คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์คุณภาพน้ำทั่วประเทศและการดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีปลาตายในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา สรุปได้ดังนี้
1. คุณภาพน้ำปี 2549
การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง (กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาน และทะเลสาบสงขลา) โดยประเมินจากมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งผิวดินร่วมกับดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ เสื่อมโทรมและเสื่อมโทรมมากคิดเป็นร้อยละ 21 53 23 และ 3 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบคุณภาพน้ำ 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ ปี 2547 — 2549 พบว่าคุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ดีและเสื่อมโทรมมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่คุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนคุณภาพน้ำในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากค่อนข้างคงที่ แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก คือ แม่น้ำท่าจีนตอนล่างตั้งแต่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครถึงอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พารามิเตอร์ที่บ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก จากการคำนวณเป็นค่าร้อยละของสถานีตรวจวัดทั้งหมด พบว่าเกิดจาก ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ ร้อยละ 29 ค่าออกซิเจนละลายต่ำ ร้อยละ 20 การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มร้อยละ 19 การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ร้อยละ 16 และค่าแอมโมเนีย ร้อยละ 16
2. คุณภาพน้ำในฤดูแล้งปี 2549
การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง (กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาน และทะเลสาบสงขลา) โดยประเมินจากมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งผิวดินร่วมกับดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป พบว่าคุณภาพน้ำโดยเฉลี่ยในฤดูแล้งปี 2549 (ม.ค.-มิ.ย.) อยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก คิดเป็นร้อยละ 25 35 17 และ 5 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำในฤดูแล้งและคุณภาพน้ำเฉลี่ยตลอดทั้งปี พบว่า โดยรวมคุณภาพน้ำทั่วประเทศในฤดูแล้งมีคุณภาพดีกว่าค่าเฉลี่ยน้ำตลอดทั้งปี โดยแหล่งน้ำที่มีคุณภาพเฉลี่ยตลอดปีดีขึ้นมี 5 แหล่ง และแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเฉลี่ยตลอดปีเสื่อมโทรมลงมี 9 แห่ง เป็นที่สังเกตว่า แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่บริเวณพระสมุทรเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ถึง สะพานพระรามหก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากในฤดูแล้งแต่จะกลับมามีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมหากประเมินจากคุณภาพน้ำตลอดทั้งปี
3. การตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ
3.1 สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ
กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติในแม่น้ำสายหลักจำนวน 14 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก ป่าสัก มูล ชี พอง เป็นต้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแบบรายวัน โดยสามารถประมวลผลและเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพน้ำประจำวันผ่านทางเว๊บไซด์ของกรมควบคุมมลพิษ
3.2 สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำเพื่อการเตือนภัย
กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ ให้สามารถตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบออนไลน์ และเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบผลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตือนภัยคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เมื่อคุณภาพน้ำผิดปกติ โดยติดตั้งเพิ่มเติมในแม่น้ำสายหลักในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก ป่าสัก มูล ชี พอง เป็นต้น ปัจจุบันในปี 2550 ได้ติดตั้งสถานีคุณภาพน้ำอัตโนมัติไปแล้วที่แม่น้ำพอง จำนวน 4 สถานี และจะดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 สถานี ที่แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก และในอนาคตจะติดตั้งให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
4. การติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
4.1 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำตามปกติ กรมควบคุมมลพิษได้ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินทั่วประเทศ รวมแม่น้ำสายหลัก 44 แห่ง และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แห่ง รวมสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำทั้งสิ้น 483 สถานี สำหรับแม่น้ำสายหลักจะติดตามตรวจสอบ 4 ครั้งต่อปี และแม่น้ำสายย่อยและคลองสาขา จะติดตามตรวจสอบ 3 ครั้งต่อปี
4.2 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในกรณีฉุกเฉิน กรมควบคุมมลพิษ จะทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทีมเฉพาะกิจ ซึ่งจะทำการเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำทั้งในภาคสนาม และส่งตรวจวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ (สถานีชั่วคราว) เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งเตือนภัยคุณภาพน้ำให้กับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อไป
5. กรณีปลาตายในแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่องทุกวัน ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปลาตาย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 สรุปได้ดังนี้
5.1 ในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ปลาตาย ปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 กรมชลประทานได้ระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีก 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมเป็น 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และยังได้ระบายน้ำจากเขื่อนพระรามหก 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำน้อย บริเวณอำเภอบางไทร อีกจำนวน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยคาดว่าจะสามารถเจือจางน้ำและไล่น้ำเสียลงไปทางท้ายน้ำให้เร็วขึ้น เพื่อจะบรรเทาผลกระทบจากคุณภาพน้ำต่ำในช่วงเวลาดังกล่าว
5.2 มวลน้ำเสีย (มวลน้ำที่มีค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่า 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งปลาหรือสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้) ขนาดของมวลน้ำเสียได้ลดลงจากเดิม 6 กิโลเมตร เป็น 3-4 กิโลเมตร (เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550) และได้เคลื่อนตัวลงมาทางท้ายน้ำในอัตราที่ค่อนข้างช้า โดยคาดว่ามวลน้ำเสียดังกล่าว จะเคลื่อนตัวลงมาถึงอำเภอสามโคก และอำเภอสำแล จังหวัดปทุมธานี ประมาณวันที่ 20 มีนาคม 2550 และถึงจังหวัดนนทบุรี บริเวณสะพานพระราม 6 ประมาณวันที่ 23 มีนาคม 2550 และสะพานกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประมาณวันที่ 24 มีนาคม 2550 ทั้งนี้ ความเร็วของการเคลื่อนตัวของมวลน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณการระบายน้ำของกรมชลประทานและอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ที่อาจทำให้การเคลื่อนของมวลน้ำชะลอตัวหรือเร็วขึ้นได้
5.3 การติดตามคุณภาพน้ำล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 สรุปได้ดังนี้
(1) คุณภาพน้ำบริเวณเหนือจุดเรือบรรทุกน้ำตาลทรายดิบล่ม ที่ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ลงมาถึงบริเวณอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร คุณภาพน้ำเริ่มฟื้นตัว จัดอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าออกซิเจนละลายในน้ำประมาณ 6.0 — 7.2 มิลลิกรัมต่อลิตร
(2) คุณภาพน้ำบริเวณที่มวลน้ำเสียเคลื่อนมาถึงบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 0.8 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 เป็น 3.1 — 3.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ในวันที่ 19 มีนาคม 2550 เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดหาเรือจำนวน 3 ลำ ใช้ล่องเรือติดตามมวลน้ำเสีย เพื่อเติมอากาศและฉีดสเปรย์เชื้อจุลินทรีย์ ทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 — 16 มีนาคม 2550 ที่บริเวณอำเภอบางปะอิน และในวันที่ 17 — 18 มีนาคม 2550 ที่บริเวณอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำที่เพิ่มขึ้นภายหลังจากการเติมอากาศมีโอกาสที่จะลดลงได้อีก เนื่องจากมวลน้ำยังมีปริมาณความสกปรกเหลือค้างอยู่ จึงจำเป็นจะต้องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง
(3) คุณภาพน้ำช่วงท้ายน้ำ (ช่วงที่มวลน้ำเสียยังเคลื่อนไปไม่ถึง) ตั้งแต่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ลงไปถึง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร วัดค่าออกซิเจนละลายน้ำได้ในระดับปกติของลำน้ำบริเวณนี้ 3.8 — 4.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ยังไม่ได้รับผลกระทบจากมวลน้ำเสีย
5.4 ผลการตรวจวัดค่าคุณภาพน้ำอื่น ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และค่าโลหะหนักต่าง ๆ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พบว่า มีค่าค่อนข้างต่ำ และไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน กล่าวคือกรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตั้งแต่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ถึง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จากผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของวันที่ 14 มีนาคม 2550 พบว่าผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแต่ละดัชนีคุณภาพน้ำซึ่งประกอบด้วย ปริมาณซีโอดี (14-22 มิลลิกรัมต่อลิตร) ปริมาณฟอสเฟตทั้งหมด (0.08 — 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร) สารประกอบไนไตรด์-ไนโตรเจน (No2 -N) (น้อยกว่า 0.01 — 0.06 มิลลิกรัมต่อลิตร) สารประกอบไนเตรด-ไนโตรเจน (No3 - N) (0.03 — 0.58 มิลลิกรัมต่อลิตร) สารประกอบแอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3 - N) (น้อยกว่า 0.01 — 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร) และปริมาณโลหะหนัก (Cu, Cd, Cr, Pb, Mn, Ni, Zn, Fe และ As) ซึ่งในทุกจุดตรวจวัดมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน และไม่พบปริมาณน้ำตาลทราย (ซูโครส) จากการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ
5.5 การประกาศแจ้งเตือนกรณีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม กรมควบคุมมลพิษได้ออกประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง แจ้งเตือนกรณีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการและเผยแพร่ต่อประชาชนต่อไป รวมทั้งแจ้งผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ และเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.pcd.go.th
5.6 ข้อเสนอแนะ
(1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ควรเตรียมการหากได้รับการแจ้งเตือนคุณภาพน้ำโดยเติมอากาศให้กับปลาในกระชังในช่วงเวลาที่มวลน้ำเสียเคลื่อนมาถึง จนกว่ามวลน้ำเสียจะเคลื่อนผ่านไปเพื่อบรรเทาปัญหา และให้ปลาสามารถอยู่รอดได้
(2) การประปาส่วนภูมิภาค กรณีที่ต้องสูบน้ำเข้าโรงผลิตน้ำประปาในช่วงคุณภาพน้ำต่ำ ควรเตรียมการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษ
(3) จังหวัด หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนภัยร่วมกัน
(4) จังหวัดสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
1. คุณภาพน้ำปี 2549
การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง (กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาน และทะเลสาบสงขลา) โดยประเมินจากมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งผิวดินร่วมกับดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ เสื่อมโทรมและเสื่อมโทรมมากคิดเป็นร้อยละ 21 53 23 และ 3 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบคุณภาพน้ำ 3 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ ปี 2547 — 2549 พบว่าคุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ดีและเสื่อมโทรมมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่คุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนคุณภาพน้ำในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากค่อนข้างคงที่ แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก คือ แม่น้ำท่าจีนตอนล่างตั้งแต่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครถึงอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พารามิเตอร์ที่บ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก จากการคำนวณเป็นค่าร้อยละของสถานีตรวจวัดทั้งหมด พบว่าเกิดจาก ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ ร้อยละ 29 ค่าออกซิเจนละลายต่ำ ร้อยละ 20 การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มร้อยละ 19 การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ร้อยละ 16 และค่าแอมโมเนีย ร้อยละ 16
2. คุณภาพน้ำในฤดูแล้งปี 2549
การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง (กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาน และทะเลสาบสงขลา) โดยประเมินจากมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งผิวดินร่วมกับดัชนีคุณภาพน้ำทั่วไป พบว่าคุณภาพน้ำโดยเฉลี่ยในฤดูแล้งปี 2549 (ม.ค.-มิ.ย.) อยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก คิดเป็นร้อยละ 25 35 17 และ 5 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำในฤดูแล้งและคุณภาพน้ำเฉลี่ยตลอดทั้งปี พบว่า โดยรวมคุณภาพน้ำทั่วประเทศในฤดูแล้งมีคุณภาพดีกว่าค่าเฉลี่ยน้ำตลอดทั้งปี โดยแหล่งน้ำที่มีคุณภาพเฉลี่ยตลอดปีดีขึ้นมี 5 แหล่ง และแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเฉลี่ยตลอดปีเสื่อมโทรมลงมี 9 แห่ง เป็นที่สังเกตว่า แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่บริเวณพระสมุทรเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ถึง สะพานพระรามหก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากในฤดูแล้งแต่จะกลับมามีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมหากประเมินจากคุณภาพน้ำตลอดทั้งปี
3. การตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ
3.1 สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ
กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติในแม่น้ำสายหลักจำนวน 14 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก ป่าสัก มูล ชี พอง เป็นต้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแบบรายวัน โดยสามารถประมวลผลและเผยแพร่ข้อมูลคุณภาพน้ำประจำวันผ่านทางเว๊บไซด์ของกรมควบคุมมลพิษ
3.2 สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำเพื่อการเตือนภัย
กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ ให้สามารถตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบออนไลน์ และเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบผลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตือนภัยคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เมื่อคุณภาพน้ำผิดปกติ โดยติดตั้งเพิ่มเติมในแม่น้ำสายหลักในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก ป่าสัก มูล ชี พอง เป็นต้น ปัจจุบันในปี 2550 ได้ติดตั้งสถานีคุณภาพน้ำอัตโนมัติไปแล้วที่แม่น้ำพอง จำนวน 4 สถานี และจะดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 สถานี ที่แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก และในอนาคตจะติดตั้งให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
4. การติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
4.1 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำตามปกติ กรมควบคุมมลพิษได้ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินทั่วประเทศ รวมแม่น้ำสายหลัก 44 แห่ง และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แห่ง รวมสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำทั้งสิ้น 483 สถานี สำหรับแม่น้ำสายหลักจะติดตามตรวจสอบ 4 ครั้งต่อปี และแม่น้ำสายย่อยและคลองสาขา จะติดตามตรวจสอบ 3 ครั้งต่อปี
4.2 การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในกรณีฉุกเฉิน กรมควบคุมมลพิษ จะทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทีมเฉพาะกิจ ซึ่งจะทำการเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำทั้งในภาคสนาม และส่งตรวจวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติ (สถานีชั่วคราว) เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งเตือนภัยคุณภาพน้ำให้กับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อไป
5. กรณีปลาตายในแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่องทุกวัน ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปลาตาย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 สรุปได้ดังนี้
5.1 ในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ปลาตาย ปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมาจากเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 กรมชลประทานได้ระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีก 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมเป็น 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และยังได้ระบายน้ำจากเขื่อนพระรามหก 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเพิ่มการระบายน้ำจากแม่น้ำน้อย บริเวณอำเภอบางไทร อีกจำนวน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยคาดว่าจะสามารถเจือจางน้ำและไล่น้ำเสียลงไปทางท้ายน้ำให้เร็วขึ้น เพื่อจะบรรเทาผลกระทบจากคุณภาพน้ำต่ำในช่วงเวลาดังกล่าว
5.2 มวลน้ำเสีย (มวลน้ำที่มีค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่า 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งปลาหรือสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้) ขนาดของมวลน้ำเสียได้ลดลงจากเดิม 6 กิโลเมตร เป็น 3-4 กิโลเมตร (เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550) และได้เคลื่อนตัวลงมาทางท้ายน้ำในอัตราที่ค่อนข้างช้า โดยคาดว่ามวลน้ำเสียดังกล่าว จะเคลื่อนตัวลงมาถึงอำเภอสามโคก และอำเภอสำแล จังหวัดปทุมธานี ประมาณวันที่ 20 มีนาคม 2550 และถึงจังหวัดนนทบุรี บริเวณสะพานพระราม 6 ประมาณวันที่ 23 มีนาคม 2550 และสะพานกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประมาณวันที่ 24 มีนาคม 2550 ทั้งนี้ ความเร็วของการเคลื่อนตัวของมวลน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณการระบายน้ำของกรมชลประทานและอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ที่อาจทำให้การเคลื่อนของมวลน้ำชะลอตัวหรือเร็วขึ้นได้
5.3 การติดตามคุณภาพน้ำล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 สรุปได้ดังนี้
(1) คุณภาพน้ำบริเวณเหนือจุดเรือบรรทุกน้ำตาลทรายดิบล่ม ที่ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ลงมาถึงบริเวณอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร คุณภาพน้ำเริ่มฟื้นตัว จัดอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าออกซิเจนละลายในน้ำประมาณ 6.0 — 7.2 มิลลิกรัมต่อลิตร
(2) คุณภาพน้ำบริเวณที่มวลน้ำเสียเคลื่อนมาถึงบริเวณศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 0.8 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 เป็น 3.1 — 3.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ในวันที่ 19 มีนาคม 2550 เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดหาเรือจำนวน 3 ลำ ใช้ล่องเรือติดตามมวลน้ำเสีย เพื่อเติมอากาศและฉีดสเปรย์เชื้อจุลินทรีย์ ทำให้ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 — 16 มีนาคม 2550 ที่บริเวณอำเภอบางปะอิน และในวันที่ 17 — 18 มีนาคม 2550 ที่บริเวณอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำที่เพิ่มขึ้นภายหลังจากการเติมอากาศมีโอกาสที่จะลดลงได้อีก เนื่องจากมวลน้ำยังมีปริมาณความสกปรกเหลือค้างอยู่ จึงจำเป็นจะต้องเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง
(3) คุณภาพน้ำช่วงท้ายน้ำ (ช่วงที่มวลน้ำเสียยังเคลื่อนไปไม่ถึง) ตั้งแต่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ลงไปถึง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร วัดค่าออกซิเจนละลายน้ำได้ในระดับปกติของลำน้ำบริเวณนี้ 3.8 — 4.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ยังไม่ได้รับผลกระทบจากมวลน้ำเสีย
5.4 ผลการตรวจวัดค่าคุณภาพน้ำอื่น ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และค่าโลหะหนักต่าง ๆ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พบว่า มีค่าค่อนข้างต่ำ และไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน กล่าวคือกรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตั้งแต่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ถึง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จากผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของวันที่ 14 มีนาคม 2550 พบว่าผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแต่ละดัชนีคุณภาพน้ำซึ่งประกอบด้วย ปริมาณซีโอดี (14-22 มิลลิกรัมต่อลิตร) ปริมาณฟอสเฟตทั้งหมด (0.08 — 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร) สารประกอบไนไตรด์-ไนโตรเจน (No2 -N) (น้อยกว่า 0.01 — 0.06 มิลลิกรัมต่อลิตร) สารประกอบไนเตรด-ไนโตรเจน (No3 - N) (0.03 — 0.58 มิลลิกรัมต่อลิตร) สารประกอบแอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3 - N) (น้อยกว่า 0.01 — 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร) และปริมาณโลหะหนัก (Cu, Cd, Cr, Pb, Mn, Ni, Zn, Fe และ As) ซึ่งในทุกจุดตรวจวัดมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน และไม่พบปริมาณน้ำตาลทราย (ซูโครส) จากการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ
5.5 การประกาศแจ้งเตือนกรณีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม กรมควบคุมมลพิษได้ออกประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง แจ้งเตือนกรณีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการและเผยแพร่ต่อประชาชนต่อไป รวมทั้งแจ้งผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ และเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.pcd.go.th
5.6 ข้อเสนอแนะ
(1) เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ควรเตรียมการหากได้รับการแจ้งเตือนคุณภาพน้ำโดยเติมอากาศให้กับปลาในกระชังในช่วงเวลาที่มวลน้ำเสียเคลื่อนมาถึง จนกว่ามวลน้ำเสียจะเคลื่อนผ่านไปเพื่อบรรเทาปัญหา และให้ปลาสามารถอยู่รอดได้
(2) การประปาส่วนภูมิภาค กรณีที่ต้องสูบน้ำเข้าโรงผลิตน้ำประปาในช่วงคุณภาพน้ำต่ำ ควรเตรียมการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษ
(3) จังหวัด หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามตรวจสอบเพื่อแจ้งเตือนภัยร่วมกัน
(4) จังหวัดสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--