แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการจ้างนักการภารโรง จำนวน 8,745 อัตรา เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้โรงเรียนที่ไม่มีนักการภารโรงจำนวน 8,745 โรงเรียน ค่าจ้าง 4,880 บาท/เดือน ระยะเวลา 5 เดือน (1พฤษภาคม -30 กันยายน 2550) ในวงเงิน 213,378,000 บาท โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย ส่วนเรื่องงบประมาณให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานบริหารเงินงบประมาณปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 หรือเจียดจ่ายจากเงินงบประมาณเหลือจ่าย และหากยังมีความจำเป็นจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมให้ขอรับการสนับสนุนจากสำนักงบประมาณตามความจำเป็นโดยควรคำนึงถึงความประหยัดและความคุ้มค่าในการบริหารจัดการงบประมาณของภาครัฐ
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความเดือดร้อนจากความขาดแคลนนักการภารโรงจำนวนมาก เนื่องจากต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2549 และวันที่ 23 กันยายน 2546 โดยให้ทุกส่วนราชการยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำที่ว่างลงจากผลการเกษียณอายุและอัตราว่างระหว่างปีทุกตำแหน่ง ซึ่งในระหว่างปี 2540-2549 สพฐ.ถูกยุบเลิกไปแล้ว 13,332 อัตรา โดยไม่มีอัตราบรรจุทดแทน และจากการสำรวจข้อมูลความขาดแคลนนักการภารโรงในปีงบประมาณ 2550 พบว่า มีโรงเรียนที่ไม่มีนักการภารโรง จำนวนทั้งสิ้น 8,745 โรง โดยถ้าคิดตามขนาดโรงเรียน โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ควรจะมีนักการภารโรงอย่างน้อย 2 คน ซึ่งจะมีความขาดแคลนทั้งสิ้น 17,311 อัตรา
2. การยุบเลิกอัตราที่ว่างลงจากผลการเกษียณอายุและอัตราว่างระหว่างปีของลูกจ้างประจำนักการภารโรงในสถานศึกษาสร้างความเดือดร้อนแก่โรงเรียนเป็นอย่างมาก เพราะนักการภารโรงในสถานศึกษามิได้มีหน้าที่เพียงพนักงานทำความสะอาดอาคารสถานที่ห้องน้ำ-ห้องส้วม เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทำหน้าที่ซ่อมแซมอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ใช้จัดการเรียนการสอน การดูแลสนามหญ้า สวนหย่อมและต้นไม้รอบ ๆ บริเวณโรงเรียนซึ่งปลูกบนพื้นที่จำนวนหลายไร่ การให้บริการด้านการถ่ายเอกสาร โรเนียวข้อสอบและคำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็น ดูแลเรื่องน้ำดื่มที่สะอาดให้นักเรียน การรักษาความปลอดภัยบริเวณโรงเรียนและทรัพย์สินของโรงเรียนในเวลากลางคืนและวันหยุดราชการ ภาระหน้าที่งานดังกล่าวหากไม่มีนักการภารโรงหรือมีไม่เพียงพอ ครูและนักเรียนจะต้องช่วยกันทำหน้าที่แทนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน ทำให้เวลาสอนของครูและเวลาเรียนของนักเรียนเสียไปกับงานดังกล่าว และที่สร้างความเสียหายให้กับราชการมากที่สุดคือการเกิดเพลิงไหม้ในสถานศึกษาเพราะไม่มีบุคลากรดูแลรักษาความปลอดภัยทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความเดือดร้อนจากความขาดแคลนนักการภารโรงจำนวนมาก เนื่องจากต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2549 และวันที่ 23 กันยายน 2546 โดยให้ทุกส่วนราชการยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำที่ว่างลงจากผลการเกษียณอายุและอัตราว่างระหว่างปีทุกตำแหน่ง ซึ่งในระหว่างปี 2540-2549 สพฐ.ถูกยุบเลิกไปแล้ว 13,332 อัตรา โดยไม่มีอัตราบรรจุทดแทน และจากการสำรวจข้อมูลความขาดแคลนนักการภารโรงในปีงบประมาณ 2550 พบว่า มีโรงเรียนที่ไม่มีนักการภารโรง จำนวนทั้งสิ้น 8,745 โรง โดยถ้าคิดตามขนาดโรงเรียน โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ควรจะมีนักการภารโรงอย่างน้อย 2 คน ซึ่งจะมีความขาดแคลนทั้งสิ้น 17,311 อัตรา
2. การยุบเลิกอัตราที่ว่างลงจากผลการเกษียณอายุและอัตราว่างระหว่างปีของลูกจ้างประจำนักการภารโรงในสถานศึกษาสร้างความเดือดร้อนแก่โรงเรียนเป็นอย่างมาก เพราะนักการภารโรงในสถานศึกษามิได้มีหน้าที่เพียงพนักงานทำความสะอาดอาคารสถานที่ห้องน้ำ-ห้องส้วม เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทำหน้าที่ซ่อมแซมอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ใช้จัดการเรียนการสอน การดูแลสนามหญ้า สวนหย่อมและต้นไม้รอบ ๆ บริเวณโรงเรียนซึ่งปลูกบนพื้นที่จำนวนหลายไร่ การให้บริการด้านการถ่ายเอกสาร โรเนียวข้อสอบและคำสั่งต่าง ๆ ที่จำเป็น ดูแลเรื่องน้ำดื่มที่สะอาดให้นักเรียน การรักษาความปลอดภัยบริเวณโรงเรียนและทรัพย์สินของโรงเรียนในเวลากลางคืนและวันหยุดราชการ ภาระหน้าที่งานดังกล่าวหากไม่มีนักการภารโรงหรือมีไม่เพียงพอ ครูและนักเรียนจะต้องช่วยกันทำหน้าที่แทนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน ทำให้เวลาสอนของครูและเวลาเรียนของนักเรียนเสียไปกับงานดังกล่าว และที่สร้างความเสียหายให้กับราชการมากที่สุดคือการเกิดเพลิงไหม้ในสถานศึกษาเพราะไม่มีบุคลากรดูแลรักษาความปลอดภัยทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--