฒนา 4) แผนงานวิจัยสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่เครือข่ายการเรียนรู้
4.2 ยุทธศาสตร์การถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมี 3 แผนงาน ดังนี้ 1) แผนงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน 2) แผนงานขยายผลโครงการหลวงสู่ชุมชนบนพื้นที่สูง 3) แผนงานการจัดการองค์ความรู้และการสร้างเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่สูง
4.3 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการมี 3 แผนงาน ดังนี้ 1) แผนงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ 2) แผนงานการพัฒนาระบบการบริหารงาน 3) แผนงานการพัฒนาบุคลากร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--
สาระสำคัญของยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
1. วิสัยทัศน์
สวพส. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน เน้นสนับสนุนภารกิจของโครงการหลวง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการและเกิดความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2. พันธกิจ
2.1 ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของโครงการหลวง
2.2 รักษาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งรักษาคุณค่า และสร้างประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง
2.3 ส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับแนวทางของโครงการหลวง รวมทั้งสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม
2.4 เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงทั้งภายในและต่างประเทศ
3. เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
3.1 ด้านเศรษฐกิจ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในพื้นที่โครงการหลวงเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และในพื้นที่นำร่องการพัฒนาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในระยะเวลาของแผน
3.2 ด้านสังคม ประชากรบนพื้นที่สูงทั้งในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่นำร่องการพัฒนา (พื้นที่ขยายผลโครงการหลวง) สามารถรวมตัวเป็นองค์กรพึ่งตนเองและมีกระบวนการจัดการกลุ่มอย่างน้อยพื้นที่โครงการ 1 แห่ง และมีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างน้อยร้อยละ 20 ของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่นำร่อง
3.3 ด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 30 ของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงมีผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านอาหารปลอดภัยร้อยละ 30 ของพื้นที่นำร่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การลดใช้สารเคมีและมีคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลักเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 30 ของชุมชนโครงการหลวงและพื้นที่นำร่องการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์พอใช้
4. ยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ประกอบด้วย
4.1 ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนามี 4 แผนงาน ดังนี้ 1) แผนงานวิจัยและพัฒนาสนับสนุนงานโครงการหลวง 2) แผนงานส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติ 3) แผนงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่นำร่องการพัฒนา 4) แผนงานวิจัยสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่เครือข่ายการเรียนรู้
4.2 ยุทธศาสตร์การถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมี 3 แผนงาน ดังนี้ 1) แผนงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน 2) แผนงานขยายผลโครงการหลวงสู่ชุมชนบนพื้นที่สูง 3) แผนงานการจัดการองค์ความรู้และการสร้างเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่สูง
4.3 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการมี 3 แผนงาน ดังนี้ 1) แผนงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ 2) แผนงานการพัฒนาระบบการบริหารงาน 3) แผนงานการพัฒนาบุคลากร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2550--จบ--