แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงศึกษาธิการ
กรมประชาสัมพันธ์
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า เนื่องจากได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และได้กำหนดให้มีการปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นใหม่ ทำให้การบริหารงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงบทบัญญัติบางประการในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้ของคณะลูกเสือแห่งชาติ มาเป็นรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ อำนาจหน้าที่คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา การจัดตั้งค่ายลูกเสือ ประเภทและตำแหน่งของลูกเสือ วินัย เครื่องแบบ ธงของลูกเสือ เหรียญลูกเสือและการยกย่องเชิดชูเกียรติ รวมทั้งบทกำหนดโทษมาเพิ่มรวมอยู่ในพระราชบัญญัติ และเพื่อให้การทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการลูกเสือมีความเจริญก้าวหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยลูกเสือที่ใช้บังคับอยู่เดิม (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่จัดให้หน่วยงานภายในเพื่อสนับสนุนส่งเสริมกิจการลูกเสือและเนตรนารี (ร่างมาตรา 9)
4. กำหนดให้มีสภาลูกเสือไทยทำหน้าที่เป็นองค์กรอำนวยการของคณะลูกเสือแห่งชาติ และกำหนดองค์ประกอบของสภาลูกเสือไทย (ร่างมาตรา 11)
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารลูกเสือแห่งชาติ และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา15 -16)
6. กำหนดให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 19 - 20)
7. กำหนดให้การจัดตั้งค่ายลูกเสือต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด และรายงานต่อคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติทราบ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการจัดตั้ง และการบริหารค่ายลูกเสือให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติกำหนด (ร่างมาตรา 21)
8. กำหนดให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาในทุกเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดให้มีคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา (ร่างมาตรา 24 - 25)
9. กำหนดจัดตั้งสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 27 - 28)
10. กำหนดให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีรายได้จากเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินและเงินอุดหนุนทั่วไปและรายได้ของสำนักงานฯ ไม่ต้องทำส่งกระทรวงการคลัง และได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายอื่น ๆ (ร่างมาตรา 29 และมาตรา 31)
11. กำหนดให้กิจการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน (ร่างมาตรา 34)
12. กำหนดให้เงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนของพนักงานในสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะลูกเสือแห่งชาติกำหนด (ร่างมาตรา 36)
13. กำหนดให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เป็นศูนย์กลางในการปกครองบังคับบัญชาลูกเสือ ในเขตพื้นที่การศึกษาโดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบการดำเนินงาน (ร่างมาตรา 38)
14. กำหนดให้ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติในเรื่องทรัพย์สินมิได้ (ร่างมาตรา 40)
15. กำหนดให้รายได้จากลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และรายได้อื่นที่เกิดจากการคิดค้นหรือสร้างสรรค์งานเกี่ยวกับลูกเสือเป็นรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (ร่างมาตรา 41)
16. กำหนดให้ลูกเสือมี 3 เหล่า คือ เหล่าเสนา เหล่าสมุทร และเหล่าอากาศ (ร่างมาตรา 43)
17. กำหนดให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ อัตรากำลัง พนักงาน เจ้าหน้าที่ ภาระผูกพันและเงินงบประมาณของคณะลูกเสือแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (ร่างมาตรา 76)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า เนื่องจากได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และได้กำหนดให้มีการปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นใหม่ ทำให้การบริหารงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงบทบัญญัติบางประการในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้ของคณะลูกเสือแห่งชาติ มาเป็นรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ อำนาจหน้าที่คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา การจัดตั้งค่ายลูกเสือ ประเภทและตำแหน่งของลูกเสือ วินัย เครื่องแบบ ธงของลูกเสือ เหรียญลูกเสือและการยกย่องเชิดชูเกียรติ รวมทั้งบทกำหนดโทษมาเพิ่มรวมอยู่ในพระราชบัญญัติ และเพื่อให้การทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการลูกเสือมีความเจริญก้าวหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยลูกเสือที่ใช้บังคับอยู่เดิม (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดคำนิยาม (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่จัดให้หน่วยงานภายในเพื่อสนับสนุนส่งเสริมกิจการลูกเสือและเนตรนารี (ร่างมาตรา 9)
4. กำหนดให้มีสภาลูกเสือไทยทำหน้าที่เป็นองค์กรอำนวยการของคณะลูกเสือแห่งชาติ และกำหนดองค์ประกอบของสภาลูกเสือไทย (ร่างมาตรา 11)
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารลูกเสือแห่งชาติ และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา15 -16)
6. กำหนดให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 19 - 20)
7. กำหนดให้การจัดตั้งค่ายลูกเสือต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด และรายงานต่อคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติทราบ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการจัดตั้ง และการบริหารค่ายลูกเสือให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติกำหนด (ร่างมาตรา 21)
8. กำหนดให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาในทุกเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดให้มีคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา (ร่างมาตรา 24 - 25)
9. กำหนดจัดตั้งสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และกำหนดอำนาจหน้าที่ (ร่างมาตรา 27 - 28)
10. กำหนดให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีรายได้จากเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินและเงินอุดหนุนทั่วไปและรายได้ของสำนักงานฯ ไม่ต้องทำส่งกระทรวงการคลัง และได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายอื่น ๆ (ร่างมาตรา 29 และมาตรา 31)
11. กำหนดให้กิจการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน (ร่างมาตรา 34)
12. กำหนดให้เงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนของพนักงานในสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะลูกเสือแห่งชาติกำหนด (ร่างมาตรา 36)
13. กำหนดให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เป็นศูนย์กลางในการปกครองบังคับบัญชาลูกเสือ ในเขตพื้นที่การศึกษาโดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบการดำเนินงาน (ร่างมาตรา 38)
14. กำหนดให้ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติในเรื่องทรัพย์สินมิได้ (ร่างมาตรา 40)
15. กำหนดให้รายได้จากลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และรายได้อื่นที่เกิดจากการคิดค้นหรือสร้างสรรค์งานเกี่ยวกับลูกเสือเป็นรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (ร่างมาตรา 41)
16. กำหนดให้ลูกเสือมี 3 เหล่า คือ เหล่าเสนา เหล่าสมุทร และเหล่าอากาศ (ร่างมาตรา 43)
17. กำหนดให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ อัตรากำลัง พนักงาน เจ้าหน้าที่ ภาระผูกพันและเงินงบประมาณของคณะลูกเสือแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (ร่างมาตรา 76)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--