แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สุขภัณฑ์กะรัต
คณะรัฐมนตรี
บล.บัวหลวง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยเห็นว่าการปฏิรูประบบราชการมีหลักการให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้รับผิดชอบในภารกิจที่ชัดเจน และมีการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการที่ไม่จำเป็น เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัวและตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นภารกิจประการหนึ่งของรัฐที่กำหนดขึ้นในการปฏิรูประบบราชการเพื่อให้เกิดความชัดเจนในภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และจัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ การบริหารกฎหมายโดยอาศัยรูปแบบ “คณะกรรมการ” นั้น จะทำให้เกิดการล่าช้าไม่ทันหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการจะดำเนินการเรื่องใดจะต้องมีการประชุมและมีมติเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ จึงเห็นว่า การกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารกฎหมายไม่เหมาะสม สมควรกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้รับผิดชอบและเป็นหน่วยงานกลางในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีหน้าที่ในการจัดทำนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ เพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการต่อไป ซึ่งในการจัดทำแผนดังกล่าวได้กำหนดให้มีการร่วมกันจัดทำในระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว จึงทำให้สามารถประสานการดำเนินงานได้ตั้งแต่ระยะต้น ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยและขอให้ดำเนินการต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดนิยามคำว่า “สาธารณภัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย และภัยอื่นใดอันมีผลกระทบอย่างกว้างขวางแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชนหรือทรัพย์สินของรัฐ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือการกระทำของมนุษย์ (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการมีอำนาจควบคุมและกำกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองผู้บัญชาการ และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้อำนวยการกลางมีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 6 ร่างมาตรา 8 และร่างมาตรา 9)
4. กำหนดให้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติต้องมีสาระสำคัญตามที่กำหนด และเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน (ร่างมาตรา 6 และร่างมาตรา 7)
5. กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการจังหวัด รับผิดชอบและบรรเทาสาธารณภัยในเขตจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นรองผู้อำนวยการจังหวัด และนายอำเภอเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการจังหวัด โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการตามที่กำหนด และการจัดทำแผนฯ ต้องมีสาระสำคัญตามที่กำหนดและต้องสอดคล้องกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ร่างมาตรา 10 ถึงร่างมาตรา 14)
6. ให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่มีหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นแห่งตน โดยมีผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น และให้ปลัดองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการท้องถิ่น (ร่างมาตรา 15)
7. เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่เข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว แล้วแจ้งผู้ช่วยอำนวยการจังหวัดและผู้อำนวยการจังหวัดทราบทันที และเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงมีหน้าที่สนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น (ร่างมาตรา 16 ถึงร่างมาตรา 18)
8. ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยและภยันตรายจากสาธารณภัยนั้นใกล้จะถึง ผู้อำนวยการมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานดัดแปลง ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายสิ่งก่อสร้าง วัสดุ หรือทรัพย์สินของบุคคลใดที่เป็นอุปสรรคแก่การบำบัดปัดป้องภยันตรายได้เท่าที่จำเป็น มีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือสถานที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณที่เกิดสาธารณภัย รวมทั้งให้ผู้อำนวยการและเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามที่กำหนด ตลอดจนมีอำนาจในการสั่งอพยพผู้ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้น และประกาศห้ามมิให้บุคคลใดเข้าอยู่อาศัยหรือดำเนินกิจการใดในพื้นที่ โดยประกาศดังกล่าวต้องกำหนดระยะเวลาการห้ามและเขตพื้นที่ที่ห้ามตามที่จำเป็น (ร่างมาตรา 20 ถึงร่างมาตรา 24)
9. กำหนดให้ผู้อำนวยการในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบสำรวจความเสียหายจากสาธารณภัยที่เกิดขึ้นและทำบัญชีรายชื่อผู้ประสบภัยและทรัพย์สินที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเพื่อเป็นหลักฐานในการรับการสงเคราะห์และฟื้นฟู (ร่างมาตรา 25)
10. ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการผู้อำนวยการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด และหากเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (ร่างมาตรา 26)
11. ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 27)
12. ให้มีแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร โดยต้องมีสาระสำคัญตามที่กำหนด และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งให้มีหน้าที่จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ร่างมาตรา 28 และร่างมาตรา 29)
13. ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นรองผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดและเมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่เข้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว และแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และหากจำเป็นผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐใดก็ได้ (ร่างมาตรา 30 ถึงร่างมาตรา 33)
14. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่โดยให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งการจัดให้มีอาสาสมัครในพื้นที่ที่รับผิดชอบเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนด หรือในกรณีที่องค์การสาธารณกุศลหรือบุคคลใดเข้ามาช่วยเหลือให้ผู้อำนวยการหรือเจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจมอบหมายภารกิจหรือจัดสถานที่ให้องค์การฯ หรือบุคคลดังกล่าวในการให้ความช่วยเหลือได้ (ร่างมาตรา 34 ถึงร่างมาตรา 37)
15. ให้การดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามพระราชบัญญัตินี้ถ้าได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ และได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ผู้ดำเนินการนั้นพ้นจากความผิดและความรับผิดทั้งปวง และหากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้ใดซึ่งมิใช่เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการบำบัดภัยนั้นให้ทางราชการชดเชยความเสียหายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (ร่างมาตรา 38)
16. กำหนดบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฯ (ร่างมาตรา 42 ถึงร่างมาตรา 47)
17. กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 48 ถึง ร่างมาตรา 50)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. .... เสร็จแล้ว โดยเห็นว่าการปฏิรูประบบราชการมีหลักการให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้รับผิดชอบในภารกิจที่ชัดเจน และมีการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการที่ไม่จำเป็น เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัวและตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นภารกิจประการหนึ่งของรัฐที่กำหนดขึ้นในการปฏิรูประบบราชการเพื่อให้เกิดความชัดเจนในภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และจัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ การบริหารกฎหมายโดยอาศัยรูปแบบ “คณะกรรมการ” นั้น จะทำให้เกิดการล่าช้าไม่ทันหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการจะดำเนินการเรื่องใดจะต้องมีการประชุมและมีมติเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ จึงเห็นว่า การกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารกฎหมายไม่เหมาะสม สมควรกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้รับผิดชอบและเป็นหน่วยงานกลางในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีหน้าที่ในการจัดทำนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ เพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการต่อไป ซึ่งในการจัดทำแผนดังกล่าวได้กำหนดให้มีการร่วมกันจัดทำในระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว จึงทำให้สามารถประสานการดำเนินงานได้ตั้งแต่ระยะต้น ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยและขอให้ดำเนินการต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดนิยามคำว่า “สาธารณภัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย และภัยอื่นใดอันมีผลกระทบอย่างกว้างขวางแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชนหรือทรัพย์สินของรัฐ ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ หรือการกระทำของมนุษย์ (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการมีอำนาจควบคุมและกำกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองผู้บัญชาการ และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้อำนวยการกลางมีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 6 ร่างมาตรา 8 และร่างมาตรา 9)
4. กำหนดให้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติต้องมีสาระสำคัญตามที่กำหนด และเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน (ร่างมาตรา 6 และร่างมาตรา 7)
5. กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการจังหวัด รับผิดชอบและบรรเทาสาธารณภัยในเขตจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นรองผู้อำนวยการจังหวัด และนายอำเภอเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการจังหวัด โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการตามที่กำหนด และการจัดทำแผนฯ ต้องมีสาระสำคัญตามที่กำหนดและต้องสอดคล้องกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ร่างมาตรา 10 ถึงร่างมาตรา 14)
6. ให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่มีหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นแห่งตน โดยมีผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการท้องถิ่น และให้ปลัดองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่นั้นเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการท้องถิ่น (ร่างมาตรา 15)
7. เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่ใด ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่เข้าดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว แล้วแจ้งผู้ช่วยอำนวยการจังหวัดและผู้อำนวยการจังหวัดทราบทันที และเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงมีหน้าที่สนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น (ร่างมาตรา 16 ถึงร่างมาตรา 18)
8. ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยและภยันตรายจากสาธารณภัยนั้นใกล้จะถึง ผู้อำนวยการมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานดัดแปลง ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายสิ่งก่อสร้าง วัสดุ หรือทรัพย์สินของบุคคลใดที่เป็นอุปสรรคแก่การบำบัดปัดป้องภยันตรายได้เท่าที่จำเป็น มีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือสถานที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณที่เกิดสาธารณภัย รวมทั้งให้ผู้อำนวยการและเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามที่กำหนด ตลอดจนมีอำนาจในการสั่งอพยพผู้ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้น และประกาศห้ามมิให้บุคคลใดเข้าอยู่อาศัยหรือดำเนินกิจการใดในพื้นที่ โดยประกาศดังกล่าวต้องกำหนดระยะเวลาการห้ามและเขตพื้นที่ที่ห้ามตามที่จำเป็น (ร่างมาตรา 20 ถึงร่างมาตรา 24)
9. กำหนดให้ผู้อำนวยการในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบสำรวจความเสียหายจากสาธารณภัยที่เกิดขึ้นและทำบัญชีรายชื่อผู้ประสบภัยและทรัพย์สินที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเพื่อเป็นหลักฐานในการรับการสงเคราะห์และฟื้นฟู (ร่างมาตรา 25)
10. ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งการผู้บัญชาการผู้อำนวยการ หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด และหากเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (ร่างมาตรา 26)
11. ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 27)
12. ให้มีแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร โดยต้องมีสาระสำคัญตามที่กำหนด และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งให้มีหน้าที่จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ร่างมาตรา 28 และร่างมาตรา 29)
13. ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นรองผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดและเมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัยขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่เข้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยเร็ว และแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และหากจำเป็นผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐใดก็ได้ (ร่างมาตรา 30 ถึงร่างมาตรา 33)
14. ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่โดยให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งการจัดให้มีอาสาสมัครในพื้นที่ที่รับผิดชอบเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนด หรือในกรณีที่องค์การสาธารณกุศลหรือบุคคลใดเข้ามาช่วยเหลือให้ผู้อำนวยการหรือเจ้าพนักงานที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจมอบหมายภารกิจหรือจัดสถานที่ให้องค์การฯ หรือบุคคลดังกล่าวในการให้ความช่วยเหลือได้ (ร่างมาตรา 34 ถึงร่างมาตรา 37)
15. ให้การดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามพระราชบัญญัตินี้ถ้าได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ และได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ผู้ดำเนินการนั้นพ้นจากความผิดและความรับผิดทั้งปวง และหากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้ใดซึ่งมิใช่เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการบำบัดภัยนั้นให้ทางราชการชดเชยความเสียหายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (ร่างมาตรา 38)
16. กำหนดบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฯ (ร่างมาตรา 42 ถึงร่างมาตรา 47)
17. กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามพระราชบัญญัตินี้ และให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 48 ถึง ร่างมาตรา 50)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--