แผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและแผนปฏิบัติการเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 17, 2010 15:40 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาให้การรับรองเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุม International Forum on Tiger Conservation ระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน 2553 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย ตามความเหมาะสม

2. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่งของประเทศไทย

3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงบประมาณ สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าว

ทั้งนี้ งบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า

1. การประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศเอเชียด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ครั้งที่ 1 ในเดือนมกราคม 2553 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ประชุมมีมติเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานก่อนการประชุม International Forum on Tiger Conservation ในระดับผู้นำประเทศและรัฐมนตรี ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย ในวันที่ 21-24 พฤศจิกายน 2553 โดยกำหนดให้มีการประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดเสือโลก (Pre-Tiger Summit Partner Dialogue Meeting) ที่เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2553 เพื่อให้ผู้แทนของประเทศที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง 13 ประเทศ ร่วมวางแผนโครงร่างของแผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลก (Global Tiger Recovery Program : GTRP) และนำเสนอแผนแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง (NTRP) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ GTRP

2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่างแผนแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในประเทศไทยขึ้น และได้จัดการประชุมโดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมาร่วมพิจารณาให้ความเห็นชอบในแผนแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของประเทศไทย ในวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2553 และได้ส่งแผนนี้ให้ Global Tiger Initiative (GTI) นำไปรวบรวมจัดทำแผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลก โดยมีการจัดทำ Tele Video Conference ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของ GTI และผู้แทนของประเทศที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง 2 ครั้ง ในวันที่ 6 ตุลาคม 2553 และวันที่ 15 ตุลาคม 2553 ครั้งสุดท้ายได้จัดให้มีการประชุมเพื่อตรวจสอบแผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลก ที่เมืองเดลลี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม 2553

3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำข้อมูลจากแผนแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งมาจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์เสือโคร่งในประเทศไทย ซึ่งจะได้นำแผนนี้ไป เผยแพร่ในการประชุมที่สหพันธรัฐรัสเซีย และสถานทูตรัสเซียประจำประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ 195 n ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2553 และ 265 n ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2553 แจ้งเรื่องการประชุม International Forum on Tiger Conservation ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเชิญนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมโดยในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 เป็นการประชุมระดับผู้นำประเทศ

4. แผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลกและแผนแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของประเทศไทย เป็นเอกสารวิชาการที่ประกอบด้วยยุทธศาสตร์และนโยบายในการอนุรักษ์เสือโคร่งของโลกและของประเทศไทย โดยที่เอกสาร ดังกล่าวมีวาระที่จะต้องรับรองในการประชุม International Forum on Tiger Conservation ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งเป็นการประชุมระดับผู้นำประเทศและรัฐมนตรี และแผนปฏิบัติการเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง ที่นำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการอนุรักษ์เสือโคร่ง เอกสารนี้จะถูกนำไปเผยแพร่ในการประชุมดังกล่าว จึงเห็นว่าควรนำเอกสาร ดังกล่าวทั้ง 3 ฉบับ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนให้การรับรองในการประชุม International Forum on Tiger Conservation ระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน 2553 ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สรุปสาระสำคัญของเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมดังกล่าว ดังนี้

1. สรุปแผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลก เป็นการสรุปกิจกรรมและนโยบายของประเทศที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง 13 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย จีน อินเดีย เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย

วัตถุประสงค์ของแผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลกที่จะมุ่งเน้นในการลดความสูญเสียเสือโคร่งในธรรมชาติ และเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติให้เป็น 2 เท่า ใน 12 ปีข้างหน้า แต่สำหรับเป้าหมายของประเทศไทยนี้เป็นการเพิ่มจำนวนเสือโคร่งอีกร้อยละ 50 จากจำนวนประชากรเสือโคร่งในปัจจุบัน 250 ตัว ให้เป็น 375 ตัว

องค์ประกอบของแผนที่ฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของโลกประกอบด้วยแผนแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของประเทศที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง 13 ประเทศ และแผนของประเทศไทย มีแผนการดำเนินงานที่ประกอบด้วย

49 พัฒนานโยบายในการส่งเสริมขวัญกำลังใจ ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานในพื้นที่คุ้มครองและเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

50 กระตุ้นให้ผู้มีอำนาจในการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

51 จัดตั้งศูนย์วิจัยและติดตามประชากรเสือโคร่งในกลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

  • จัดตั้งศูนย์ติดตามการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายบริเวณด่านชายแดน ในแผนนี้ได้ระบุมาตรการในการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง

2. แผนแห่งชาติเพื่อพื้นฟูประชากรเสือโคร่งของประเทศไทย (NTRP)

เป้าหมาย 12 ปี : เพิ่มประชากรเสือโคร่งของประเทศไทยโดยการเพิ่มจำนวนเสือโคร่งในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ให้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 50 และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง ประกอบด้วยกิจกรรมหลักที่สำคัญ 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมหลักที่ 1: เสริมสร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์และการบังคับใช้กฎหมาย กิจกรรมหลักที่ 2: สร้างเสริมศักยภาพตามแบบจำลองที่ประสบผลสำเร็จ กิจกรรมหลักที่ 3: เสริมสร้างความเข้มแข็งในมาตรฐานการติดตามตรวจวัด การวิจัยและ การบริหารจัดการข้อมูล กิจกรรมหลักที่ 4: ส่งเสริมการศึกษา การสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของประชาชน กิจกรรมหลักที่ 5: ยุทธศาสตร์การเงินเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนในระยะเวลา 5 ปี โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด 97.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นทุนจากภาครัฐ จำนวน 53.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากแหล่งทุนภายนอก จำนวน 44.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ทุนจากรัฐบาลเป็นงบประมาณปกติที่ ทส. ได้รับประจำปี

3. แผนปฏิบัติการเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง เป็นแผนงาน 12 ปี ประกอบด้วยกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง โดยพัฒนามาจากแผนแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง โดยมีเป้าหมายเหมือนกัน ในการเพิ่มประชากรเสือโคร่งของประเทศไทยมากขึ้นร้อยละ 50 โดยมีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการในกลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีศักยภาพ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม ได้แก่ 1. เสริมสร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์และการบังคับใช้กฎหมาย 2. เสริมสร้างศักยภาพตามแบบจำลองที่ประสบความสำเร็จ 3. เสริมสร้างความเข้มแข็งในมาตรฐานการติดตามตรวจวัด การวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล 4. ส่งเสริมการศึกษา การสร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมของประชาชน 5. กลยุทธ์ทางการเงินเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่ง

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 พฤศจิกายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ