คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้กระทรวงการต่างประเทศลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับยูเครนว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา ในโอกาสอันเหมาะสมตามที่จะตกลงกับฝ่ายยูเครนต่อไป กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. ในการเจรจาจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาระหว่างไทยกับยูเครน ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาจัดทำสนธิสัญญาฯ แล้วเสร็จภายในรอบเดียว โดยใช้ร่างสนธิสัญญาฯ ของฝ่ายไทยเป็นพื้นฐานการเจรจา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.1 รัฐคู่สัญญาของสนธิสัญญาฯ ตกลงที่จะใช้มาตรการที่กว้างขวางที่สุดเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องทางอาญา ไม่ว่าหน่วยงานที่ได้รับการร้องขอหรือที่จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายนั้น จะเป็นศาลหรือหน่วยงานอื่นใดที่มีอำนาจ
1.2 สนธิสัญญานี้จะไม่ใช้บังคับกับการจับกุมหรือการกักขังบุคคลใดเพื่อส่งบุคคลนั้นเป็นผู้ร้ายข้ามแดนหรือกับความผิดทางทหาร
1.3 รัฐผู้รับคำร้องขออาจปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือได้ใน 2 กรณี ดังนี้
1) ในกรณีที่มีผลกระทบต่ออธิปไตย ความมั่นคง หรือผลประโยชน์สาธารณะที่สำคัญยิ่งอื่น ๆ ของรัฐผู้รับคำร้องขอหรือความปลอดภัยของบุคคลใด
2) คำร้องขอนั้นเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางการเมือง
1.4 รัฐผู้รับคำร้องขออาจเลื่อนการให้ความช่วยเหลือ ถ้าการปฏิบัติตามคำร้องขอจะเป็นการแทรกแซงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี หรือกระบวนการทางอาญา ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในรัฐผู้รับคำร้องขอ
1.5 คำร้องขอความช่วยเหลือตามสนธิสัญญานี้จะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของแต่ละฝ่าย สำหรับประเทศไทยได้แก่อัยการสูงสุดหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด และสำหรับประเทศยูเครนได้แก่กระทรวงยุติธรรม (เกี่ยวกับคำร้องขอที่จัดทำโดยศาล) และสำนักงานอัยการสูงสุด (เกี่ยวกับคำร้องขอที่จัดทำโดยหน่วยงานการสืบสวนสอบสวนก่อนการพิจารณาคดี) หากจำเป็น เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางหน่วยงานหนึ่งจะต้องจัดส่งคำร้องขอของเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของไทยไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของยูเครนอีกหน่วยงานหนึ่ง
เพื่อดำเนินการ ในกรณีนี้ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของไทยถึงการจัดส่งดังกล่าว
1.6 รัฐผู้รับคำร้องขอจะไม่ปฏิเสธการปฏิบัติตามคำร้องขอโดยยกเหตุเรื่องความลับทางธนาคาร
1.7 สนธิสัญญานี้จะใช้กับคำร้องขอที่มีขึ้นหลังสนธิสัญญามีผลใช้บังคับ ถึงแม้ว่าการกระทำหรือการงดเว้นกระทำจะเกิดขึ้นก่อนวันนั้น
1.8 สนธิสัญญานี้จะต้องได้รับการให้สัตยาบัน และจะมีผลใช้บังคับในวันที่สามสิบหลังจากวันที่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร
1.9 รัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสนธิสัญญานี้เมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้รัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบ การบอกเลิกจะมีผลหกเดือนหลังจากวันที่แจ้งนั้น
2. ในส่วนของประเทศไทย สนธิสัญญานี้มีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายรองรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--
1. ในการเจรจาจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาระหว่างไทยกับยูเครน ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาจัดทำสนธิสัญญาฯ แล้วเสร็จภายในรอบเดียว โดยใช้ร่างสนธิสัญญาฯ ของฝ่ายไทยเป็นพื้นฐานการเจรจา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.1 รัฐคู่สัญญาของสนธิสัญญาฯ ตกลงที่จะใช้มาตรการที่กว้างขวางที่สุดเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องทางอาญา ไม่ว่าหน่วยงานที่ได้รับการร้องขอหรือที่จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายนั้น จะเป็นศาลหรือหน่วยงานอื่นใดที่มีอำนาจ
1.2 สนธิสัญญานี้จะไม่ใช้บังคับกับการจับกุมหรือการกักขังบุคคลใดเพื่อส่งบุคคลนั้นเป็นผู้ร้ายข้ามแดนหรือกับความผิดทางทหาร
1.3 รัฐผู้รับคำร้องขออาจปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือได้ใน 2 กรณี ดังนี้
1) ในกรณีที่มีผลกระทบต่ออธิปไตย ความมั่นคง หรือผลประโยชน์สาธารณะที่สำคัญยิ่งอื่น ๆ ของรัฐผู้รับคำร้องขอหรือความปลอดภัยของบุคคลใด
2) คำร้องขอนั้นเกี่ยวเนื่องกับความผิดทางการเมือง
1.4 รัฐผู้รับคำร้องขออาจเลื่อนการให้ความช่วยเหลือ ถ้าการปฏิบัติตามคำร้องขอจะเป็นการแทรกแซงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี หรือกระบวนการทางอาญา ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในรัฐผู้รับคำร้องขอ
1.5 คำร้องขอความช่วยเหลือตามสนธิสัญญานี้จะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของแต่ละฝ่าย สำหรับประเทศไทยได้แก่อัยการสูงสุดหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด และสำหรับประเทศยูเครนได้แก่กระทรวงยุติธรรม (เกี่ยวกับคำร้องขอที่จัดทำโดยศาล) และสำนักงานอัยการสูงสุด (เกี่ยวกับคำร้องขอที่จัดทำโดยหน่วยงานการสืบสวนสอบสวนก่อนการพิจารณาคดี) หากจำเป็น เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางหน่วยงานหนึ่งจะต้องจัดส่งคำร้องขอของเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของไทยไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของยูเครนอีกหน่วยงานหนึ่ง
เพื่อดำเนินการ ในกรณีนี้ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกลางของไทยถึงการจัดส่งดังกล่าว
1.6 รัฐผู้รับคำร้องขอจะไม่ปฏิเสธการปฏิบัติตามคำร้องขอโดยยกเหตุเรื่องความลับทางธนาคาร
1.7 สนธิสัญญานี้จะใช้กับคำร้องขอที่มีขึ้นหลังสนธิสัญญามีผลใช้บังคับ ถึงแม้ว่าการกระทำหรือการงดเว้นกระทำจะเกิดขึ้นก่อนวันนั้น
1.8 สนธิสัญญานี้จะต้องได้รับการให้สัตยาบัน และจะมีผลใช้บังคับในวันที่สามสิบหลังจากวันที่มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร
1.9 รัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสนธิสัญญานี้เมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้รัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบ การบอกเลิกจะมีผลหกเดือนหลังจากวันที่แจ้งนั้น
2. ในส่วนของประเทศไทย สนธิสัญญานี้มีพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายรองรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--