คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ปี 2550 ณ วันที่ 18 มีนาคม 2550 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับผลกระทบ และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร รวมทั้งเหตุการณ์ปลาในกระชังในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ.ป่าโมกข์ จ.อ่างทอง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2550 สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ ทั้งหมด 52,020 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (48,145 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,875 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 10,182 และ 6,852 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 76 และ 72 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 17,034 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ มีทั้งหมด 2 อ่างฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และอ่างเก็บน้ำเขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 36 และ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 30 และ 32 ของความจุอ่างฯตามลำดับ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวเพียงพอสำหรับในช่วงฤดูแล้งนี้ และไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำยม สภาพน้ำท่า อยู่ในเกณฑ์น้อย และแม่น้ำมูล สภาพน้ำนอนคลอง
3. คุณภาพน้ำ
สภาพความเค็มในแม่น้ำสายหลัก ณ จุดเฝ้าระวังของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำนครนายก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ณ วันที่ 12 มีนาคม 2550 (เกณฑ์ค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2.0 กรัม/ลิตร)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 — 30 เมษายน 2550)
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 19 มีนาคม 2550 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ จำนวน 12.83 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 10.52 ล้านไร่ มากกว่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 6 (ในเขตชลประทาน 7.68 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.84 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก จำนวน 2.31 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 81 ของเป้าหมาย (ในเขตชลประทาน 0.63 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 1.68 ล้านไร่)
พื้นที่การเกษตรประสบภัยแล้ง ณ วันที่ 16 มีนาคม 2550
พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 18 จังหวัด เป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด แบ่งเป็น
ด้านพืช ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ถึง 6 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก พิจิตร แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ หนองคาย และหนองบัวลำภู เกษตรกร 14,465 ราย พื้นที่ประสบภัย 149,195 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 114,949 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 33,028 ไร่ พืชไร่ 70,027 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 11,894 ไร่
พื้นที่การเกษตรเสียหายแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก และลำปาง จำนวน 21,172 ไร่ อยู่ระหว่างขอใช้เงินทดรองราชการจังหวัด
ด้านปศุสัตว์ ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2549 ถึง 13 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ 8 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ลำพูน น่าน หนองบัวลำภู เพชรบูรณ์และเพชรบุรี เกษตรกร 6,512 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 93,373 ตัว แยกเป็น โค-กระบือ 40,951 ตัว สุกร-แพะ 11,291 ตัว และสัตว์ปีก 41,131 ตัว
ด้านประมง ยังไม่มีรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง กำหนดแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (31 อ่าง ฯ) ในช่วงฤดูแล้งปี 2549/2550 (1 พ.ย. 2549 ถึง 30 เม.ย. 2550) จำนวน 19,266 ล้านลูกบาศก์เมตร ณ วันที่ 18 มีนาคม 2550 ได้ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้ว 13,722 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยในเขตชลประทาน เกษตรกรได้ปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 1 แล้ว 7.41 ล้านไร่ (95% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว 0.22 ล้านไร่ และปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 แล้ว 0.03 ล้านไร่ สำหรับพืชไร่-พืชผัก ปลูกแล้ว 0.62 ล้านไร่ (72% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวพืชไร่-พืชผักแล้ว 0.03 ล้านไร่
2. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
- เครื่องสูบน้ำ จำนวน 790 เครื่อง ในพื้นที่ 67 จังหวัด (เพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 744 เครื่อง และเพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 46 เครื่อง)
- รถยนต์บรรทุกน้ำ ขนส่งน้ำไปช่วยเหลือแล้ว 3,226 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 19.36 ล้านลิตร
3. การปฏิบัติการฝนหลวง
- จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 8 หน่วย และ 2 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา ระยอง อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี และสระแก้ว
- ผลการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์-15 มีนาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 251 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่ 28 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยนาท สุพรรณบุรี นครสวรรค์ กรุงเทพฯ อุทัยธานี ลพบุรี กาญจนบุรี อยุธยา ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรีเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ตรัง กระบี่ สตูล ชุมพรและนราธิวาส
4. การสนับสนุนเสบียงสัตว์ สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 130,630 กิโลกรัม แร่ธาตุ 126 ก้อน และดูแลสุขภาพสัตว์ 4,330 ตัว
สถานการณ์น้ำเน่าเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อ.ป่าโมก จ.อ่างทองบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตายเป็นจำนวนมากตั้งแต่เวลา 17.00 น. ของวันที่ 11 มีนาคม 2550 นั้น
กรมประมงรายงานความเสียหาย 11- 14 มีนาคม 2550 พื้นที่ประสบภัย 2 จังหวัด 6 อำเภอได้แก่ จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก) และ จ.อยุธยา (อ.บางบาล อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางไทร และ อ.บางปะอิน) เกษตรกรได้รับความเสียหาย 231 ราย พื้นที่ประสบภัย 1,257 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 24,222 ตรม.มูลค่าความเสียหาย 47.84 ล้านบาท
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1. กรมชลประทาน ยังคงระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระรามหก รวมกัน 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำน้อยบริเวณ อ.บางไทร ลงมาเสริมอีกจำนวน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะเจือจางน้ำเน่าเสียที่จะไหลลงสู่จังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ ได้เปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ด้วยปริมาณน้ำจำนวน 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในช่วงน้ำลง เพื่อช่วยให้การไหลของน้ำให้ออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น และกรมชลประทานได้รับแจ้งจากมูลนิธิชัยพัฒนาว่า ประสงค์จะช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน โดยการให้ยืมใช้ “เครื่องกวนเติมอากาศ” (กังหันชัยพัฒนา) ไปติดตั้งเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสีย ซึ่งปัจจุบันมีความพร้อมที่จะใช้งานได้จำนวน 36 เครื่อง
2. กรมประมงได้สั่งการให้ศูนย์และสถานีประมงน้ำจืดทั่วประเทศ จัดเตรียมลูกพันธุ์ปลานิลแดงไว้แจกจ่ายให้เกษตรกรที่ประสบภัยดังกล่าว และให้สำนักงานประมงจังหวัดประชาสัมพันธ์ไม่ให้เกษตรกรนำสัตว์น้ำที่จับได้ในบริเวณดังกล่าวมาบริโภคเนื่องจากยังไม่รู้สาเหตุการตาย และขณะนี้ได้ส่งตัวอย่างน้ำและสัตว์น้ำให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุพรรณบุรี ตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตาย รวมทั้งประสานให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝังกลบสัตว์น้ำที่ตาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
สถานการณ์น้ำ
1. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 18 มีนาคม 2550 มีปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ ทั้งหมด 52,020 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างฯทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (48,145 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,875 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 10,182 และ 6,852 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 76 และ 72 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 17,034 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ มีทั้งหมด 2 อ่างฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และอ่างเก็บน้ำเขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี มีปริมาตรน้ำในอ่าง 36 และ 51 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 30 และ 32 ของความจุอ่างฯตามลำดับ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวเพียงพอสำหรับในช่วงฤดูแล้งนี้ และไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพน้ำท่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำยม สภาพน้ำท่า อยู่ในเกณฑ์น้อย และแม่น้ำมูล สภาพน้ำนอนคลอง
3. คุณภาพน้ำ
สภาพความเค็มในแม่น้ำสายหลัก ณ จุดเฝ้าระวังของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำนครนายก อยู่ในเกณฑ์ปกติ ณ วันที่ 12 มีนาคม 2550 (เกณฑ์ค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2.0 กรัม/ลิตร)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 — 30 เมษายน 2550)
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 19 มีนาคม 2550 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ จำนวน 12.83 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 10.52 ล้านไร่ มากกว่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 6 (ในเขตชลประทาน 7.68 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.84 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก จำนวน 2.31 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 81 ของเป้าหมาย (ในเขตชลประทาน 0.63 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 1.68 ล้านไร่)
พื้นที่การเกษตรประสบภัยแล้ง ณ วันที่ 16 มีนาคม 2550
พื้นที่ประสบภัยด้านการเกษตร 18 จังหวัด เป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด แบ่งเป็น
ด้านพืช ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ถึง 6 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก พิจิตร แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ หนองคาย และหนองบัวลำภู เกษตรกร 14,465 ราย พื้นที่ประสบภัย 149,195 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 114,949 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 33,028 ไร่ พืชไร่ 70,027 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 11,894 ไร่
พื้นที่การเกษตรเสียหายแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ตาก และลำปาง จำนวน 21,172 ไร่ อยู่ระหว่างขอใช้เงินทดรองราชการจังหวัด
ด้านปศุสัตว์ ช่วงภัยระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2549 ถึง 13 มีนาคม 2550 ได้รับรายงานพื้นที่ได้รับผลกระทบ 8 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ลำพูน น่าน หนองบัวลำภู เพชรบูรณ์และเพชรบุรี เกษตรกร 6,512 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 93,373 ตัว แยกเป็น โค-กระบือ 40,951 ตัว สุกร-แพะ 11,291 ตัว และสัตว์ปีก 41,131 ตัว
ด้านประมง ยังไม่มีรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้ง
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง กำหนดแผนการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (31 อ่าง ฯ) ในช่วงฤดูแล้งปี 2549/2550 (1 พ.ย. 2549 ถึง 30 เม.ย. 2550) จำนวน 19,266 ล้านลูกบาศก์เมตร ณ วันที่ 18 มีนาคม 2550 ได้ระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้ว 13,722 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยในเขตชลประทาน เกษตรกรได้ปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 1 แล้ว 7.41 ล้านไร่ (95% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้ว 0.22 ล้านไร่ และปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 แล้ว 0.03 ล้านไร่ สำหรับพืชไร่-พืชผัก ปลูกแล้ว 0.62 ล้านไร่ (72% ของเป้าหมาย) เก็บเกี่ยวพืชไร่-พืชผักแล้ว 0.03 ล้านไร่
2. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
- เครื่องสูบน้ำ จำนวน 790 เครื่อง ในพื้นที่ 67 จังหวัด (เพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 744 เครื่อง และเพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 46 เครื่อง)
- รถยนต์บรรทุกน้ำ ขนส่งน้ำไปช่วยเหลือแล้ว 3,226 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 19.36 ล้านลิตร
3. การปฏิบัติการฝนหลวง
- จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 จำนวน 8 หน่วย และ 2 ฐานเติมสารฝนหลวง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา ระยอง อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี และสระแก้ว
- ผลการปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์-15 มีนาคม 2550 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 251 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่ 28 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยนาท สุพรรณบุรี นครสวรรค์ กรุงเทพฯ อุทัยธานี ลพบุรี กาญจนบุรี อยุธยา ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ปราจีนบุรีเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ตรัง กระบี่ สตูล ชุมพรและนราธิวาส
4. การสนับสนุนเสบียงสัตว์ สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 130,630 กิโลกรัม แร่ธาตุ 126 ก้อน และดูแลสุขภาพสัตว์ 4,330 ตัว
สถานการณ์น้ำเน่าเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ปลาในกระชังในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อ.ป่าโมก จ.อ่างทองบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาตายเป็นจำนวนมากตั้งแต่เวลา 17.00 น. ของวันที่ 11 มีนาคม 2550 นั้น
กรมประมงรายงานความเสียหาย 11- 14 มีนาคม 2550 พื้นที่ประสบภัย 2 จังหวัด 6 อำเภอได้แก่ จ.อ่างทอง (อ.ป่าโมก) และ จ.อยุธยา (อ.บางบาล อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางไทร และ อ.บางปะอิน) เกษตรกรได้รับความเสียหาย 231 ราย พื้นที่ประสบภัย 1,257 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 24,222 ตรม.มูลค่าความเสียหาย 47.84 ล้านบาท
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1. กรมชลประทาน ยังคงระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระรามหก รวมกัน 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำน้อยบริเวณ อ.บางไทร ลงมาเสริมอีกจำนวน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะเจือจางน้ำเน่าเสียที่จะไหลลงสู่จังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ ได้เปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ด้วยปริมาณน้ำจำนวน 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในช่วงน้ำลง เพื่อช่วยให้การไหลของน้ำให้ออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น และกรมชลประทานได้รับแจ้งจากมูลนิธิชัยพัฒนาว่า ประสงค์จะช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน โดยการให้ยืมใช้ “เครื่องกวนเติมอากาศ” (กังหันชัยพัฒนา) ไปติดตั้งเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสีย ซึ่งปัจจุบันมีความพร้อมที่จะใช้งานได้จำนวน 36 เครื่อง
2. กรมประมงได้สั่งการให้ศูนย์และสถานีประมงน้ำจืดทั่วประเทศ จัดเตรียมลูกพันธุ์ปลานิลแดงไว้แจกจ่ายให้เกษตรกรที่ประสบภัยดังกล่าว และให้สำนักงานประมงจังหวัดประชาสัมพันธ์ไม่ให้เกษตรกรนำสัตว์น้ำที่จับได้ในบริเวณดังกล่าวมาบริโภคเนื่องจากยังไม่รู้สาเหตุการตาย และขณะนี้ได้ส่งตัวอย่างน้ำและสัตว์น้ำให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุพรรณบุรี ตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตาย รวมทั้งประสานให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการฝังกลบสัตว์น้ำที่ตาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--