คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ และการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้มีการตราพระราชบัญญัติ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า
1. โดยที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักการและขั้นตอนการดำเนินการขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือองค์การมหาชน เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการขอจัดตั้งหน่วยงานก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่เนื่องจากปัจจุบันมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐทั้งที่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจขึ้น โดยมีร่างพระราชบัญญัติหลายฉบับที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กำหนดให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐทั้งที่มีฐานะเป็นส่วนราชการและไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจขึ้น ซึ่งในการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีมิได้ดำเนินการตามหลักการและขั้นตอนตามมติคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ทำให้หน่วยงานของรัฐมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลผูกพันกับภาระงบประมาณในระยะยาว
2. ก.พ.ร. ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐดังนี้
2.1 ขั้นตอนการขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ
2.1.1 กรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการ
(1) การยกร่างกฎหมาย ไม่ควรมีข้อกำหนดให้มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ (ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกรมหรือสำนัก/กอง)
(2) หากจะมีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้
(2.1) กรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม ให้กระทรวงขอจัดตั้งส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ ให้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง และ ก.พ.ร. พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
(2.2) กรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรม จะต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549
(2.3) เพื่อประโยชน์ในการกลั่นกรองความเหมาะสมของการจัดตั้งส่วนราชการ ให้กระทรวงที่ประสงค์จะขอจัดตั้งส่วนราชการจัดทำรายละเอียดประกอบการพิจารณาตามแบบคำชี้แจงประกอบการขอจัดตั้งส่วนราชการ
2.1.2 กรณีการขอจัดตั้งองค์การมหาชน
(1) การยกร่างกฎหมาย ไม่ควรมีข้อกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นใหม่
(2) การจัดตั้งองค์การมหาชน ให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และ 18 กรกฎาคม 2549
2.2 การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้มีการตราพระราชบัญญัติ
2.2.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบเหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติของส่วนราชการตามประเด็น (check list) ทั้ง 10 ประเด็นอย่างเคร่งครัด หากพบว่าส่วนราชการใดไม่ตอบประเด็นทั้ง 10 ประเด็นดังกล่าว ให้ส่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ๆ คืนไปยังส่วนราชการทันที
2.2.2 ในการตรวจร่างพระราชบัญญัติของคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้กรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบเหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติตาม 10 ประเด็นดังกล่าวก่อน หากเห็นว่าส่วนราชการไม่ได้ตอบ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับคืนมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการตอบประเด็นทั้ง 10 ประเด็นก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--
สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า
1. โดยที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดหลักการและขั้นตอนการดำเนินการขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือองค์การมหาชน เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการขอจัดตั้งหน่วยงานก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่เนื่องจากปัจจุบันมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐทั้งที่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจขึ้น โดยมีร่างพระราชบัญญัติหลายฉบับที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กำหนดให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐทั้งที่มีฐานะเป็นส่วนราชการและไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจขึ้น ซึ่งในการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีมิได้ดำเนินการตามหลักการและขั้นตอนตามมติคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้มิได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ทำให้หน่วยงานของรัฐมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลผูกพันกับภาระงบประมาณในระยะยาว
2. ก.พ.ร. ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐดังนี้
2.1 ขั้นตอนการขอจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ
2.1.1 กรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการ
(1) การยกร่างกฎหมาย ไม่ควรมีข้อกำหนดให้มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ (ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกรมหรือสำนัก/กอง)
(2) หากจะมีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้
(2.1) กรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม ให้กระทรวงขอจัดตั้งส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ ให้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง และ ก.พ.ร. พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
(2.2) กรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรม จะต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549
(2.3) เพื่อประโยชน์ในการกลั่นกรองความเหมาะสมของการจัดตั้งส่วนราชการ ให้กระทรวงที่ประสงค์จะขอจัดตั้งส่วนราชการจัดทำรายละเอียดประกอบการพิจารณาตามแบบคำชี้แจงประกอบการขอจัดตั้งส่วนราชการ
2.1.2 กรณีการขอจัดตั้งองค์การมหาชน
(1) การยกร่างกฎหมาย ไม่ควรมีข้อกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นใหม่
(2) การจัดตั้งองค์การมหาชน ให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และ 18 กรกฎาคม 2549
2.2 การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้มีการตราพระราชบัญญัติ
2.2.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบเหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติของส่วนราชการตามประเด็น (check list) ทั้ง 10 ประเด็นอย่างเคร่งครัด หากพบว่าส่วนราชการใดไม่ตอบประเด็นทั้ง 10 ประเด็นดังกล่าว ให้ส่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ๆ คืนไปยังส่วนราชการทันที
2.2.2 ในการตรวจร่างพระราชบัญญัติของคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้กรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบเหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติตาม 10 ประเด็นดังกล่าวก่อน หากเห็นว่าส่วนราชการไม่ได้ตอบ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับคืนมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการตอบประเด็นทั้ง 10 ประเด็นก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 กรกฎาคม 2550--จบ--