คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย — นิวซีแลนด์ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับปรุงถ้อยคำในร่างข้อตกลงซึ่งไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญได้ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ พร้อมกับอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการทางการทูตเพื่อให้ข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ต่อไป
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในระหว่างการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 19-20 เมษายน 2548 ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อเป็นกลไกในการกระชับและเพิ่มพูนความร่วมมือที่ดีอยู่แล้วให้ขยายวงกว้างและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ ที่มิได้อยู่ในกรอบการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ระหว่างไทย — นิวซีแลนด์ (Closer Economic Partnership : CEP) ซึ่งนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าว และเห็นว่าการจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมในปี 2549 อาจเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมฉลองวาระครบรอบความสัมพันธ์ 50 ปี ไทย — นิวซีแลนด์
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ยกร่างข้อตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย — นิวซีแลนด์ โดยได้ปรึกษาหารือ และขอความเห็นจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศเห็นชอบร่างข้อตกลงดังกล่าวโดยไม่มีข้อแก้ไข ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบ โดยมีข้อสังเกตและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งร่างข้อตกลงฯ ให้กระทรวงการต่างประเทศและการค้านิวซีแลนด์พิจารณาเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 บัดนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันต่อร่างข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โดยมีสาระสำคัญของร่างข้อตกลงฯ ดังนี้
1. การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบในการขยายความร่วมมือทวิภาคีและการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ระหว่างคู่ภาคี โดยเฉพาะในด้านที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย — นิวซีแลนด์
2. ลักษณะของความร่วมมือจะเป็นในรูปของการแลกเปลี่ยนข้อมูล การปรึกษาหารือ การทบทวนความร่วมมือ การแสวงหาความคิดริเริ่มและลู่ทางใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐบาลของทั้งสองฝ่าย และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
3. ความร่วมมือจะครอบคลุมด้านการเมือง ความมั่นคง การบังคับใช้กฎหมาย เศรษฐกิจและการลงทุน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การบินพลเรือน การบริหารรัฐกิจและการปฏิรูปภาครัฐ การตรวจคนเข้าเมือง การศึกษา วัฒนธรรม การพัฒนาสังคม การท่องเที่ยว การเกษตร และสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
4. คู่ภาคีทั้งสองฝ่ายจะตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีในระดับรัฐมนตรี ซึ่งจะจัดการประชุมอย่างน้อยทุก 2 ปี หรือตามแต่จะตกลงกันระหว่างผู้เข้าร่วมเพื่อที่จะพิจารณาทบทวนความร่วมมือและกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ข้อตกลงนี้โดยรวม
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันความร่วมมือระหว่างไทยและ นิวซีแลนด์ได้ขยายขอบข่ายเพิ่มขึ้น หากสามารถมีความตกลงที่เป็นกรอบใหญ่รองรับความร่วมมือด้านต่าง ๆ เหล่านี้ และเป็นกลไกให้มีการปรึกษาหารือในรูปของคณะกรรมาธิการร่วม จะทำให้เห็นภาพรวมของความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทย — นิวซีแลนด์ทั้งหมด กระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในระหว่างการหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 19-20 เมษายน 2548 ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อเป็นกลไกในการกระชับและเพิ่มพูนความร่วมมือที่ดีอยู่แล้วให้ขยายวงกว้างและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ ที่มิได้อยู่ในกรอบการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ระหว่างไทย — นิวซีแลนด์ (Closer Economic Partnership : CEP) ซึ่งนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าว และเห็นว่าการจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมในปี 2549 อาจเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมฉลองวาระครบรอบความสัมพันธ์ 50 ปี ไทย — นิวซีแลนด์
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ยกร่างข้อตกลงจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย — นิวซีแลนด์ โดยได้ปรึกษาหารือ และขอความเห็นจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศเห็นชอบร่างข้อตกลงดังกล่าวโดยไม่มีข้อแก้ไข ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบ โดยมีข้อสังเกตและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งร่างข้อตกลงฯ ให้กระทรวงการต่างประเทศและการค้านิวซีแลนด์พิจารณาเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 บัดนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันต่อร่างข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โดยมีสาระสำคัญของร่างข้อตกลงฯ ดังนี้
1. การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบในการขยายความร่วมมือทวิภาคีและการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ระหว่างคู่ภาคี โดยเฉพาะในด้านที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย — นิวซีแลนด์
2. ลักษณะของความร่วมมือจะเป็นในรูปของการแลกเปลี่ยนข้อมูล การปรึกษาหารือ การทบทวนความร่วมมือ การแสวงหาความคิดริเริ่มและลู่ทางใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐบาลของทั้งสองฝ่าย และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
3. ความร่วมมือจะครอบคลุมด้านการเมือง ความมั่นคง การบังคับใช้กฎหมาย เศรษฐกิจและการลงทุน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การบินพลเรือน การบริหารรัฐกิจและการปฏิรูปภาครัฐ การตรวจคนเข้าเมือง การศึกษา วัฒนธรรม การพัฒนาสังคม การท่องเที่ยว การเกษตร และสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน
4. คู่ภาคีทั้งสองฝ่ายจะตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีในระดับรัฐมนตรี ซึ่งจะจัดการประชุมอย่างน้อยทุก 2 ปี หรือตามแต่จะตกลงกันระหว่างผู้เข้าร่วมเพื่อที่จะพิจารณาทบทวนความร่วมมือและกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้ข้อตกลงนี้โดยรวม
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันความร่วมมือระหว่างไทยและ นิวซีแลนด์ได้ขยายขอบข่ายเพิ่มขึ้น หากสามารถมีความตกลงที่เป็นกรอบใหญ่รองรับความร่วมมือด้านต่าง ๆ เหล่านี้ และเป็นกลไกให้มีการปรึกษาหารือในรูปของคณะกรรมาธิการร่วม จะทำให้เห็นภาพรวมของความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทย — นิวซีแลนด์ทั้งหมด กระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--