แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
กรมการขนส่งทางบก
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
จังหวัดน่าน
เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในปี 2549 ในพื้นที่อีก 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เลย ระยอง สระแก้ว สมุทรปราการ กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ 47 จังหวัด ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยในปี 2549 ทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินวงเงินที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและอนุมัติไว้แล้วเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 จำนวน 2,926.16 ล้านบาท
กระทรวงการคลังรายงานว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในปี 2549 ในพื้นที่อีก 11 จังหวัด ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ 47 จังหวัด ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ จังหวัดน่าน มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เลย ระยอง สระแก้ว สมุทรปราการ กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร และประจวบคีรีขันธ์ โดยประมาณการความเสียหาย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2549 จำนวนวงเงินที่จะต้องชดเชยให้ ธ.ก.ส. ประมาณ 215.31 ล้านบาท ซึ่งจำนวนวงเงินที่ขอชดเชยนี้ยังสามารถใช้วงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและได้อนุมัติไปแล้ว คือ จำนวน 2,926.16 ล้านบาท โดยไม่ต้องขอเพิ่มงบประมาณแต่อย่างใด
มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2549 มีรายละเอียด ดังนี้
1. กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเองโดยมีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต 18 ราย จากต้นเงินกู้ 1.76 ล้านบาท
2. กรณีเกษตรกรลูกค้าไม่เสียชีวิตและประสบภัยอย่างร้ายแรงมี 2 กรณี คือ
2.1 หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
1) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
2) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549 — 2551 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดีลบ 1 (MRR -1) ซึ่งขณะนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 ต่อปี
2.2 การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ ธ.ก.ส. เรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้าร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งเป็นวงเงินที่รัฐต้องรับภาระ 242.96 ล้านบาท จากต้นเงินกู้ของ ธ.ก.ส. 4,049.40 ล้านบาท
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
(ก) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
(ข) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยที่เสนอมานี้ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ได้ครอบคลุมและมีความเท่าเทียมกันทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงการคลังรายงานว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในปี 2549 ในพื้นที่อีก 11 จังหวัด ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ 47 จังหวัด ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ จังหวัดน่าน มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เลย ระยอง สระแก้ว สมุทรปราการ กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร และประจวบคีรีขันธ์ โดยประมาณการความเสียหาย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2549 จำนวนวงเงินที่จะต้องชดเชยให้ ธ.ก.ส. ประมาณ 215.31 ล้านบาท ซึ่งจำนวนวงเงินที่ขอชดเชยนี้ยังสามารถใช้วงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและได้อนุมัติไปแล้ว คือ จำนวน 2,926.16 ล้านบาท โดยไม่ต้องขอเพิ่มงบประมาณแต่อย่างใด
มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยปี 2549 มีรายละเอียด ดังนี้
1. กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเองโดยมีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต 18 ราย จากต้นเงินกู้ 1.76 ล้านบาท
2. กรณีเกษตรกรลูกค้าไม่เสียชีวิตและประสบภัยอย่างร้ายแรงมี 2 กรณี คือ
2.1 หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัย
1) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี
2) งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2549 — 2551 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดีลบ 1 (MRR -1) ซึ่งขณะนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 ต่อปี
2.2 การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
1) ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 30,000 บาท
2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ ธ.ก.ส. เรียกเก็บจากเกษตรกรลูกค้าร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งเป็นวงเงินที่รัฐต้องรับภาระ 242.96 ล้านบาท จากต้นเงินกู้ของ ธ.ก.ส. 4,049.40 ล้านบาท
3) กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้
(ก) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง
(ข) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบอุทกภัยที่เสนอมานี้ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ได้ครอบคลุมและมีความเท่าเทียมกันทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤษภาคม 2550--จบ--