คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ในห้วงวันที่ 1 — 31 สิงหาคม 2548 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ด้านการปราบปรามยาเสพติด
1.1 การจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 — 31 สิงหาคม 2548 มีผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการจับกุม 1- 31 สิงหาคม 2548
จำนวนคดี (ราย) ผู้ต้องหา (คน)
1. ผลิต/นำเข้า/ส่งออก 36 33
2. จำหน่าย 377 458
3. ครอบครองเพื่อจำหน่าย 768 929
4. ครอบ ครอง 1,313 1,331
5. เสพ 2,464 2,550
รวม 4,958 5,301
ของกลางยาบ้า 387,116 เม็ด
การตรวจยึด/อายัดทรัพย์สิน 5,104,888 บาท
(ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 5 กันยายน 2548 )
1.2 การควบคุมแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
การปฏิบัติการ จำนวน ผลการดำเนินงาน
ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด 36,392 ครั้ง ผลการจับกุม 1,170 ครั้ง
ปิดล้อมตรวจค้น 4,269 ครั้ง ผลการจับกุม 1,044 ครั้ง
ตรวจสถานบันเทิง/บริการ 16,951 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 16,387 ราย พบสีม่วง 182 คน
ตรวจหอพัก 2,489 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 3,270 ราย พบสีม่วง 41 คน
ตรวจโรงงาน 1,492 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 3,848 ราย พบสีม่วง 25 คน
(ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 5 กันยายน 2548)
1.3 การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
รายงาน จำนวน ผลการดำเนินงาน
(1—31 สิงหาคม 2548)
- ลาดตระเวน ครั้ง 9,590
- ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ ครั้ง 10,331
- ปิดล้อมตรวจค้น ครั้ง 589
- จับกุมผู้ต้องหา ครั้ง 457
- ยาบ้า ครั้ง 208,444
- กัญชา ครั้ง 1,659
- เฮโรอีน ครั้ง 15
(ศตส.กองทัพไทย ณ วันที่ 5 กันยายน 2548 )
1.4 ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติด
- การจัดสัมมนาการปฏิบัติการร่วมในการปราบปรามยาเสพติดระหว่างไทย — พม่า ระหว่างวันที่ 1 — 4 สิงหาคม 2548 ณ จังหวัดเชียงราย โดยมีเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดระดับปฏิบัติการทั้งฝ่ายไทยและพม่า เข้าร่วมสัมมนาฝ่ายละ 10 คน
- ฝ่ายไทยได้ประสานสำนักงานประสานงานฯ เมียวดี สหภาพพม่า ให้เพิ่มการเฝ้าระวังการลักลอบขนยาเสพติดบริเวณฝั่งตรงข้ามกับด่านเจดีย์สามองค์ของไทย เนื่องจากขณะนี้พบว่าการลักลอบนำยาบ้าเข้ามาในประเทศไทยบริเวณนี้มากขึ้น
- จัดตั้งสำนักงานประสานงานชายแดนเพิ่มเติมและจุดประสานงานชายแดนเพิ่มเติมคือชายแดนไทย — ลาว และการขยายการลาดตระเวนร่วมบริเวณลำน้ำโขงชายแดนไทย — ลาว
- การทดลองจัดระเบียบเรือที่เมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ ตรงข้ามกับ อ.สังคม จ.หนองคาย
- การแลกเปลี่ยนตัวอย่างยาเสพติดที่จับกุมได้ระหว่างกันเพื่อนำมาตรวจพิสูจน์
- ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ไทย — ลาว ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลักลอบค้ายาเสพติดและดำเนินคดีร่วมกัน จนนำไปสู่การจับกุมนักค้ายาเสพติดข้ามแดน
2. ด้านการบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด มีผลการดำเนินงานดังนี้
การบำบัด ผลการดำเนินงาน
1-31 สิงหาคม 2548
1. ระบบสมัครใจ 242 ราย
2. ระบบบังคับบำบัด 426 ราย
3. ระบบต้องโทษ 27 ราย
รวม 695 ราย
ข้อมูล : ฐานข้อมูลระบบ บสต. 2 กันยายน 2548
3. ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
จากข้อมูลการแพร่ระบาดของยาเสพติดในช่วงเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มวัยรุ่น และเยาวชน มีอัตราการเสพยาเสพติดสูงขึ้นทั้งในพื้นที่ กทม. และตัวเมืองใหญ่ในภาคต่าง ๆ การจัดระเบียบสังคมถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้แก่คนในชาติ ซึ่งปัจจุบันเยาวชนถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่กลุ่มนักค้ายาเสพติด มุ่งแสวงผลประโยชน์จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ดังนั้น ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด จึงได้ศึกษาแนวทางการจัดระเบียบสังคมจากหน่วยปฏิบัติงานจริง โดยจัดทำเป็นรูปแบบการดำเนินงานจัดระเบียบสังคมเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็ก วัยรุ่น เยาวชน นักเรียน/นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง สำหรับพื้นที่ในการดำเนินการ เนื่องจากพื้นที่เขตเมืองใหญ่เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นแหล่งมั่วสุม ขอบเขตการดำเนินงานจึงมุ่งเน้นในพื้นที่เขตอำเภอเมือง และอำเภอใหญ่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวและสถานบริการต่าง ๆ ซึ่งเป็นสถานที่เปิดสามารถเข้าตรวจค้นได้โดยมีกฎหมายรองรับแต่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการกระทำความผิดสูง โดยเฉพาะแหล่งมั่วสุมต่างๆ เช่น สถานบันเทิง สถานบริการ ร้านเกมส์ เป็นต้น ซึ่งหากดำเนินการต่อพื้นที่ดังกล่าวอย่างเข้มงวดจริงจังมิใช่เพียงการตรวจค้นเท่านั้น ยังรวมไปถึงการวางแนวปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่เยาวชน ประชาชน และสถานประกอบการ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน น่าจะส่งผลให้การควบคุมลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติด รวมถึงปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
4. ด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการกลไกการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จังหวัด
สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ ศตส.มท. ดำเนินการสรุปรูปแบบแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จังหวัดสำหรับการพัฒนาในปี 2549 โดยคัดเลือกจังหวัดที่มีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนกลไกการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดจำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี ปทุมธานี สระแก้ว กำแพงเพชร เชียงราย แพร่ เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช และพัทลุง ร่วมประชุมสัมมนาฯ ในระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมรามา การ์เดน เพื่อสรุปเป็นรูปแบบและแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนกลไกเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จังหวัดปี 2549 โดยสรุปดังนี้
- หน่วยงานต่าง ๆ ต้องถือว่า "การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด" เป็นภารกิจประจำ และเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- พัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของจังหวัดให้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการขับเคลื่อนกลไกเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- สนับสนุนนระบบเทคโนโลยี ศตส.จ./กทม. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผลักดันให้มีการนำผลการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไปใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดแก่สาธารณชนเป็นระยะๆ เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
5. การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- การเฝ้าระวังปัญหาการนำเข้ายาเสพติด
พื้นที่ลักลอบนำเข้ายาเสพติด นักค้ายาเสพติดได้พยายามเปลี่ยนเส้นทางลำเลียงยาเสพติดไปนำเข้าทางชายแดน ไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา เพิ่มมากขึ้นโดยพบสัดส่วนการนำเข้าทางภาคเหนือ ร้อยละ 52.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 38.7 และภาคกลาง ร้อยละ 9.2 โดยเป็นการจับกุมการลักลอบนำเข้ารายสำคัญของกลางมากกว่าแสนเม็ด จำนวน 2 ครั้ง คือ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวน 398,000 เม็ด และอ.เมือง จ.หนองคาย จำนวน 270,000 เม็ด
- การเฝ้าระวังปัญหาการค้ายาเสพติด
กลุ่มนักค้าชาวไทย และกลุ่มนักค้าที่เป็นแรงงานต่างด้าว ทั้งชาวพม่า ลาว และกัมพูชา มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ทั้งที่เป็นผู้ค้ารายย่อยและกลุ่มเครือข่าย ซึ่งในช่วงนี้มีการจับกุมเครือข่ายแรงงานต่างด้าวได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. โดยมีการใช้ทั้ง Border Pass หนังสือเดินทางและการแอบอ้างนำบัตรประชาชนชาวไทยมาใช้ กลุ่มนักค้าชาวมาเลเซียลักลอบนำเอ็กซ์ตาซีเข้ามาจำหน่ายในสถานบังเทิงในพื้นที่ อ. สะเดา และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเข้ามาจัดหาไอซ์จากพม่าผ่านประเทศไทย โดยนักค้ารายสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือเป็นผู้นำเข้ามาทางด้าน จ.เชียงราย และจ.หนองคาย โดยการลำเลียงซึ่งมีทั้งการซุกซ่อนในรถยนต์ การส่งผ่านบริษัทรับ - ส่งพัสดุ การว่าจ้างผู้ลำเลียงชาวไทยนำไปส่งให้ลูกค้าชาวมาเลเซียที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ก่อนที่จะซุกซ่อนในรถยนต์นำกลับไปประเทศมาเลเซีย รวมทั้งการจัดหารรถยนต์ให้กับนักค้าทั้งชาวไทยและชาวลาวใช้ซุกซ่อนยาเสพติด
- การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ยาบ้ายังคงมีสัดส่วนสูงกว่าตัวยาชนิดอื่นในทุก ๆ ภาค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นภาคใต้ที่มีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 40 นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีสัดส่วนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเฮโรอีนและกัญชาสูงกว่าภาคอื่น ๆ สารระเหยสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามเมื่อประมวลในภาพรวมทุกตัวยามีสัดส่วนลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ยกเว้นยาบ้าที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เมื่อพิจารณาชนิดยาเสพติดร่วมกับอาชีพ ยาบ้าก็ยังเป็นตัวยาที่ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาทุกอาชีพมีการใช้มากที่สุด (เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 78.8)
พื้นที่เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และการรายงานสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังด้านการค้าสำคัญได้แก่ ยาบ้า จ.เชียงใหม่ เชียงราย สมุทรปราการ และกทม. กัญชา จ.หนองคาย ขอนแก่น สงขลา และกทม. เฮโรอีน จ.สุราษฎร์ธานี ไอซ์ จ.สงขลา และ กทม. เอ็กซ์ตาซี กทม.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--
1. ด้านการปราบปรามยาเสพติด
1.1 การจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 — 31 สิงหาคม 2548 มีผลการดำเนินงานดังนี้
ผลการจับกุม 1- 31 สิงหาคม 2548
จำนวนคดี (ราย) ผู้ต้องหา (คน)
1. ผลิต/นำเข้า/ส่งออก 36 33
2. จำหน่าย 377 458
3. ครอบครองเพื่อจำหน่าย 768 929
4. ครอบ ครอง 1,313 1,331
5. เสพ 2,464 2,550
รวม 4,958 5,301
ของกลางยาบ้า 387,116 เม็ด
การตรวจยึด/อายัดทรัพย์สิน 5,104,888 บาท
(ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 5 กันยายน 2548 )
1.2 การควบคุมแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
การปฏิบัติการ จำนวน ผลการดำเนินงาน
ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด 36,392 ครั้ง ผลการจับกุม 1,170 ครั้ง
ปิดล้อมตรวจค้น 4,269 ครั้ง ผลการจับกุม 1,044 ครั้ง
ตรวจสถานบันเทิง/บริการ 16,951 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 16,387 ราย พบสีม่วง 182 คน
ตรวจหอพัก 2,489 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 3,270 ราย พบสีม่วง 41 คน
ตรวจโรงงาน 1,492 ครั้ง ตรวจปัสสาวะ 3,848 ราย พบสีม่วง 25 คน
(ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ณ วันที่ 5 กันยายน 2548)
1.3 การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
รายงาน จำนวน ผลการดำเนินงาน
(1—31 สิงหาคม 2548)
- ลาดตระเวน ครั้ง 9,590
- ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ ครั้ง 10,331
- ปิดล้อมตรวจค้น ครั้ง 589
- จับกุมผู้ต้องหา ครั้ง 457
- ยาบ้า ครั้ง 208,444
- กัญชา ครั้ง 1,659
- เฮโรอีน ครั้ง 15
(ศตส.กองทัพไทย ณ วันที่ 5 กันยายน 2548 )
1.4 ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติด
- การจัดสัมมนาการปฏิบัติการร่วมในการปราบปรามยาเสพติดระหว่างไทย — พม่า ระหว่างวันที่ 1 — 4 สิงหาคม 2548 ณ จังหวัดเชียงราย โดยมีเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดระดับปฏิบัติการทั้งฝ่ายไทยและพม่า เข้าร่วมสัมมนาฝ่ายละ 10 คน
- ฝ่ายไทยได้ประสานสำนักงานประสานงานฯ เมียวดี สหภาพพม่า ให้เพิ่มการเฝ้าระวังการลักลอบขนยาเสพติดบริเวณฝั่งตรงข้ามกับด่านเจดีย์สามองค์ของไทย เนื่องจากขณะนี้พบว่าการลักลอบนำยาบ้าเข้ามาในประเทศไทยบริเวณนี้มากขึ้น
- จัดตั้งสำนักงานประสานงานชายแดนเพิ่มเติมและจุดประสานงานชายแดนเพิ่มเติมคือชายแดนไทย — ลาว และการขยายการลาดตระเวนร่วมบริเวณลำน้ำโขงชายแดนไทย — ลาว
- การทดลองจัดระเบียบเรือที่เมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ ตรงข้ามกับ อ.สังคม จ.หนองคาย
- การแลกเปลี่ยนตัวอย่างยาเสพติดที่จับกุมได้ระหว่างกันเพื่อนำมาตรวจพิสูจน์
- ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ไทย — ลาว ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลักลอบค้ายาเสพติดและดำเนินคดีร่วมกัน จนนำไปสู่การจับกุมนักค้ายาเสพติดข้ามแดน
2. ด้านการบำบัดรักษาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด มีผลการดำเนินงานดังนี้
การบำบัด ผลการดำเนินงาน
1-31 สิงหาคม 2548
1. ระบบสมัครใจ 242 ราย
2. ระบบบังคับบำบัด 426 ราย
3. ระบบต้องโทษ 27 ราย
รวม 695 ราย
ข้อมูล : ฐานข้อมูลระบบ บสต. 2 กันยายน 2548
3. ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
จากข้อมูลการแพร่ระบาดของยาเสพติดในช่วงเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มวัยรุ่น และเยาวชน มีอัตราการเสพยาเสพติดสูงขึ้นทั้งในพื้นที่ กทม. และตัวเมืองใหญ่ในภาคต่าง ๆ การจัดระเบียบสังคมถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้แก่คนในชาติ ซึ่งปัจจุบันเยาวชนถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่กลุ่มนักค้ายาเสพติด มุ่งแสวงผลประโยชน์จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ดังนั้น ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด จึงได้ศึกษาแนวทางการจัดระเบียบสังคมจากหน่วยปฏิบัติงานจริง โดยจัดทำเป็นรูปแบบการดำเนินงานจัดระเบียบสังคมเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็ก วัยรุ่น เยาวชน นักเรียน/นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง สำหรับพื้นที่ในการดำเนินการ เนื่องจากพื้นที่เขตเมืองใหญ่เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นแหล่งมั่วสุม ขอบเขตการดำเนินงานจึงมุ่งเน้นในพื้นที่เขตอำเภอเมือง และอำเภอใหญ่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวและสถานบริการต่าง ๆ ซึ่งเป็นสถานที่เปิดสามารถเข้าตรวจค้นได้โดยมีกฎหมายรองรับแต่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการกระทำความผิดสูง โดยเฉพาะแหล่งมั่วสุมต่างๆ เช่น สถานบันเทิง สถานบริการ ร้านเกมส์ เป็นต้น ซึ่งหากดำเนินการต่อพื้นที่ดังกล่าวอย่างเข้มงวดจริงจังมิใช่เพียงการตรวจค้นเท่านั้น ยังรวมไปถึงการวางแนวปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่เยาวชน ประชาชน และสถานประกอบการ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน น่าจะส่งผลให้การควบคุมลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติด รวมถึงปัญหาอาชญากรรมอื่น ๆ เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
4. ด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการกลไกการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จังหวัด
สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ ศตส.มท. ดำเนินการสรุปรูปแบบแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จังหวัดสำหรับการพัฒนาในปี 2549 โดยคัดเลือกจังหวัดที่มีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนกลไกการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดจำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี ปทุมธานี สระแก้ว กำแพงเพชร เชียงราย แพร่ เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช และพัทลุง ร่วมประชุมสัมมนาฯ ในระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมรามา การ์เดน เพื่อสรุปเป็นรูปแบบและแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนกลไกเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จังหวัดปี 2549 โดยสรุปดังนี้
- หน่วยงานต่าง ๆ ต้องถือว่า "การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด" เป็นภารกิจประจำ และเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- พัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของจังหวัดให้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการขับเคลื่อนกลไกเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- สนับสนุนนระบบเทคโนโลยี ศตส.จ./กทม. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผลักดันให้มีการนำผลการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไปใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดแก่สาธารณชนเป็นระยะๆ เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
5. การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด
- การเฝ้าระวังปัญหาการนำเข้ายาเสพติด
พื้นที่ลักลอบนำเข้ายาเสพติด นักค้ายาเสพติดได้พยายามเปลี่ยนเส้นทางลำเลียงยาเสพติดไปนำเข้าทางชายแดน ไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา เพิ่มมากขึ้นโดยพบสัดส่วนการนำเข้าทางภาคเหนือ ร้อยละ 52.1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 38.7 และภาคกลาง ร้อยละ 9.2 โดยเป็นการจับกุมการลักลอบนำเข้ารายสำคัญของกลางมากกว่าแสนเม็ด จำนวน 2 ครั้ง คือ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวน 398,000 เม็ด และอ.เมือง จ.หนองคาย จำนวน 270,000 เม็ด
- การเฝ้าระวังปัญหาการค้ายาเสพติด
กลุ่มนักค้าชาวไทย และกลุ่มนักค้าที่เป็นแรงงานต่างด้าว ทั้งชาวพม่า ลาว และกัมพูชา มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ทั้งที่เป็นผู้ค้ารายย่อยและกลุ่มเครือข่าย ซึ่งในช่วงนี้มีการจับกุมเครือข่ายแรงงานต่างด้าวได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. โดยมีการใช้ทั้ง Border Pass หนังสือเดินทางและการแอบอ้างนำบัตรประชาชนชาวไทยมาใช้ กลุ่มนักค้าชาวมาเลเซียลักลอบนำเอ็กซ์ตาซีเข้ามาจำหน่ายในสถานบังเทิงในพื้นที่ อ. สะเดา และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเข้ามาจัดหาไอซ์จากพม่าผ่านประเทศไทย โดยนักค้ารายสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือเป็นผู้นำเข้ามาทางด้าน จ.เชียงราย และจ.หนองคาย โดยการลำเลียงซึ่งมีทั้งการซุกซ่อนในรถยนต์ การส่งผ่านบริษัทรับ - ส่งพัสดุ การว่าจ้างผู้ลำเลียงชาวไทยนำไปส่งให้ลูกค้าชาวมาเลเซียที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ก่อนที่จะซุกซ่อนในรถยนต์นำกลับไปประเทศมาเลเซีย รวมทั้งการจัดหารรถยนต์ให้กับนักค้าทั้งชาวไทยและชาวลาวใช้ซุกซ่อนยาเสพติด
- การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ยาบ้ายังคงมีสัดส่วนสูงกว่าตัวยาชนิดอื่นในทุก ๆ ภาค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นภาคใต้ที่มีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 40 นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีสัดส่วนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาเฮโรอีนและกัญชาสูงกว่าภาคอื่น ๆ สารระเหยสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามเมื่อประมวลในภาพรวมทุกตัวยามีสัดส่วนลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ยกเว้นยาบ้าที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เมื่อพิจารณาชนิดยาเสพติดร่วมกับอาชีพ ยาบ้าก็ยังเป็นตัวยาที่ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาทุกอาชีพมีการใช้มากที่สุด (เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 78.8)
พื้นที่เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และการรายงานสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวังด้านการค้าสำคัญได้แก่ ยาบ้า จ.เชียงใหม่ เชียงราย สมุทรปราการ และกทม. กัญชา จ.หนองคาย ขอนแก่น สงขลา และกทม. เฮโรอีน จ.สุราษฎร์ธานี ไอซ์ จ.สงขลา และ กทม. เอ็กซ์ตาซี กทม.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--