คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ นายสมชาย สุนทรวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำกับติดตามการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี รายงานสรุปปัญหาและการดำเนินการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง ดังนี้
จังหวัดลพบุรี
สถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดลพบุรี
1. จังหวัดลพบุรีประสบภาวะภัยแล้งตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2547 ถึง ปัจจุบัน โดยได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติครั้งแรกที่ อ.บ้านหมี่ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2547 ปัจจุบันประกาศภัยพิบัติแล้วรวม 10 อำเภอ ยกเว้นอำเภอท่าหลวง
2. พื้นที่ประสบภัยแล้งรวม 11 อำเภอ 90 ตำบล 584 หมู่บ้าน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 41,559 ครัวเรือน 117,990 คน
3. พื้นที่การเกษตรเสียหายรวม 391,039.75 ไร่ คิดเป็น 14.40 % ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด แยกเป็น
- พื้นที่นา 167,456.25 ไร่ (15.22 %ของพื้นที่นา)
- พื้นที่ไร่ 209,572.50 ไร่ (13.81 % ของพื้นที่ไร่)
- พื้นที่สวน 14,011.00 ไร่ (0.10 % ของพื้นที่สวน)
รวมมูลค่าความเสียหาย 145,756,666 บาท
4. พื้นที่ที่คาดว่าจะเสียหายรวม 54,938 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2548)
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้งโดยแยกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านน้ำเพื่อการเกษตร
1. ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 33 เครื่อง ทำการสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวได้ จำนวน 117,300 ไร่ คิดเป็น 12.60% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด (778,777 ไร่)
2. หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการย่อยที่กองบิน 2 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 และ ขึ้นบินปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา ปริมาณน้ำฝนโดยรวมวัดได้ 666.95 มม.
3. ได้มีการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน 537,000 ไร่ ให้มีน้ำอุปโภคอย่างเพียงพอ
ด้านน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค
1. แจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแล้ว รวม 10 อำเภอ (ยกเว้น อำเภอท่าหลวง) ใช้รถบรรทุกน้ำ จำนวน 63 คัน แยกเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 5 คัน , เทศบาล 13 คัน , ทหาร 17 คัน อำเภอ/อบต. 17 คัน ปภ. 3 คัน ทรัพยากรน้ำ 4 คัน แขวง ฯ 4 คัน ปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 21,647,600 ลิตร
2. เป่าล้างบ่อบาดาล จำนวน 77 บ่อ (โดยศูนย์ ปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี)
การแก้ไขปัญหาระยะยาว
1. ปรับเปลี่ยน ส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เช่น การเกษตรที่ใช้น้ำน้อย แต่ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า
2. บูรณาการแผนพัฒนาลุ่มน้ำ
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
- จัดให้มีการขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยการสำรวจและออกแบบจัดหาน้ำให้พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของ อ.บ้านหมี่ อ.เมืองลพบุรี และ อ.โคกสำโรง จำนวน 100,000 ไร่
ลุ่มแม่น้ำป่าสัก
- ขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานบริเวณลุ่มน้ำป่าสักโดยจัดทำโครงการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ไปช่วยเหลือพื้นที่ในเขต อ.พัฒนานิคม อ.หนองม่วง อ.สระโบสถ์ และ อ.โคกสำโรง
- ก่อสร้างท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ไปช่วยเหลือการอุปโภคบริโภค เลี้ยงสัตว์ และ ที่การเกษตรในเขต อ.โคกสำโรง อ.สระโบสถ์ และ อ.โคกเจริญ จำนวน 30,000 ไร่
3. ขุดลอกคลองธรรมชาติและขุดสระเก็บน้ำในพื้นที่ต.คลองเกตุ อ.โคกสำโรง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กปร.
4. โครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 5 โครงการ เก็บกักน้ำได้ 19.75 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ชลประทาน 25,400 ไร่ (แผนปี 2548-2553)
5. โครงการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อชุมชน/ชนบท จำนวน 51 โครงการเก็บกักน้ำได้ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (แผนปี 2548-2553)
6. จัดหาและเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ ขุดเจาะบ่อบาดาล 57 แห่ง เป่าล้างบ่อบาดาล ซ่อมเครื่องสูบน้ำ 164 แห่ง ติดตั้งจุดจ่ายน้ำ 20 แห่ง
7. ขุดสระน้ำในนาข้าวขนาดความจุ 1,260 ลบ.ม. จำนวน 800 สระ
จังหวัดสระบุรี
พื้นที่ประสบภัย
1. พื้นที่ประสบภัยแล้ง 13 อำเภอ 65 ตำบล 345 หมู่บ้าน 6,517 ครัวเรือน 12,807 คน
2. พื้นที่ทำการเกษตรที่เสียหายแล้ว แยกเป็น นาข้าว 40,407 ไร่ พืชไร่ 78,625 ไร่ พืชสวน 1,143 ไร่ ก.ช.ภ.จ. อนุมัติเงินทดรองราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัย แล้ว นาข้าว 37,427 ไร่ พืชไร่ 56,661 ไร่ พืชสวน 808 ไร่ จำนวนเงิน 25,765,696.50 บาท งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 100,000 บาท และส่วนราชการอื่น ๆ 3,000 บาท
3. พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย มีดังนี้ นาข้าว 2,980 ไร่ พืชไร่ 21,974 ไร่ พืชสวน 335 ไร่ มูลค่าประมาณ 7,307,650 บาท
การให้ความช่วยเหลือ
1. ระดับจังหวัดและอำเภอ ทุกอำเภอ ดำเนินการตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยจากความแห้งแล้ง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ สำหรับอำเภอ ดำเนินการดังนี้
1.1 ตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน รวม 317 ศูนย์
1.2 ดำเนินกิจกรรม สำรวจ ซ่อมแซมภาชนะเก็บกักน้ำ จำนวน 2,611 แห่ง
2. รวมการแจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค รวมจำนวน 2,479,000 ลิตร โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา จำนวน 1 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค ตำบลลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จำนวน 1,200,000 ลิตร และตำบลท่ามะปราง อำเภอแก่งคอย จำนวน 360,000 ลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา รวมจำนวน 1,560,000 ลิตร อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจกจ่าย จำนวน 919,000 ลิตร (รถบรรทุกน้ำส่งกลับศูนย์ ปภ.เขต 5 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548)
3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 15 เครื่อง
4. สำนักงานโครงการชลประทานสระบุรี สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 8 เครื่อง
5. สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี ดำเนินการรณรงค์ ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรังและแจ้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงบินดำเนินการจัดทำฝนหลวงช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
ปัญหาอุปสรรค
- ราษฎรในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี ส่วนมากไม่ได้รับความเดือดร้อนรุนแรงด้านน้ำบริโภค แต่มีผลกระทบเนื่องจากพื้นที่ทำนาปรังขาดน้ำเพราะการสูบน้ำของโครงการชลประทานสระบุรี เว้นระยะการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักเนื่องจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำในปริมาณต่ำ เพราะน้ำต้นทุนในเขื่อนมีน้อย
- เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงเดือนตุลาคม ถึง มีนาคม 2548 มีระยะเวลายาวนานจึงมีการขยายเวลาในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับการสำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลความเสียหายจากพื้นที่ล่าช้า เพราะพื้นที่การเกษตร(พืชไร่)เสียหายขยายวงกว้าง ทำให้ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ ต้องขยายเวลาตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
การแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาวของจังหวัดสระบุรี
- โครงการชลประทานสระบุรี ร่วมวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งกับเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชตามสภาพน้ำที่ได้รับจัดสรรในแต่ละเดือนรวมทั้งกำหนดพื้นที่เพาะปลูกร่วมกัน
- ประชาสัมพันธ์จังหวัดกับหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกรทราบถึงสถานการณ์น้ำ
- ปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ระหว่าง ปี พ.ศ.2549-2552 เพื่อเป็นการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมและปรับปรุงระบบแพร่กระจายน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการบรรเทาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เขตจังหวัดสระบุรี ดังนี้
- ทำการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 3 โครงการ
- จัดหาแหล่งน้ำเพื่อชุมชน /และชนบท จำนวน 29 โครงการ
- ปรับปรุงระบบชลประทาน จำนวน 44 โครงการ
พร้อมทั้งได้ประสานงานและให้ข้อเสนอแนะกับจังหวัด เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งทั้ง 2 จังหวัด ดังนี้
1. บริหารจัดการน้ำต้นทุนในพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น ขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติ ขุดสระน้ำให้ราษฎรเพิ่มมากขึ้น ก่อสร้างคลองส่งน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของราษฎร
2. ขุดเจาะบ่อบาดาลเพิ่มขึ้น
3. จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดเป็นระยะเร่งด่วน ระยะกลางและแผนงานระยะยาวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
จังหวัดลพบุรี
สถานการณ์ภัยแล้งในจังหวัดลพบุรี
1. จังหวัดลพบุรีประสบภาวะภัยแล้งตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2547 ถึง ปัจจุบัน โดยได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติครั้งแรกที่ อ.บ้านหมี่ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2547 ปัจจุบันประกาศภัยพิบัติแล้วรวม 10 อำเภอ ยกเว้นอำเภอท่าหลวง
2. พื้นที่ประสบภัยแล้งรวม 11 อำเภอ 90 ตำบล 584 หมู่บ้าน
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 41,559 ครัวเรือน 117,990 คน
3. พื้นที่การเกษตรเสียหายรวม 391,039.75 ไร่ คิดเป็น 14.40 % ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด แยกเป็น
- พื้นที่นา 167,456.25 ไร่ (15.22 %ของพื้นที่นา)
- พื้นที่ไร่ 209,572.50 ไร่ (13.81 % ของพื้นที่ไร่)
- พื้นที่สวน 14,011.00 ไร่ (0.10 % ของพื้นที่สวน)
รวมมูลค่าความเสียหาย 145,756,666 บาท
4. พื้นที่ที่คาดว่าจะเสียหายรวม 54,938 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 12 เมษายน 2548)
การให้ความช่วยเหลือ จังหวัดได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้งโดยแยกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านน้ำเพื่อการเกษตร
1. ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 33 เครื่อง ทำการสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวได้ จำนวน 117,300 ไร่ คิดเป็น 12.60% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด (778,777 ไร่)
2. หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการย่อยที่กองบิน 2 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 และ ขึ้นบินปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา ปริมาณน้ำฝนโดยรวมวัดได้ 666.95 มม.
3. ได้มีการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน 537,000 ไร่ ให้มีน้ำอุปโภคอย่างเพียงพอ
ด้านน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค
1. แจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแล้ว รวม 10 อำเภอ (ยกเว้น อำเภอท่าหลวง) ใช้รถบรรทุกน้ำ จำนวน 63 คัน แยกเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 5 คัน , เทศบาล 13 คัน , ทหาร 17 คัน อำเภอ/อบต. 17 คัน ปภ. 3 คัน ทรัพยากรน้ำ 4 คัน แขวง ฯ 4 คัน ปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 21,647,600 ลิตร
2. เป่าล้างบ่อบาดาล จำนวน 77 บ่อ (โดยศูนย์ ปภ.เขต 2 สุพรรณบุรี)
การแก้ไขปัญหาระยะยาว
1. ปรับเปลี่ยน ส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เช่น การเกษตรที่ใช้น้ำน้อย แต่ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า
2. บูรณาการแผนพัฒนาลุ่มน้ำ
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
- จัดให้มีการขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยการสำรวจและออกแบบจัดหาน้ำให้พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของ อ.บ้านหมี่ อ.เมืองลพบุรี และ อ.โคกสำโรง จำนวน 100,000 ไร่
ลุ่มแม่น้ำป่าสัก
- ขยายพื้นที่รับน้ำชลประทานบริเวณลุ่มน้ำป่าสักโดยจัดทำโครงการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ไปช่วยเหลือพื้นที่ในเขต อ.พัฒนานิคม อ.หนองม่วง อ.สระโบสถ์ และ อ.โคกสำโรง
- ก่อสร้างท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ไปช่วยเหลือการอุปโภคบริโภค เลี้ยงสัตว์ และ ที่การเกษตรในเขต อ.โคกสำโรง อ.สระโบสถ์ และ อ.โคกเจริญ จำนวน 30,000 ไร่
3. ขุดลอกคลองธรรมชาติและขุดสระเก็บน้ำในพื้นที่ต.คลองเกตุ อ.โคกสำโรง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กปร.
4. โครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 5 โครงการ เก็บกักน้ำได้ 19.75 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ชลประทาน 25,400 ไร่ (แผนปี 2548-2553)
5. โครงการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อชุมชน/ชนบท จำนวน 51 โครงการเก็บกักน้ำได้ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (แผนปี 2548-2553)
6. จัดหาและเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ ขุดเจาะบ่อบาดาล 57 แห่ง เป่าล้างบ่อบาดาล ซ่อมเครื่องสูบน้ำ 164 แห่ง ติดตั้งจุดจ่ายน้ำ 20 แห่ง
7. ขุดสระน้ำในนาข้าวขนาดความจุ 1,260 ลบ.ม. จำนวน 800 สระ
จังหวัดสระบุรี
พื้นที่ประสบภัย
1. พื้นที่ประสบภัยแล้ง 13 อำเภอ 65 ตำบล 345 หมู่บ้าน 6,517 ครัวเรือน 12,807 คน
2. พื้นที่ทำการเกษตรที่เสียหายแล้ว แยกเป็น นาข้าว 40,407 ไร่ พืชไร่ 78,625 ไร่ พืชสวน 1,143 ไร่ ก.ช.ภ.จ. อนุมัติเงินทดรองราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัย แล้ว นาข้าว 37,427 ไร่ พืชไร่ 56,661 ไร่ พืชสวน 808 ไร่ จำนวนเงิน 25,765,696.50 บาท งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 100,000 บาท และส่วนราชการอื่น ๆ 3,000 บาท
3. พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย มีดังนี้ นาข้าว 2,980 ไร่ พืชไร่ 21,974 ไร่ พืชสวน 335 ไร่ มูลค่าประมาณ 7,307,650 บาท
การให้ความช่วยเหลือ
1. ระดับจังหวัดและอำเภอ ทุกอำเภอ ดำเนินการตั้งศูนย์เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยจากความแห้งแล้ง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ สำหรับอำเภอ ดำเนินการดังนี้
1.1 ตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน รวม 317 ศูนย์
1.2 ดำเนินกิจกรรม สำรวจ ซ่อมแซมภาชนะเก็บกักน้ำ จำนวน 2,611 แห่ง
2. รวมการแจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค รวมจำนวน 2,479,000 ลิตร โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา จำนวน 1 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค ตำบลลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จำนวน 1,200,000 ลิตร และตำบลท่ามะปราง อำเภอแก่งคอย จำนวน 360,000 ลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา รวมจำนวน 1,560,000 ลิตร อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจกจ่าย จำนวน 919,000 ลิตร (รถบรรทุกน้ำส่งกลับศูนย์ ปภ.เขต 5 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548)
3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 15 เครื่อง
4. สำนักงานโครงการชลประทานสระบุรี สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 8 เครื่อง
5. สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี ดำเนินการรณรงค์ ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรังและแจ้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงบินดำเนินการจัดทำฝนหลวงช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
ปัญหาอุปสรรค
- ราษฎรในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี ส่วนมากไม่ได้รับความเดือดร้อนรุนแรงด้านน้ำบริโภค แต่มีผลกระทบเนื่องจากพื้นที่ทำนาปรังขาดน้ำเพราะการสูบน้ำของโครงการชลประทานสระบุรี เว้นระยะการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักเนื่องจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำในปริมาณต่ำ เพราะน้ำต้นทุนในเขื่อนมีน้อย
- เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงเดือนตุลาคม ถึง มีนาคม 2548 มีระยะเวลายาวนานจึงมีการขยายเวลาในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับการสำรวจพื้นที่และรวบรวมข้อมูลความเสียหายจากพื้นที่ล่าช้า เพราะพื้นที่การเกษตร(พืชไร่)เสียหายขยายวงกว้าง ทำให้ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ ต้องขยายเวลาตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
การแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาวของจังหวัดสระบุรี
- โครงการชลประทานสระบุรี ร่วมวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งกับเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชตามสภาพน้ำที่ได้รับจัดสรรในแต่ละเดือนรวมทั้งกำหนดพื้นที่เพาะปลูกร่วมกัน
- ประชาสัมพันธ์จังหวัดกับหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกรทราบถึงสถานการณ์น้ำ
- ปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ระหว่าง ปี พ.ศ.2549-2552 เพื่อเป็นการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมและปรับปรุงระบบแพร่กระจายน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการบรรเทาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เขตจังหวัดสระบุรี ดังนี้
- ทำการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดกลาง จำนวน 3 โครงการ
- จัดหาแหล่งน้ำเพื่อชุมชน /และชนบท จำนวน 29 โครงการ
- ปรับปรุงระบบชลประทาน จำนวน 44 โครงการ
พร้อมทั้งได้ประสานงานและให้ข้อเสนอแนะกับจังหวัด เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งทั้ง 2 จังหวัด ดังนี้
1. บริหารจัดการน้ำต้นทุนในพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น ขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติ ขุดสระน้ำให้ราษฎรเพิ่มมากขึ้น ก่อสร้างคลองส่งน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของราษฎร
2. ขุดเจาะบ่อบาดาลเพิ่มขึ้น
3. จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งไว้ล่วงหน้า โดยกำหนดเป็นระยะเร่งด่วน ระยะกลางและแผนงานระยะยาวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--