แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
โครงการบ้านเอื้ออาทร
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยบูรพา
โรงแรมคอนราด
คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหา “โครงการบ้านเอื้ออาทร” ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้
1. การจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 348 โครงการ โดยมอบให้เร่งดำเนินการจัดกลุ่มโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหาเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.1 กลุ่มที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวนประมาณ 65,000 หน่วย ให้เร่งแก้ไขปัญหาการได้รับสินเชื่อและการจัดให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยเต็มโครงการ
1.2 กลุ่มที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวนประมาณ 330,000 หน่วย ให้เร่งรัดประเมินสถานการณ์ของโครงการเป็นรายโครงการ ในปัจจัยทำเลที่ตั้งและความต้องการ และให้กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อหรือปรับลด สร้างตามความต้องการที่แท้จริง และเสนอแผนงานที่ปรับปรุงต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ภายในเดือนพฤษภาคม 2550
1.3 กลุ่มโครงการที่ได้รับอนุมัติกรอบดำเนินงาน (โควตา) แล้ว แต่ยังไม่มีการทำสัญญารับซื้อโครงการ ประมาณ 200,000 หน่วย อาจยุติโครงการหรือปรับปรุงโครงการโดยให้ท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
2. การฟื้นฟูและพัฒนาองค์กรที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากโครงการบ้านเอื้ออาทร ทั้งจากการตรวจสอบขององค์กรต่าง ๆ อาทิเช่น คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือผลกระทบเชิงภาพลักษณ์ขององค์กร ให้เร่งสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน และให้เกิดความมั่นใจในระบบบริหารจัดการที่เน้นความโปร่งใส เป็นธรรม และยึดหลักธรรมาภิบาล
3. ด้านการเงิน ให้มีการประเมินผลสถานการณ์ทางการเงินขององค์กรทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มอนาคต พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเงินให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นผู้มีรายได้น้อยให้มีโอกาสเข้าสู่ระบบสินเชื่อได้
4. ให้คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ และการเคหะแห่งชาติร่วมพิจารณากำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมในเคหะชุมชนของการเคหะแห่งชาติ และในโครงการบ้านเอื้ออาทรโดยดำเนินโครงการนำร่องทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาค เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลสู่การพัฒนาเคหะชุมชนเข้มแข็งและอยู่เย็นเป็นสุข
5. สืบเนื่องจากการเร่งรัดและให้แนวทางดำเนินงานกับการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการบ้านเอื้ออาทรและผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ ได้มีการประชุมหารือเมือวันที่ 17 เมษายน 2550 กำหนดกรอบแนวทางในการประเมินสถานการณ์รายโครงการ โดยการจัดจ้างสถาบันการศึกษาในส่วนกลางและสถาบันที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค เพื่อร่วมสำรวจโครงการและแสวงหาแนวทางปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ทั้งในมิติเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (ผลการศึกษาจะนำไปปรับปรุงแผนดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป)
6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำเสนอแนวคิดของระบบการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล เพื่อผลักดันสู่นโยบายของรัฐบาลในการสร้างโอกาสให้คนจนและผู้มีรายได้น้อยได้เข้าสู่ระบบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและเหมาะสมแก่อัตภาพ โดยเสนอแนะแหล่งเงินที่สมควรเพื่อทราบไว้เป็นเบื้องต้นก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--
1. การจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 348 โครงการ โดยมอบให้เร่งดำเนินการจัดกลุ่มโครงการเพื่อการแก้ไขปัญหาเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.1 กลุ่มที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวนประมาณ 65,000 หน่วย ให้เร่งแก้ไขปัญหาการได้รับสินเชื่อและการจัดให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยเต็มโครงการ
1.2 กลุ่มที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จำนวนประมาณ 330,000 หน่วย ให้เร่งรัดประเมินสถานการณ์ของโครงการเป็นรายโครงการ ในปัจจัยทำเลที่ตั้งและความต้องการ และให้กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อหรือปรับลด สร้างตามความต้องการที่แท้จริง และเสนอแผนงานที่ปรับปรุงต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ภายในเดือนพฤษภาคม 2550
1.3 กลุ่มโครงการที่ได้รับอนุมัติกรอบดำเนินงาน (โควตา) แล้ว แต่ยังไม่มีการทำสัญญารับซื้อโครงการ ประมาณ 200,000 หน่วย อาจยุติโครงการหรือปรับปรุงโครงการโดยให้ท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
2. การฟื้นฟูและพัฒนาองค์กรที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากโครงการบ้านเอื้ออาทร ทั้งจากการตรวจสอบขององค์กรต่าง ๆ อาทิเช่น คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือผลกระทบเชิงภาพลักษณ์ขององค์กร ให้เร่งสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน และให้เกิดความมั่นใจในระบบบริหารจัดการที่เน้นความโปร่งใส เป็นธรรม และยึดหลักธรรมาภิบาล
3. ด้านการเงิน ให้มีการประเมินผลสถานการณ์ทางการเงินขององค์กรทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มอนาคต พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการเงินให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นผู้มีรายได้น้อยให้มีโอกาสเข้าสู่ระบบสินเชื่อได้
4. ให้คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ และการเคหะแห่งชาติร่วมพิจารณากำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมในเคหะชุมชนของการเคหะแห่งชาติ และในโครงการบ้านเอื้ออาทรโดยดำเนินโครงการนำร่องทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาค เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลสู่การพัฒนาเคหะชุมชนเข้มแข็งและอยู่เย็นเป็นสุข
5. สืบเนื่องจากการเร่งรัดและให้แนวทางดำเนินงานกับการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการบ้านเอื้ออาทรและผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ ได้มีการประชุมหารือเมือวันที่ 17 เมษายน 2550 กำหนดกรอบแนวทางในการประเมินสถานการณ์รายโครงการ โดยการจัดจ้างสถาบันการศึกษาในส่วนกลางและสถาบันที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค เพื่อร่วมสำรวจโครงการและแสวงหาแนวทางปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ทั้งในมิติเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (ผลการศึกษาจะนำไปปรับปรุงแผนดำเนินงานโครงการบ้านเอื้ออาทรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป)
6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำเสนอแนวคิดของระบบการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล เพื่อผลักดันสู่นโยบายของรัฐบาลในการสร้างโอกาสให้คนจนและผู้มีรายได้น้อยได้เข้าสู่ระบบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและเหมาะสมแก่อัตภาพ โดยเสนอแนะแหล่งเงินที่สมควรเพื่อทราบไว้เป็นเบื้องต้นก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มิถุนายน 2550--จบ--