คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น รอบเดือนกรกฎาคม 2549 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้กระทรวงยุติธรรมผลการดำเนินงานดังกล่าวรายงานให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามนัยมติคณะรัฐมนตรี (1 กุมภาพันธ์ 2548) และเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหน่วยงานต่อไป และเพื่อให้การรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของหน่วยงานระดับกระทรวงเป็นระบบและทันตามกำหนดเวลา และกระทรวงยุติธรรมสามารถ
นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 มอบหมายให้ส่วนราชการส่งแบบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นให้กระทรวงยุติธรรมทราบ ตามระยะเวลาที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดอย่างเคร่งครัด ดังนี้
1. ครั้งนี้ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 มิถุนายน ให้รายงานผลให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 กรกฏาคม ของทุกปี
2. ครั้งที่ 2 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม — 31 ธันวาคม ให้รายงานผลให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 มกราคม ของทุกปี
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้รายงานการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น รอบเดือนกรกฎาคม 2549 จากหน่วยงานในระดับกระทรวง จำนวน 15 กระทรวง และมีหน่วยงานที่ยังไม่ได้รายงานผลการดำเนินงาน จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรายงานของหน่วยงานดังกล่าวมีผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ดังนี้
สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของส่วนราชการ
1. ผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
ข้อ 1 การส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เยาว์วัย และตลอดจนทุกช่วงชีวิตให้แก่เยาวชนและประชาชน
1.1 กำหนดมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมและดำเนินการส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยมีการจัดทำโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ
1.2 มีการจัดทำแผนปฏิบัติการหลัก พ.ศ. 2548-2552 ตามนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว (พ.ศ. 2545-2554)
1.3 มีการจัดทำการบริหารความเสี่ยงภายในหน่วยงานเพื่อสร้างความรู้ในด้านแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
1.4 มีการจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่น
ข้อ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของภาคประชาชนในทุกระดับ
2.1 จัดโครงการปฏิบัติธรรมและปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี
2.2 ออกระเบียบว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญ พ.ศ. 2549
ข้อ 3 การปรับปรุงกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของทางราชการ
3.1 นำระบบ GFMIS มาใช้ในการดำเนินการบริหารงบประมาณ
3.2 การพยากรณ์ผลจากการกระตุ้นทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุน
3.3 มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)
3.4 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างประมูลงานของส่วนราชการตามรูปแบบที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด
ข้อ 4 ให้สร้างกลไกของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความโปร่งใส
4.1 มีการจัดตั้งศูนย์ประสานราชการใสสะอาด เพื่อรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น
4.2 มีการดำเนินการจัดทำรายงานประจำปี เพื่อเผยแพร่ในภาคสาธารณะได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจของประเทศ
4.3 มีการเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์และระบบ Intranet ของหน่วยงาน
4.4 หน่วยงานมีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 โดยเคร่งครัด
ข้อ 5 รัฐต้องสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ
5.1 ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
5.2 ดำเนินการสอบสวน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นพยานผู้ให้ถ้อยคำ ให้เบาะแสการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือหน่วยงานร้องขอ
5.3 เข้าร่วมเครือข่ายภาคราชการและภาคประชาสังคม 84 องค์กร เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องมีคุณธรรม
5.4 มีมาตรการสร้างความแข็งแกร่งแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยกำชับให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
ข้อ 6 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
6.1 สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีการขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ตลอดจนกิจการด้านพลังงานอื่น ๆ อย่างเสรีและเป็นธรรม
6.2 มีการดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการอย่างโปร่งใส ถูกต้อง
6.3 บทบาทของกระทรวงในการทำหน้าที่ดูแลหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยเคร่งครัด และรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 7 รัฐต้องพัฒนาการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งในสาระและกระบวนการ
7.1 เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งแก่ประชาชน โดยจัดทำโครงการอบรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
7.2 สนับสนุนการปกครองระบบประชาธิปไตย โดยรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ
7.3 พัฒนาระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการประชาสังคม โดยส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นขั้นตอนของทุกกิจกรรม
7.4 สร้างช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล และแจ้งเรื่องร้องเรียนทั้งหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นของข้อมูลและร้องเรียนได้ทางสื่อต่าง ๆ
2. ปัญหาอุปสรรค สรุปได้ดังนี้
ข้อ 1 การส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เยาว์วัยและตลอดจนทุกช่วงชีวิตให้แก่เยาวชนและประชาชน
1.1 งบประมาณที่ได้รับในการจัดกิจกรรมของเยาวชนมีจำกัด
1.2 มาตรฐาน เกณฑ์ และตัวชี้วัดกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เป็นมาตรฐานที่ต้องเกิดจากความสมัครใจของหน่วยงานหรือเครือข่ายต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย และยั่งยืนภายในระยะเวลาอันสั้น
1.3 เด็กและเยาวชนยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ไหลบ่าเข้าสู่ชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดค่านิยมเชิงลบ ที่แปลกแยกจากวิถีเดิม
1.4 งบประมาณในการจัดอบรมมีไม่เพียงพอ ไม่สามารถจัดให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทุกคน เข้ารับการอบรมได้
1.5 การส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรมและจริธรรมต้องใช้ระยะเวลา
1.6 ขาดงบประมาณในการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่คุณธรรมและจริยธรรม
ข้อ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของภาคประชาชนในทุกระดับ
2.1 สถานที่จัดประชุมไม่เพียงพอต่อปริมาณของผู้ต้องการเข้าร่วมประชุม
2.2 ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการเป็นบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่
2.3 ประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบถึงช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส
2.4 ประชาชนโดยเฉพาะชุมชนบนพื้นที่สูงยังขาดทักษะและความเข้าใจในการค้นหาปัญหาของชุมชน
2.5 ประชาชนยังไม่กล้าให้ข้อมูลการร้องเรียนเนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว และอาจได้รับความเดือดร้อนจากการร้องเรียน
2.6 การเปลี่ยนผู้บริหาร และนโยบายทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง
ข้อ 3 การปรับปรุงกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของทางราชการ
3.1 กฎ ระเบียบของทางราชการมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้หัวข้อการสัมมนาไม่อาจครอบคลุมถึงกฎระเบียบฉบับใหม่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับการยึดถือปฏิบัติของหน่วยงานในสังกัด
3.2 บางครั้งการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์มีอุปสรรค เช่น ความยากของการประเมินปัจจัยที่มิใช่ตัวเงิน ความร่วมมือในการให้ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องทำให้การวิเคราะห์ล่าช้าหรือผลไม่เที่ยงตรง
3.3 e-Shopping วิธีและระเบียบปฏิบัติยังไม่รัดกุม ทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นกว่าเดิม และระบบปฏิบัติการ COMPUTER จะต้องรองรับระบบ e-Shopping ซึ่งระบบปฏิบัติการที่รองรับจะต้องเป็น OS ทำเป็น WINDOWS Me ขึ้นไป เนื่องจากเป็นระบบใหม่ทำให้การปฏิบัติงานเกิดความสับสนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการจัดซื้อ จัดจ้าง
3.4 แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติตามประกาศฯ ยังไม่ชัดเจน ทำให้ต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณานาน ทำให้การดำเนินการล่าช้าไม่คล่องตัว
3.5 ควรมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้รับทราบในทางเดียวกันอย่างถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบกฎหมายต่าง ๆ วิธีการดำเนินการ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม
3.6 หน่วยงานในสังกัดบางพื้นที่ขาดความพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และห่างไกลการโทรคมนาคม ทำให้ไม่สามารถรู้ข้อมูลข่าวสารในคอมพิวเตอร์ระบบอินเทอร์เน็ต (ข้อมูลข่าวสารด้านการออนไลน์)
3.7 ระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่มีความยืดหยุ่นและขั้นตอนของทางราชการมีความยุ่งยาก ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น ดังนั้น ในบางครั้ง จึงทำให้ได้ของที่ด้อยคุณภาพ หรือไม่สอดคล้องกับราคา
3.8 มีปัญหาในการพิจารณาบุคคลภายนอกเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
3.9 มีการตีกรอบในการจัดซื้อที่แคบเกินไป ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างดำเนินไปอย่างล่าช้า
3.10 การจัดหาพัสดุในรูปแบบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์นำมาใช้กับการจ้างงานที่ต้องการงานทางเทคนิคที่สูง ๆ มักจะได้ผู้รับจ้างที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ว่าจ้าง
ข้อ 4 ให้สร้างกลไกของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความโปร่งใส
4.1 การจัดทำและพัฒนาเว็บไซต์บางหน่วยงาน ขาดบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ และขาดการนำข้อมูลเข้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เว็บไซต์ไม่ทันสมัยและข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน
4.2 การให้ usename และ password แก่บุคคลอื่นใช้งานผู้ที่ได้รับ usename และ password บางคนไม่เข้าใจในการใช้งานอย่างถูกต้อง ทำให้มีการสูญเสียของข้อมูล
4.3 การประกาศ หรือประชาสัมพันธ์ของข้าราชการหรือประชาชน ไม่ได้รับความในใจเท่าที่ควรในการติดตามหรือทำความเข้าใจ เนื่องจากบางกรณีไม่เกี่ยวข้องกับตนหรือเป็นเรื่องไกลตัว
ข้อ 5 รัฐต้องสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ
5.1 รายละเอียดในการกระทำความผิดไม่ชัดเจน ไม่ลงชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือใช้ชื่อที่อยู่ปลอมไม่สามารถติดต่อกลับได้
5.2 การตรวจสอบหลักทรัพย์ และฐานข้อมูลที่ดินในปัจจุบันยังเป็นระบบเอกสาร ทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเก็บข้อมูลในรูปดิจิตอล
5.3 นายจ้าง ลูกจ้างขาดความรู้ความเข้าใจในการรวมตัวกันจัดตั้งสมาคม สหพันธ์สหภาพแรงงาน หรือสภาองค์การ หรือใช้สิทธิเกินขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้
ข้อ 6 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
6.1 ขาดงบประมาณสนับสนุนเป็นค่าตอบแทนสำหรับวิทยากรผู้ช่วยที่ไปทำหน้าที่เผยแพร่ ความรู้แก่ประชาชน การดำเนินการของวิทยากรผู้ช่วยต้องใช้ความเสียสละ ทั้งแรงกายและแรงใจซึ่งอาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าและส่งผลให้โครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ข้อ 7 รัฐต้องพัฒนาการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งในสาระและกระบวนการ
7.1 ประชาชนบางส่วนยังขาดความตระหนัก รับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน
7.2 ประชาชนขาดความรู้ด้านกฎหมายต่าง ๆ
7.3 ผู้ร้องเรียนมักจะไม่มีการระบุชื่อทำให้ไม่สามารถประสานตอบข้อร้องเรียนและให้ข้อมูลได้ทันท่วงที
3. ข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ข้อ 1 การส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เยาว์วัยและตลอดจนทุกช่วงชีวิตให้แก่เยาวชนและประชาชน
1.1 ควรมีการกำหนดมาตรฐานคุณธรรม และจริยธรรมของข้าราชการในภาพรวม (มาตรฐานกลาง) เพื่อเป็นหลักปฏิบัติ
1.2 ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเชิญชวนให้เยาวชนเห็นความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม หรือในรูปแบบของเพื่อนชวนเพื่อน
1.3 ควรมีการจัดอบรมธรรมะให้มากขึ้น
1.4 รัฐบาลควรจะมีการประชาสัมพันธ์เรื่อง การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดให้เป็นบทเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล เป็นต้นมา จนถึงระดับอุดมศึกษา และให้มีการปลูกฝัง กระตุ้นปลูกจิตสำนึกในหน่วยงานทั้งภาคราชการ และเอกชนให้เห็นว่าการทำดีเป็นสิ่งดี การทำไม่ดีเป็นสิ่งเลวร้ายเป็นสิ่งที่น่า รังเกียจ และเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ
1.5 ผลักดันให้เกิดมาตรการด้านคุณธรรมและจริยธรรมในเด็กและเยาวชน เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งรณรงค์และปลูกฝังค่านิยมคุณธรรม จริยธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
1.6 ส่งเสริมการรณรงค์ต่อต้านสิ่งมอมเมาและยาเสพติด รวมทั้งการจัดมหกรรม “เยาวชนไทยไม่ใส่สิ่งมอมเมาและยาเสพติด”
1.7 ควรมีการสร้างกลไก ในการผลักดันการนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติในระดับนโยบายของหน่วยงานภาครัฐก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงความสำคัญของการนำมาตรฐานดังกล่าว ไปใช้เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันให้เครือข่ายนำไปปฏิบัติต่อไป
1.8 ควรจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาเด็ก เยาวชนเพิ่ม เพราะเป็นการส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมสู่สังคม
1.9 มีการพัฒนาบุคลากร ปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ข้อ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชนในทุกระดับ
2.1 ควรได้รับงบประมาณในการจัดสัมมนานอกสถานที่เพื่อระดมความคิดเห็นกรณีมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 100 คน
2.2 มีผู้ประกอบการชาวต่างชาติต้องการเข้าร่วมประชุมมากขึ้น ควรจัดหาบุคลากรที่มีทักษะด้านลูกค้าสัมพันธ์และภาษาอังกฤษ
2.3 ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเป้าหมายเพื่อกระตุ้นในเรื่องช่องทางในการพัฒนาสังคม
2.4 กำหนดมาตรการเสริมสร้างแรงจูงใจ เช่น การคัดเลือกอาสาสมัครดีเด่น เป็นต้น
2.5 จัดรูปแบบการรับฟังข้อคิดเห็นให้เป็นเชิงรุกถึงประชาชนในระดับชุมชน
2.6 ควรจัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน และฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดตั้งทีมงานขึ้นในท้องถิ่นเพื่อเร่งการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
2.7 สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนที่ให้ข้อมูลในการร้องเรียนว่าจะไม่ได้รับความเดือดร้อน หรือความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการร้องเรียน
2.8 มีมาตรการจูงใจแก่ผู้ให้ข้อมูล เช่น การให้รางวัล การยกย่องเชิดชู เป็นต้น
2.9 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ช่องทางในการร้องเรียนการทุจริตเพิ่มขึ้น
ข้อ 3 การปรับปรุงกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของทางราชการ
3.1 เวลาการปรับปรุงแก้ไขหรือร่างกฎระเบียบใหม่ให้ชัดเจนในลักษณะเดียวกัน กับปฏิทินการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งนี้ เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์
3.2 ควรยกเลิกระเบียบในข้อที่ให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3.3 ควรวางมาตรการที่เหมาะสมยืดหยุ่นได้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยให้มีการเทียบราคา หรือขอต่อรองราคาด้วย
3.4 ควรจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างและข้าราชการในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง
ข้อ 4 ให้สร้างกลไกของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความโปร่งใส
4.1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศูนย์บริการร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนรับทราบและมาใช้บริการ
4.2 ควรมีการดำเนินการทุกเรื่องที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
4.3 ควรมีการดำเนินการทุกเรื่องที่มีมูลทางวินัย ทางแพ่ง และทางอาญาแก่ผู้ทุจริต โดยรวดเร็ว ใช้ระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นเกิดความเกรงกลัว ไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง
4.4 ควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีดำเนินการจัดทำและพัฒนาเว็บไซต์
4.5 ควรให้หน่วยงานเจ้าภาพหลักร่วมกันบูรณาการเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการรายงานและให้สอดคล้องกับนโยบายการทำงานแบบบูรณาการของรัฐบาล
ข้อ 5 รัฐต้องสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ
5.1 ผู้ใช้บริการต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ หรืออีเมล์ แอดเดรสที่เป็นความจริง เพื่อติดต่อกลับ ขอข้อมูลเพิ่มเติมและแจ้งผลการดำเนินการ
5.2 การให้ความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระฯ ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว จำเป็นต้องมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และต้องมีการตั้งงบประมาณเพื่อรักษาสภาพของเครื่องมือให้มีความทันสมัยและใช้การได้ตลอดเวลา
5.3 คณะรัฐมนตรีควรเร่งพิจารณาเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการน้ำ ต่อสภาผู้แทน (กระทรวงมหาดไทย)
5.4 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยให้การสนับสนุนทางวิชาการ เอกสาร คู่มือต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งชมรมสุขภาพต่าง ๆ ให้แก่องค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ โดยภาครัฐควรให้การสนับสนุนในระยะแรกก่อน
ข้อ 6 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
ควรมีการให้ความรู้กับประชาชนด้านการเมือง การปกครอง อย่างต่อเนื่องโดยเริ่มในสถานศึกษา และควรมีการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้กับประชาชนในทุกโอกาสที่มี เช่น การประชุมสำนักงานเขตต่าง ๆ
ข้อ 7 รัฐต้องพัฒนาการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งในสาระและกระบวนการ
7.1 ควรให้มีงบประมาณเพื่อให้หน่วยที่จัดกำลังพลเข้ารับการอบรม ได้นำความรู้ไปขยายผลในพื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับหน่วยทหารต่อไป
7.2 จัดฝึกอบรมให้ความรู้กฎหมายรัฐธรรมนูญและใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--
นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 มอบหมายให้ส่วนราชการส่งแบบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นให้กระทรวงยุติธรรมทราบ ตามระยะเวลาที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดอย่างเคร่งครัด ดังนี้
1. ครั้งนี้ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 มิถุนายน ให้รายงานผลให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 กรกฏาคม ของทุกปี
2. ครั้งที่ 2 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม — 31 ธันวาคม ให้รายงานผลให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 15 มกราคม ของทุกปี
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้รายงานการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น รอบเดือนกรกฎาคม 2549 จากหน่วยงานในระดับกระทรวง จำนวน 15 กระทรวง และมีหน่วยงานที่ยังไม่ได้รายงานผลการดำเนินงาน จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรายงานของหน่วยงานดังกล่าวมีผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ดังนี้
สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของส่วนราชการ
1. ผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
ข้อ 1 การส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เยาว์วัย และตลอดจนทุกช่วงชีวิตให้แก่เยาวชนและประชาชน
1.1 กำหนดมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมและดำเนินการส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยมีการจัดทำโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ
1.2 มีการจัดทำแผนปฏิบัติการหลัก พ.ศ. 2548-2552 ตามนโยบายเยาวชนแห่งชาติและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนระยะยาว (พ.ศ. 2545-2554)
1.3 มีการจัดทำการบริหารความเสี่ยงภายในหน่วยงานเพื่อสร้างความรู้ในด้านแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
1.4 มีการจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่น
ข้อ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของภาคประชาชนในทุกระดับ
2.1 จัดโครงการปฏิบัติธรรมและปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี
2.2 ออกระเบียบว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญ พ.ศ. 2549
ข้อ 3 การปรับปรุงกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของทางราชการ
3.1 นำระบบ GFMIS มาใช้ในการดำเนินการบริหารงบประมาณ
3.2 การพยากรณ์ผลจากการกระตุ้นทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจลงทุน
3.3 มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction)
3.4 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างประมูลงานของส่วนราชการตามรูปแบบที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด
ข้อ 4 ให้สร้างกลไกของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความโปร่งใส
4.1 มีการจัดตั้งศูนย์ประสานราชการใสสะอาด เพื่อรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น
4.2 มีการดำเนินการจัดทำรายงานประจำปี เพื่อเผยแพร่ในภาคสาธารณะได้รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจของประเทศ
4.3 มีการเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์และระบบ Intranet ของหน่วยงาน
4.4 หน่วยงานมีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 โดยเคร่งครัด
ข้อ 5 รัฐต้องสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ
5.1 ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
5.2 ดำเนินการสอบสวน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นพยานผู้ให้ถ้อยคำ ให้เบาะแสการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือหน่วยงานร้องขอ
5.3 เข้าร่วมเครือข่ายภาคราชการและภาคประชาสังคม 84 องค์กร เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องมีคุณธรรม
5.4 มีมาตรการสร้างความแข็งแกร่งแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยกำชับให้ส่วนราชการต่าง ๆ ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
ข้อ 6 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
6.1 สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีการขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ตลอดจนกิจการด้านพลังงานอื่น ๆ อย่างเสรีและเป็นธรรม
6.2 มีการดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการอย่างโปร่งใส ถูกต้อง
6.3 บทบาทของกระทรวงในการทำหน้าที่ดูแลหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยเคร่งครัด และรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 7 รัฐต้องพัฒนาการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งในสาระและกระบวนการ
7.1 เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งแก่ประชาชน โดยจัดทำโครงการอบรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
7.2 สนับสนุนการปกครองระบบประชาธิปไตย โดยรณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ
7.3 พัฒนาระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการประชาสังคม โดยส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นขั้นตอนของทุกกิจกรรม
7.4 สร้างช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล และแจ้งเรื่องร้องเรียนทั้งหน่วยงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นของข้อมูลและร้องเรียนได้ทางสื่อต่าง ๆ
2. ปัญหาอุปสรรค สรุปได้ดังนี้
ข้อ 1 การส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เยาว์วัยและตลอดจนทุกช่วงชีวิตให้แก่เยาวชนและประชาชน
1.1 งบประมาณที่ได้รับในการจัดกิจกรรมของเยาวชนมีจำกัด
1.2 มาตรฐาน เกณฑ์ และตัวชี้วัดกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เป็นมาตรฐานที่ต้องเกิดจากความสมัครใจของหน่วยงานหรือเครือข่ายต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย และยั่งยืนภายในระยะเวลาอันสั้น
1.3 เด็กและเยาวชนยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ไหลบ่าเข้าสู่ชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดค่านิยมเชิงลบ ที่แปลกแยกจากวิถีเดิม
1.4 งบประมาณในการจัดอบรมมีไม่เพียงพอ ไม่สามารถจัดให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทุกคน เข้ารับการอบรมได้
1.5 การส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรมและจริธรรมต้องใช้ระยะเวลา
1.6 ขาดงบประมาณในการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่คุณธรรมและจริยธรรม
ข้อ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของภาคประชาชนในทุกระดับ
2.1 สถานที่จัดประชุมไม่เพียงพอต่อปริมาณของผู้ต้องการเข้าร่วมประชุม
2.2 ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการเป็นบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่
2.3 ประชาชนบางส่วนยังไม่ทราบถึงช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส
2.4 ประชาชนโดยเฉพาะชุมชนบนพื้นที่สูงยังขาดทักษะและความเข้าใจในการค้นหาปัญหาของชุมชน
2.5 ประชาชนยังไม่กล้าให้ข้อมูลการร้องเรียนเนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว และอาจได้รับความเดือดร้อนจากการร้องเรียน
2.6 การเปลี่ยนผู้บริหาร และนโยบายทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง
ข้อ 3 การปรับปรุงกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของทางราชการ
3.1 กฎ ระเบียบของทางราชการมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้หัวข้อการสัมมนาไม่อาจครอบคลุมถึงกฎระเบียบฉบับใหม่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับการยึดถือปฏิบัติของหน่วยงานในสังกัด
3.2 บางครั้งการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์มีอุปสรรค เช่น ความยากของการประเมินปัจจัยที่มิใช่ตัวเงิน ความร่วมมือในการให้ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องทำให้การวิเคราะห์ล่าช้าหรือผลไม่เที่ยงตรง
3.3 e-Shopping วิธีและระเบียบปฏิบัติยังไม่รัดกุม ทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นกว่าเดิม และระบบปฏิบัติการ COMPUTER จะต้องรองรับระบบ e-Shopping ซึ่งระบบปฏิบัติการที่รองรับจะต้องเป็น OS ทำเป็น WINDOWS Me ขึ้นไป เนื่องจากเป็นระบบใหม่ทำให้การปฏิบัติงานเกิดความสับสนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการจัดซื้อ จัดจ้าง
3.4 แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติตามประกาศฯ ยังไม่ชัดเจน ทำให้ต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณานาน ทำให้การดำเนินการล่าช้าไม่คล่องตัว
3.5 ควรมีการจัดอบรมผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้รับทราบในทางเดียวกันอย่างถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบกฎหมายต่าง ๆ วิธีการดำเนินการ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม
3.6 หน่วยงานในสังกัดบางพื้นที่ขาดความพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และห่างไกลการโทรคมนาคม ทำให้ไม่สามารถรู้ข้อมูลข่าวสารในคอมพิวเตอร์ระบบอินเทอร์เน็ต (ข้อมูลข่าวสารด้านการออนไลน์)
3.7 ระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่มีความยืดหยุ่นและขั้นตอนของทางราชการมีความยุ่งยาก ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น ดังนั้น ในบางครั้ง จึงทำให้ได้ของที่ด้อยคุณภาพ หรือไม่สอดคล้องกับราคา
3.8 มีปัญหาในการพิจารณาบุคคลภายนอกเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
3.9 มีการตีกรอบในการจัดซื้อที่แคบเกินไป ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างดำเนินไปอย่างล่าช้า
3.10 การจัดหาพัสดุในรูปแบบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์นำมาใช้กับการจ้างงานที่ต้องการงานทางเทคนิคที่สูง ๆ มักจะได้ผู้รับจ้างที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ว่าจ้าง
ข้อ 4 ให้สร้างกลไกของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความโปร่งใส
4.1 การจัดทำและพัฒนาเว็บไซต์บางหน่วยงาน ขาดบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ และขาดการนำข้อมูลเข้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เว็บไซต์ไม่ทันสมัยและข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน
4.2 การให้ usename และ password แก่บุคคลอื่นใช้งานผู้ที่ได้รับ usename และ password บางคนไม่เข้าใจในการใช้งานอย่างถูกต้อง ทำให้มีการสูญเสียของข้อมูล
4.3 การประกาศ หรือประชาสัมพันธ์ของข้าราชการหรือประชาชน ไม่ได้รับความในใจเท่าที่ควรในการติดตามหรือทำความเข้าใจ เนื่องจากบางกรณีไม่เกี่ยวข้องกับตนหรือเป็นเรื่องไกลตัว
ข้อ 5 รัฐต้องสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ
5.1 รายละเอียดในการกระทำความผิดไม่ชัดเจน ไม่ลงชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือใช้ชื่อที่อยู่ปลอมไม่สามารถติดต่อกลับได้
5.2 การตรวจสอบหลักทรัพย์ และฐานข้อมูลที่ดินในปัจจุบันยังเป็นระบบเอกสาร ทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเก็บข้อมูลในรูปดิจิตอล
5.3 นายจ้าง ลูกจ้างขาดความรู้ความเข้าใจในการรวมตัวกันจัดตั้งสมาคม สหพันธ์สหภาพแรงงาน หรือสภาองค์การ หรือใช้สิทธิเกินขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้
ข้อ 6 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
6.1 ขาดงบประมาณสนับสนุนเป็นค่าตอบแทนสำหรับวิทยากรผู้ช่วยที่ไปทำหน้าที่เผยแพร่ ความรู้แก่ประชาชน การดำเนินการของวิทยากรผู้ช่วยต้องใช้ความเสียสละ ทั้งแรงกายและแรงใจซึ่งอาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าและส่งผลให้โครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ข้อ 7 รัฐต้องพัฒนาการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งในสาระและกระบวนการ
7.1 ประชาชนบางส่วนยังขาดความตระหนัก รับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน
7.2 ประชาชนขาดความรู้ด้านกฎหมายต่าง ๆ
7.3 ผู้ร้องเรียนมักจะไม่มีการระบุชื่อทำให้ไม่สามารถประสานตอบข้อร้องเรียนและให้ข้อมูลได้ทันท่วงที
3. ข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ข้อ 1 การส่งเสริมให้มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่เยาว์วัยและตลอดจนทุกช่วงชีวิตให้แก่เยาวชนและประชาชน
1.1 ควรมีการกำหนดมาตรฐานคุณธรรม และจริยธรรมของข้าราชการในภาพรวม (มาตรฐานกลาง) เพื่อเป็นหลักปฏิบัติ
1.2 ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเชิญชวนให้เยาวชนเห็นความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม หรือในรูปแบบของเพื่อนชวนเพื่อน
1.3 ควรมีการจัดอบรมธรรมะให้มากขึ้น
1.4 รัฐบาลควรจะมีการประชาสัมพันธ์เรื่อง การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดให้เป็นบทเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล เป็นต้นมา จนถึงระดับอุดมศึกษา และให้มีการปลูกฝัง กระตุ้นปลูกจิตสำนึกในหน่วยงานทั้งภาคราชการ และเอกชนให้เห็นว่าการทำดีเป็นสิ่งดี การทำไม่ดีเป็นสิ่งเลวร้ายเป็นสิ่งที่น่า รังเกียจ และเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ
1.5 ผลักดันให้เกิดมาตรการด้านคุณธรรมและจริยธรรมในเด็กและเยาวชน เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งรณรงค์และปลูกฝังค่านิยมคุณธรรม จริยธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
1.6 ส่งเสริมการรณรงค์ต่อต้านสิ่งมอมเมาและยาเสพติด รวมทั้งการจัดมหกรรม “เยาวชนไทยไม่ใส่สิ่งมอมเมาและยาเสพติด”
1.7 ควรมีการสร้างกลไก ในการผลักดันการนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติในระดับนโยบายของหน่วยงานภาครัฐก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงความสำคัญของการนำมาตรฐานดังกล่าว ไปใช้เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันให้เครือข่ายนำไปปฏิบัติต่อไป
1.8 ควรจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาเด็ก เยาวชนเพิ่ม เพราะเป็นการส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมสู่สังคม
1.9 มีการพัฒนาบุคลากร ปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ข้อ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของประชาชนในทุกระดับ
2.1 ควรได้รับงบประมาณในการจัดสัมมนานอกสถานที่เพื่อระดมความคิดเห็นกรณีมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่า 100 คน
2.2 มีผู้ประกอบการชาวต่างชาติต้องการเข้าร่วมประชุมมากขึ้น ควรจัดหาบุคลากรที่มีทักษะด้านลูกค้าสัมพันธ์และภาษาอังกฤษ
2.3 ควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มเป้าหมายเพื่อกระตุ้นในเรื่องช่องทางในการพัฒนาสังคม
2.4 กำหนดมาตรการเสริมสร้างแรงจูงใจ เช่น การคัดเลือกอาสาสมัครดีเด่น เป็นต้น
2.5 จัดรูปแบบการรับฟังข้อคิดเห็นให้เป็นเชิงรุกถึงประชาชนในระดับชุมชน
2.6 ควรจัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน และฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดตั้งทีมงานขึ้นในท้องถิ่นเพื่อเร่งการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
2.7 สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนที่ให้ข้อมูลในการร้องเรียนว่าจะไม่ได้รับความเดือดร้อน หรือความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการร้องเรียน
2.8 มีมาตรการจูงใจแก่ผู้ให้ข้อมูล เช่น การให้รางวัล การยกย่องเชิดชู เป็นต้น
2.9 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ช่องทางในการร้องเรียนการทุจริตเพิ่มขึ้น
ข้อ 3 การปรับปรุงกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของทางราชการ
3.1 เวลาการปรับปรุงแก้ไขหรือร่างกฎระเบียบใหม่ให้ชัดเจนในลักษณะเดียวกัน กับปฏิทินการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งนี้ เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์
3.2 ควรยกเลิกระเบียบในข้อที่ให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3.3 ควรวางมาตรการที่เหมาะสมยืดหยุ่นได้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยให้มีการเทียบราคา หรือขอต่อรองราคาด้วย
3.4 ควรจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างและข้าราชการในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง
ข้อ 4 ให้สร้างกลไกของข้อมูลข่าวสารให้เกิดความโปร่งใส
4.1 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศูนย์บริการร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านสื่อแขนงต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนรับทราบและมาใช้บริการ
4.2 ควรมีการดำเนินการทุกเรื่องที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
4.3 ควรมีการดำเนินการทุกเรื่องที่มีมูลทางวินัย ทางแพ่ง และทางอาญาแก่ผู้ทุจริต โดยรวดเร็ว ใช้ระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นเกิดความเกรงกลัว ไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง
4.4 ควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีดำเนินการจัดทำและพัฒนาเว็บไซต์
4.5 ควรให้หน่วยงานเจ้าภาพหลักร่วมกันบูรณาการเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการรายงานและให้สอดคล้องกับนโยบายการทำงานแบบบูรณาการของรัฐบาล
ข้อ 5 รัฐต้องสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ
5.1 ผู้ใช้บริการต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ หรืออีเมล์ แอดเดรสที่เป็นความจริง เพื่อติดต่อกลับ ขอข้อมูลเพิ่มเติมและแจ้งผลการดำเนินการ
5.2 การให้ความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระฯ ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว จำเป็นต้องมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และต้องมีการตั้งงบประมาณเพื่อรักษาสภาพของเครื่องมือให้มีความทันสมัยและใช้การได้ตลอดเวลา
5.3 คณะรัฐมนตรีควรเร่งพิจารณาเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการน้ำ ต่อสภาผู้แทน (กระทรวงมหาดไทย)
5.4 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยให้การสนับสนุนทางวิชาการ เอกสาร คู่มือต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งชมรมสุขภาพต่าง ๆ ให้แก่องค์กรภาคประชาชนและองค์กรอิสระ โดยภาครัฐควรให้การสนับสนุนในระยะแรกก่อน
ข้อ 6 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
ควรมีการให้ความรู้กับประชาชนด้านการเมือง การปกครอง อย่างต่อเนื่องโดยเริ่มในสถานศึกษา และควรมีการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้กับประชาชนในทุกโอกาสที่มี เช่น การประชุมสำนักงานเขตต่าง ๆ
ข้อ 7 รัฐต้องพัฒนาการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งในสาระและกระบวนการ
7.1 ควรให้มีงบประมาณเพื่อให้หน่วยที่จัดกำลังพลเข้ารับการอบรม ได้นำความรู้ไปขยายผลในพื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับหน่วยทหารต่อไป
7.2 จัดฝึกอบรมให้ความรู้กฎหมายรัฐธรรมนูญและใช้สิทธิในระบอบประชาธิปไตย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 มกราคม 2550--จบ--