คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2549 สรุปได้ดังนี้
1. การจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับอนุมัติวงเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน 6,305.75 ล้านบาท (ตามอ้างถึง 1) ได้รับจัดสรรเงินงวดและโอนเข้า ธ.ก.ส. แล้ว 4,373.31 ล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2550 รวมจ่ายเงินแล้วทั้งสิ้น 4,2090.82 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.26 ของวงเงินที่ได้รับจัดสรร แบ่งเป็น
เป้าหมาย ผลการจ่ายเงิน ร้อยละของเป้าหมาย
ด้าน จังหวัด เกษตรกร วงเงิน จังหวัด เกษตรกร วงเงิน เกษตรกร วงเงิน
(ราย) (ล้านบาท) (ราย) (ล้านบาท)
พืช 31 397,049 3,467.91 31 394,106 3,438.46 99.26 99.15
ประมง 38 99,991 881.10 38 104,600 748.35 104.61 84.93
ปศุสัตว์ 22 11,119 24.30 22 10,573 23.01 95.09 94.69
รวม 40 508,159 4,373.31 40 509,279 4,209.82 100.22 96.26
สำหรับเกษตรกรเป้าหมายที่ยังไม่มารับเงินช่วยเหลือ เนื่องจากเสียชีวิต เจ็บป่วย ไม่สามารถติดตามตัวมาเปิดบัญชีได้ และเกษตรกรได้รับเงินจำนวนน้อย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แจ้งไปยังจังหวัดเพื่อกำหนดเวลาสิ้นสุดภายในวันที่ 31 มีนาคม 2550 ด้วยแล้ว
2. การพักชำระหนี้ เกษตรกรแจ้งความจำนงขอพักชำระหนี้ 418 ราย วงเงินขอพักชำระหนี้ 808.51 ล้านบาท
2.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเกณฑ์ดังนี้
1) คณะทำงานกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับกรม กลั่นกรองรายชื่อเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ที่ได้แจ้งความเสียหายกับจังหวัด
2) หนี้ที่ได้รับการพักชำระต้องเป็นหนี้ที่นำไปใช้ด้านการเกษตร และตามพื้นที่ที่เสียหายจริง
3) หนี้ที่ได้รับการพักชำระต้องเป็นหนี้ที่เสียหายจากอุทกภัยปี 2549
4) ต้องเป็นมูลหนี้ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2549
2.2 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์มีเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์เป็นหนี้กับสถาบันการเงินและสหกรณ์การเกษตร รวม 418 ราย แยกเป็น หนี้สถาบันการเงิน 256 ราย วงเงิน 768.44 ล้านบาท และสหกรณ์การเกษตร 18 ราย 10.29 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้แจ้งขอความร่วมมือสมาคมธนาคารไทย และกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป
2.3 ในส่วนของเกษตรกรที่ไม่ให้รายละเอียดสถาบันการเงินอีก 144 ราย จะทำการตรวจสอบต่อไป
3. การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน เกษตรกรที่มีความประสงค์แจ้งขอรับความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นจำนวน 545 ราย แต่เนื่องจากมีประเด็นจากมติคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นไปดำเนินการในกรณีให้ใช้หลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประกอบการช่วยเหลือ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีประเด็นข้อเท็จจริงพิจารณาและดำเนินการตามความก้าวหน้าดังนี้
3.1 ประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา
1) การชำระภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีความหลากหลายไม่เท่ากัน
2) การชำระภาษีมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ไม่เป็นสัดส่วนที่แสดงได้ว่า การเสียภาษีมากมีรายได้มาก การเสียภาษีน้อยมีรายได้น้อย
3) จำนวนเงินที่ชำระภาษีไม่สามารถสื่อแสดงถึงจำนวนเงินรายได้ของเกษตรกรแต่ละราย เนื่องจากการชำระภาษีเงินได้จะมีรายการยกเว้นและลดหย่อนมากมายหลายรายการ แต่ละบุคคลผู้ชำระภาษีจะได้รับลดหย่อนยกเว้นแตกต่างกัน
4) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่สามารถขอรายละเอียด การเสียภาษีจากกรมสรรพากรเนื่องจากเป็นความลับตามเงื่อนไขกฎหมาย
5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าใจว่าเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกษตรกรได้เห็นความสำคัญและเพื่อแสดงตนเข้าอยู่ในกระบวนการฐานภาษีของประเทศ
3.2 กำหนดเกณฑ์ประกอบตามความเห็นคณะรัฐมนตรีในการใช้หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ประกอบการพิจารณา
สืบเนื่องจากประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา การใช้หลักฐานชำระภาษีเงินได้จะไม่สามารถนำมาคำนวณรายได้ว่าเกษตรกรมีรายได้เท่าไร รวมทั้งเกษตรกรบางรายยังไม่มีหลักฐานแสดงตนการเสียภาษี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนดเกณฑ์ให้เกษตรกรผู้ขอรับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ต้องแนบหลักฐานการชำระภาษีเงินได้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะไม่นำยอดเงินชำระภาษีมาประกอบพิจารณาอนุมัติยอดวงเงินการให้ความช่วยเหลือ โดยสรุปเป็นเกณฑ์ดังนี้
1) คณะทำงานกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบภัยปี 2549 ระดับกรม กลั่นกรองเกษตรกรที่ประสบภัยปี 2549 ที่ได้แจ้งความเสียหายไว้กับจังหวัด
2) อัตราการช่วยเหลือเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย
3) เกษตรกรผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องแนบหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สำหรับเกษตรกรผู้ไม่มีหลักฐานการชำระภาษีให้ไปยื่นความจำนงค์เพื่อขอชำระภาษีให้ได้รับเอกสารหลักฐานการชำระภาษีได้ที่สรรพากรจังหวัด
4) เกษตรกรผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องมีรายชื่อในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งครอบคลุมเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยด้วยแล้ว
3.3 ความก้าวหน้าดำเนินการ เกษตรกรได้แจ้งขอรับความช่วยเหลือ รวม 545 ราย แยกเป็น
1) ผ่านเกณฑ์มีเอกสารการชำระภาษี 158 ราย แยกเป็น ด้านพืช 53 ราย ด้านปศุสัตว์ 51 ราย และด้านประมง 54 ราย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าจะจ่ายให้เรียบร้อยภายในวันที่ 15 เมษายน 2550
2) เกษตรกรที่ไม่มีหลักฐานการชำระภาษีรวม 387 ราย แยกเป็นด้านพืช 99 ราย ด้านปศุสัตว์ 61 ราย ด้านประมง 227 ราย ทั้งนี้ได้ประสานให้เร่งดำเนินการส่งหลักฐานการชำระภาษี คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2550
ทั้งนี้ การช่วยเหลือจะไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
1. การจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับอนุมัติวงเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน 6,305.75 ล้านบาท (ตามอ้างถึง 1) ได้รับจัดสรรเงินงวดและโอนเข้า ธ.ก.ส. แล้ว 4,373.31 ล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2550 รวมจ่ายเงินแล้วทั้งสิ้น 4,2090.82 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.26 ของวงเงินที่ได้รับจัดสรร แบ่งเป็น
เป้าหมาย ผลการจ่ายเงิน ร้อยละของเป้าหมาย
ด้าน จังหวัด เกษตรกร วงเงิน จังหวัด เกษตรกร วงเงิน เกษตรกร วงเงิน
(ราย) (ล้านบาท) (ราย) (ล้านบาท)
พืช 31 397,049 3,467.91 31 394,106 3,438.46 99.26 99.15
ประมง 38 99,991 881.10 38 104,600 748.35 104.61 84.93
ปศุสัตว์ 22 11,119 24.30 22 10,573 23.01 95.09 94.69
รวม 40 508,159 4,373.31 40 509,279 4,209.82 100.22 96.26
สำหรับเกษตรกรเป้าหมายที่ยังไม่มารับเงินช่วยเหลือ เนื่องจากเสียชีวิต เจ็บป่วย ไม่สามารถติดตามตัวมาเปิดบัญชีได้ และเกษตรกรได้รับเงินจำนวนน้อย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แจ้งไปยังจังหวัดเพื่อกำหนดเวลาสิ้นสุดภายในวันที่ 31 มีนาคม 2550 ด้วยแล้ว
2. การพักชำระหนี้ เกษตรกรแจ้งความจำนงขอพักชำระหนี้ 418 ราย วงเงินขอพักชำระหนี้ 808.51 ล้านบาท
2.1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเกณฑ์ดังนี้
1) คณะทำงานกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ระดับกรม กลั่นกรองรายชื่อเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปี 2549 ที่ได้แจ้งความเสียหายกับจังหวัด
2) หนี้ที่ได้รับการพักชำระต้องเป็นหนี้ที่นำไปใช้ด้านการเกษตร และตามพื้นที่ที่เสียหายจริง
3) หนี้ที่ได้รับการพักชำระต้องเป็นหนี้ที่เสียหายจากอุทกภัยปี 2549
4) ต้องเป็นมูลหนี้ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2549
2.2 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์มีเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์เป็นหนี้กับสถาบันการเงินและสหกรณ์การเกษตร รวม 418 ราย แยกเป็น หนี้สถาบันการเงิน 256 ราย วงเงิน 768.44 ล้านบาท และสหกรณ์การเกษตร 18 ราย 10.29 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้แจ้งขอความร่วมมือสมาคมธนาคารไทย และกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป
2.3 ในส่วนของเกษตรกรที่ไม่ให้รายละเอียดสถาบันการเงินอีก 144 ราย จะทำการตรวจสอบต่อไป
3. การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน เกษตรกรที่มีความประสงค์แจ้งขอรับความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นจำนวน 545 ราย แต่เนื่องจากมีประเด็นจากมติคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นไปดำเนินการในกรณีให้ใช้หลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประกอบการช่วยเหลือ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีประเด็นข้อเท็จจริงพิจารณาและดำเนินการตามความก้าวหน้าดังนี้
3.1 ประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา
1) การชำระภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีความหลากหลายไม่เท่ากัน
2) การชำระภาษีมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ไม่เป็นสัดส่วนที่แสดงได้ว่า การเสียภาษีมากมีรายได้มาก การเสียภาษีน้อยมีรายได้น้อย
3) จำนวนเงินที่ชำระภาษีไม่สามารถสื่อแสดงถึงจำนวนเงินรายได้ของเกษตรกรแต่ละราย เนื่องจากการชำระภาษีเงินได้จะมีรายการยกเว้นและลดหย่อนมากมายหลายรายการ แต่ละบุคคลผู้ชำระภาษีจะได้รับลดหย่อนยกเว้นแตกต่างกัน
4) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่สามารถขอรายละเอียด การเสียภาษีจากกรมสรรพากรเนื่องจากเป็นความลับตามเงื่อนไขกฎหมาย
5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าใจว่าเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกษตรกรได้เห็นความสำคัญและเพื่อแสดงตนเข้าอยู่ในกระบวนการฐานภาษีของประเทศ
3.2 กำหนดเกณฑ์ประกอบตามความเห็นคณะรัฐมนตรีในการใช้หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ประกอบการพิจารณา
สืบเนื่องจากประเด็นที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา การใช้หลักฐานชำระภาษีเงินได้จะไม่สามารถนำมาคำนวณรายได้ว่าเกษตรกรมีรายได้เท่าไร รวมทั้งเกษตรกรบางรายยังไม่มีหลักฐานแสดงตนการเสียภาษี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนดเกณฑ์ให้เกษตรกรผู้ขอรับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ต้องแนบหลักฐานการชำระภาษีเงินได้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะไม่นำยอดเงินชำระภาษีมาประกอบพิจารณาอนุมัติยอดวงเงินการให้ความช่วยเหลือ โดยสรุปเป็นเกณฑ์ดังนี้
1) คณะทำงานกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการเกษตรที่ประสบภัยปี 2549 ระดับกรม กลั่นกรองเกษตรกรที่ประสบภัยปี 2549 ที่ได้แจ้งความเสียหายไว้กับจังหวัด
2) อัตราการช่วยเหลือเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย
3) เกษตรกรผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องแนบหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สำหรับเกษตรกรผู้ไม่มีหลักฐานการชำระภาษีให้ไปยื่นความจำนงค์เพื่อขอชำระภาษีให้ได้รับเอกสารหลักฐานการชำระภาษีได้ที่สรรพากรจังหวัด
4) เกษตรกรผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องมีรายชื่อในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งครอบคลุมเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยด้วยแล้ว
3.3 ความก้าวหน้าดำเนินการ เกษตรกรได้แจ้งขอรับความช่วยเหลือ รวม 545 ราย แยกเป็น
1) ผ่านเกณฑ์มีเอกสารการชำระภาษี 158 ราย แยกเป็น ด้านพืช 53 ราย ด้านปศุสัตว์ 51 ราย และด้านประมง 54 ราย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าจะจ่ายให้เรียบร้อยภายในวันที่ 15 เมษายน 2550
2) เกษตรกรที่ไม่มีหลักฐานการชำระภาษีรวม 387 ราย แยกเป็นด้านพืช 99 ราย ด้านปศุสัตว์ 61 ราย ด้านประมง 227 ราย ทั้งนี้ได้ประสานให้เร่งดำเนินการส่งหลักฐานการชำระภาษี คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2550
ทั้งนี้ การช่วยเหลือจะไม่เกินกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--