แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
โรงแรมคอนราด
กรมการปกครอง
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และเห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 เพื่อปรับการดำเนินโครงการฟูมฟักผู้ประกอบการฯ ในปีงบประมาณ 2550 โดยถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณให้ ธพว. ดำเนินการ ในวงเงิน 70.362 ล้านบาท เบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2550 ที่ สปท. ได้รับการจัดสรรในโครงการดังกล่าว จำนวน 94.01 ล้านบาท สำหรับในปีงบประมาณ 2551 ให้ถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวให้ ธพว. ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน รับไปดำเนินการเองภายใต้ภารกิจแผนงานและงบประมาณของแต่ละธนาคารต่อไป
สรุปรายงานความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน มีดังนี้
1. โครงการฟูมฟักผู้ประกอบการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
(1) คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ให้ความเห็นชอบให้ สปท. ดำเนินการโครงการฟูมฟักผู้ประกอบการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยมีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงานร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน ในลักษณะธนาคาร 3 ประสาน มีระยะเวลาดำเนินการรวม 5 ปี (2547-2551) กรอบวงเงินรวม 510.548 ล้านบาท โดยแต่ละปี สปท. จะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ สำหรับปีงบประมาณ 2550 ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการ จำนวน 94.01 ล้านบาท
(2) โครงการฟูมฟักผู้ประกอบการฯ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับผู้ครอบครองสิทธิ หรือเจ้าของสินทรัพย์ เน้นเฉพาะผู้ครอบครองสิทธิรายย่อยหรือธุรกิจขนาดเล็ก ในกลุ่มสินทรัพย์ที่เป็นเป้าหมายหลัก คือ ทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องจักร สินทรัพย์ที่เป็นเป้าหมายรองคือ ที่ดิน ทรัพย์ติดที่ดิน หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่สาธารณะ หนังสือรับรองอื่น ๆ รวมทั้งสัญญาเช่า /เช่าซื้อ
(3) ผลการดำเนินโครงการได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สร้างโอกาสให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งทุนของสถาบันการเงิน โดยในช่วงปี 2548-2549 มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อไปแล้วรวม 4,389 ราย วงเงินรวม 813 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. นอกจากนี้การดำเนินโครงการยังได้ช่วยสนับสนุนภารกิจของธนาคาร 3 ประสาน ได้เป็นอย่างดีทั้งในด้านการเตรียมความพร้อมให้กับลูกค้าธนาคารในการเข้าถึงสินเชื่อ และช่วยให้มีการใช้สินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกิจกรรมโครงการยังมีลักษณะสอดคล้องกับกิจกรรมที่ธนาคาร 3 ประสาน ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ละธนาคารจึงยืนยันถึงความพร้อมที่จะสามารถดำเนินการต่อเนื่องขยายผลได้ ภายใต้ภารกิจแผนงานของแต่ละธนาคารเอง เพื่อสามารถดูแลกลุ่มลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการได้อย่างยั่งยืนต่อไป
(4) คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับแผนการดำเนินโครงการฟูมฟักผู้ประกอบการฯ ในปีงบประมาณ 2550 ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการประเมินผลและถ่ายโอนภารกิจ สปท. เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพสอดคล้องตามกรอบแนวทางการถ่ายโอนภารกิจ สปท. โดยให้ถ่ายโอนภารกิจโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยงบประมาณในวงเงิน 70.362 ล้านบาท เบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการที่ สปท. ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ 2550 ในวงเงินรวม 94.01 ล้านบาท ให้ ธพว. ดำเนินโครงการโดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
- ระยะแรกตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 ครอบคลุมพื้นที่ 75 จังหวัดเน้นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโครงการของธนาคาร 3 ประสาน และคัดสรรผู้เข้ารับการอบรมยกระดับเพิ่มขีดความสามารถและเสริมอาชีพผู้ประกอบการ
- ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 จนสิ้นสุดปีงบประมาณ 2550 ปรับลดเป้าหมายการปฏิบัติงาน เน้นจังหวัดที่มีศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายของ ธพว. และโครงการฟูมฟักผู้ประกอบการฯ ใน 30 จังหวัด โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพเข้ารับการพัฒนาความรู้เพิ่มเติมในการจัดทำแผนธุรกิจสำหรับธุรกิจขนาดย่อม
- โดยมีค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2550 รวม 70.362 ล้านบาท ครอบคลุมงบบุคลากรจำนวน 31.464 ล้านบาท งบสำหรับหน่วยรถเคลื่อนที่ (Mobile Unit) จำนวน 27.648 ล้านบาท และงบฝึกอบรม (Training Program) จำนวน 11.25 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม 2547 และขอความเห็นชอบให้ถ่ายโอนภารกิจโครงการดังกล่าวให้ ธพว. ดำเนินการโครงการตามแผนงานที่ปรับปรุงในปีงบประมาณ 2550 วงเงินงบประมาณ 70.362 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2551 เห็นควรให้ถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวให้ ธพว. ธกส. และธนาคารออมสินรับไปดำเนินการเองภายใต้ภารกิจแผนงานและงบประมาณของแต่ละธนาคารต่อไป
2. ผลการเจรจาข้อสัญญาและข้อตกลงต่างๆ ของ สปท.
(1) คณะกรรมการฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการยกเลิก สปท. โดยมีผลการเจรจาข้อสัญญาประเภทต่าง ๆ ที่ได้เจรจาต่อรองกับคู่สัญญาเพื่อปรับลดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง จนได้ข้อยุติแล้ว รวม 18 สัญญา สามารถปรับลดระยะเวลาจ้างได้ไม่เกินเดือนมิถุนายน 2550 และสามารถปรับลดวงเงินลงได้ประมาณ 3.198 ล้านบาท
(2) สำหรับสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ ที่เหลือ 5 สัญญา คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดค่าเสียหายกับสัญญาเช่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้สามารถปรับลดวงเงินลงได้อีกประมาณ 0.107 ล้านบาท และให้ สปท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ส่วนสัญญาจ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษาวิจัยเตรียมความพร้อมและการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ดำเนินการเจรจาต่อรองเพิ่มเติมกับที่ปรึกษา ฯ เพื่อปรับลดวงเงินลงอีก จากเบื้องต้นซึ่งปรับลดได้เพียง 0.205 ล้านบาท และให้ที่ปรึกษายืนยันคุณภาพของผลงานด้วย
3. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ชุดต่าง ๆ
(1) คณะกรรมการฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประเมินผลและถ่ายโอนภารกิจของ สปท. ในการจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยสปท. ได้ลงนามในสัญญาจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อดำเนินการประเมินผลนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนตามขอบเขต รายละเอียดข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference) ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ แล้วมีกำหนดแล้วเสร็จใน 90 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
(2) คณะกรรมการ ฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิก สปท. ขึ้น ตามคำสั่ง ที่ 3/2550 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อทำหน้าที่พิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิก สปท. ให้การนำเสนอพิจารณาเป็นไปอย่างถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 โดยมีนางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นประธานอนุกรรมการ และผู้แทนจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง เป็นอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ สปท. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
สรุปรายงานความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน มีดังนี้
1. โครงการฟูมฟักผู้ประกอบการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
(1) คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ให้ความเห็นชอบให้ สปท. ดำเนินการโครงการฟูมฟักผู้ประกอบการในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยมีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงานร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน ในลักษณะธนาคาร 3 ประสาน มีระยะเวลาดำเนินการรวม 5 ปี (2547-2551) กรอบวงเงินรวม 510.548 ล้านบาท โดยแต่ละปี สปท. จะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ สำหรับปีงบประมาณ 2550 ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามโครงการ จำนวน 94.01 ล้านบาท
(2) โครงการฟูมฟักผู้ประกอบการฯ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับผู้ครอบครองสิทธิ หรือเจ้าของสินทรัพย์ เน้นเฉพาะผู้ครอบครองสิทธิรายย่อยหรือธุรกิจขนาดเล็ก ในกลุ่มสินทรัพย์ที่เป็นเป้าหมายหลัก คือ ทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องจักร สินทรัพย์ที่เป็นเป้าหมายรองคือ ที่ดิน ทรัพย์ติดที่ดิน หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่สาธารณะ หนังสือรับรองอื่น ๆ รวมทั้งสัญญาเช่า /เช่าซื้อ
(3) ผลการดำเนินโครงการได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สร้างโอกาสให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งทุนของสถาบันการเงิน โดยในช่วงปี 2548-2549 มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อไปแล้วรวม 4,389 ราย วงเงินรวม 813 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. นอกจากนี้การดำเนินโครงการยังได้ช่วยสนับสนุนภารกิจของธนาคาร 3 ประสาน ได้เป็นอย่างดีทั้งในด้านการเตรียมความพร้อมให้กับลูกค้าธนาคารในการเข้าถึงสินเชื่อ และช่วยให้มีการใช้สินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกิจกรรมโครงการยังมีลักษณะสอดคล้องกับกิจกรรมที่ธนาคาร 3 ประสาน ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ละธนาคารจึงยืนยันถึงความพร้อมที่จะสามารถดำเนินการต่อเนื่องขยายผลได้ ภายใต้ภารกิจแผนงานของแต่ละธนาคารเอง เพื่อสามารถดูแลกลุ่มลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการได้อย่างยั่งยืนต่อไป
(4) คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับแผนการดำเนินโครงการฟูมฟักผู้ประกอบการฯ ในปีงบประมาณ 2550 ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการประเมินผลและถ่ายโอนภารกิจ สปท. เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพสอดคล้องตามกรอบแนวทางการถ่ายโอนภารกิจ สปท. โดยให้ถ่ายโอนภารกิจโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยงบประมาณในวงเงิน 70.362 ล้านบาท เบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการที่ สปท. ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ 2550 ในวงเงินรวม 94.01 ล้านบาท ให้ ธพว. ดำเนินโครงการโดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
- ระยะแรกตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 ครอบคลุมพื้นที่ 75 จังหวัดเน้นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโครงการของธนาคาร 3 ประสาน และคัดสรรผู้เข้ารับการอบรมยกระดับเพิ่มขีดความสามารถและเสริมอาชีพผู้ประกอบการ
- ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 จนสิ้นสุดปีงบประมาณ 2550 ปรับลดเป้าหมายการปฏิบัติงาน เน้นจังหวัดที่มีศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายของ ธพว. และโครงการฟูมฟักผู้ประกอบการฯ ใน 30 จังหวัด โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพเข้ารับการพัฒนาความรู้เพิ่มเติมในการจัดทำแผนธุรกิจสำหรับธุรกิจขนาดย่อม
- โดยมีค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2550 รวม 70.362 ล้านบาท ครอบคลุมงบบุคลากรจำนวน 31.464 ล้านบาท งบสำหรับหน่วยรถเคลื่อนที่ (Mobile Unit) จำนวน 27.648 ล้านบาท และงบฝึกอบรม (Training Program) จำนวน 11.25 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม 2547 และขอความเห็นชอบให้ถ่ายโอนภารกิจโครงการดังกล่าวให้ ธพว. ดำเนินการโครงการตามแผนงานที่ปรับปรุงในปีงบประมาณ 2550 วงเงินงบประมาณ 70.362 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2551 เห็นควรให้ถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวให้ ธพว. ธกส. และธนาคารออมสินรับไปดำเนินการเองภายใต้ภารกิจแผนงานและงบประมาณของแต่ละธนาคารต่อไป
2. ผลการเจรจาข้อสัญญาและข้อตกลงต่างๆ ของ สปท.
(1) คณะกรรมการฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการยกเลิก สปท. โดยมีผลการเจรจาข้อสัญญาประเภทต่าง ๆ ที่ได้เจรจาต่อรองกับคู่สัญญาเพื่อปรับลดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง จนได้ข้อยุติแล้ว รวม 18 สัญญา สามารถปรับลดระยะเวลาจ้างได้ไม่เกินเดือนมิถุนายน 2550 และสามารถปรับลดวงเงินลงได้ประมาณ 3.198 ล้านบาท
(2) สำหรับสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ ที่เหลือ 5 สัญญา คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดค่าเสียหายกับสัญญาเช่าเครื่องใช้และอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้สามารถปรับลดวงเงินลงได้อีกประมาณ 0.107 ล้านบาท และให้ สปท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ส่วนสัญญาจ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษาวิจัยเตรียมความพร้อมและการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการฯ เห็นชอบให้ดำเนินการเจรจาต่อรองเพิ่มเติมกับที่ปรึกษา ฯ เพื่อปรับลดวงเงินลงอีก จากเบื้องต้นซึ่งปรับลดได้เพียง 0.205 ล้านบาท และให้ที่ปรึกษายืนยันคุณภาพของผลงานด้วย
3. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ชุดต่าง ๆ
(1) คณะกรรมการฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประเมินผลและถ่ายโอนภารกิจของ สปท. ในการจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยสปท. ได้ลงนามในสัญญาจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อดำเนินการประเมินผลนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนตามขอบเขต รายละเอียดข้อกำหนดการศึกษา (Term of Reference) ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ แล้วมีกำหนดแล้วเสร็จใน 90 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
(2) คณะกรรมการ ฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิก สปท. ขึ้น ตามคำสั่ง ที่ 3/2550 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อทำหน้าที่พิจารณายกร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิก สปท. ให้การนำเสนอพิจารณาเป็นไปอย่างถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 โดยมีนางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นประธานอนุกรรมการ และผู้แทนจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง เป็นอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ สปท. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--