แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
สุขภัณฑ์กะรัต
กระทรวงแรงงาน
ประกันสังคม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่ใช้บังคับในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 ซึ่งแก้ไขมาแล้ว 2 ครั้ง คือ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ในระยะเวลา 3 ปีแรก พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป และต่อมาในปี 2536 หลังจากดำเนินการมาแล้ว 3 ปี จึงได้ขยายการใช้บังคับกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และในปี 2545 หลังจากดำเนินการมาแล้ว 12 ปี จึงได้ขยายการใช้บังคับไปยังกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
2. ในช่วงแรกที่กฎหมายประกันสังคมมีผลใช้บังคับให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และกรณีคลอดบุตร ต่อมาในปี 2541 ได้มีการขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มอีก 2 กรณี คือกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ และในปี 2547 มีการให้ความคุ้มครองกรณีว่างงาน ซึ่งถือเป็นการใช้สิทธิประโยชน์แห่งความคุ้มครองครบทั้ง 7 กรณีตามที่กฎหมายกำหนดไว้
3. ในปัจจุบันหลังจากที่พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมมีผลใช้บังคับ ได้มีการเรียกร้องให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว จากนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมาย เช่น คณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รวมถึงการผลักดันเพื่อให้กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศจากนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) องค์กรแรงงานต่าง ๆ ซึ่งมีประเด็นในการปรับปรุงแก้ไข เช่น การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 การขยายความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ สิทธิของผู้ประกันตนในการได้รับประโยชน์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม กำหนดให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นสำหรับการแจ้งการดำเนินการ หรือส่งเอกสารต่อหน่วยงานของรัฐได้ รวมทั้งแก้ไขเพื่อให้บทบัญญัติเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุนที่ดี หรือการลดขั้นตอนการทำงาน จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยการปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของกลุ่มสมาชิกผู้มีรายได้เรียกว่า ผู้ประกันตน และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อร่วมเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อันไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมที่ใช้บังคับในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 ซึ่งแก้ไขมาแล้ว 2 ครั้ง คือ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ในระยะเวลา 3 ปีแรก พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป และต่อมาในปี 2536 หลังจากดำเนินการมาแล้ว 3 ปี จึงได้ขยายการใช้บังคับกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และในปี 2545 หลังจากดำเนินการมาแล้ว 12 ปี จึงได้ขยายการใช้บังคับไปยังกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
2. ในช่วงแรกที่กฎหมายประกันสังคมมีผลใช้บังคับให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และกรณีคลอดบุตร ต่อมาในปี 2541 ได้มีการขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มอีก 2 กรณี คือกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ และในปี 2547 มีการให้ความคุ้มครองกรณีว่างงาน ซึ่งถือเป็นการใช้สิทธิประโยชน์แห่งความคุ้มครองครบทั้ง 7 กรณีตามที่กฎหมายกำหนดไว้
3. ในปัจจุบันหลังจากที่พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมมีผลใช้บังคับ ได้มีการเรียกร้องให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าว จากนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมาย เช่น คณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รวมถึงการผลักดันเพื่อให้กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศจากนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) องค์กรแรงงานต่าง ๆ ซึ่งมีประเด็นในการปรับปรุงแก้ไข เช่น การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 การขยายความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบ สิทธิของผู้ประกันตนในการได้รับประโยชน์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม กำหนดให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นสำหรับการแจ้งการดำเนินการ หรือส่งเอกสารต่อหน่วยงานของรัฐได้ รวมทั้งแก้ไขเพื่อให้บทบัญญัติเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุนที่ดี หรือการลดขั้นตอนการทำงาน จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยการปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของกลุ่มสมาชิกผู้มีรายได้เรียกว่า ผู้ประกันตน และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อร่วมเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อันไม่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 กรกฎาคม 2550--จบ--