คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอแนะการดำเนินนโยบายกรอบ BIMSTEC สำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
1. เจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC ต่อไปโดยไม่เร่งเพื่อรอดูผลการเจรจาเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย และอาเซียน-อินเดียก่อน และลดบทบาทลง โดยขอให้ประเทศอื่นทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการเจรจาการค้าแทน ทั้งนี้ ต้องพยายามไม่ให้ประเทศอื่นมองว่า ความล่าช้าเกิดขึ้นจากไทยและควรผลักดันให้เกิด political will ที่จะเปิดเสรีการค้าใน BIMSTEC อย่างแท้จริง ทั้งนี้ หากไม่มีความคืบหน้าใน 12 เดือนข้างหน้าอาจพิจารณาทบทวน
2. ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ไทยได้ให้ไว้ในกรอบ BIMSTEC โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ไทยเป็นประเทศนำและมีผลประโยชน์ชัดเจน ได้แก่ ประมง และปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชน
3. ดำเนินความร่วมมือต่อไปในสาขาและเรื่องที่ไทยมีผลประโยชน์ชัดเจนและประเทศใน BIMSTEC มีศักยภาพ หรือที่จะมีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ได้แก่ สาขาพลังงาน (เรื่อง พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ) สาขาเกษตร (เรื่อง พืชพลังงานทดแทน) และสาขาคมนาคม (เรื่อง เครือข่ายเชื่อมโยงถนน)
4. ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในด้านที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการเกษตร และสาธารณสุขซึ่งไทยเป็นประเทศนำ
5. มุ่งสร้าง sense of ownership เพื่อให้ประเทศสมาชิกอื่นรับผิดชอบมากขึ้น และส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อขยายความร่วมมือและลดภาระการให้ความช่วยเหลือของไทย
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหารือเรื่องการเข้าร่วมการจัดตั้งกองทุนท่องเที่ยว BIMSTEC ของไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ นั้น คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้มีมติให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พิจารณาท่าทีไทยเกี่ยวกับการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC โดยคำนึงถึงภาพรวมกรอบ BIMSTEC
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว มีความเห็นดังนี้
1. ในภาพรวมการดำเนินความร่วมมือกรอบ BIMSTEC มีประโยชน์ต่อนโยบายต่างประเทศของไทย ทั้งด้านการเมืองและด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก โดยเฉพาะช่วยเสริมสร้าง ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของไทยในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง BIMSTEC ขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ปี 2540 และในฐานะสมาชิกที่มีบทบาทหลักในการดำเนินความร่วมมือ นอกจากนี้ กรอบ BIMSTEC ยังเป็นเครื่องมือหลักประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาความสำคัญเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของไทย โดยคำนึงว่า ไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับเอเชียใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ทวีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองในเวทีโลกขึ้นเรื่อย ๆ
2. ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือและการดำเนินการรายสาขา กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 แล้วเห็นว่า ไทยควรดำเนินความร่วมมือในกรอบ BIMSTEC ต่อไป แต่อาจกำหนดทิศทางที่ชัดเจนสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า
3. สำหรับกองทุนการท่องเที่ยว BIMSTEC กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า น่าจะดำเนินการต่อไปได้เพราะใช้เงินในการร่วมจัดตั้งไม่มาก (10,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และมีประโยชน์ในการเสริมบทบาทนำทางการเมืองของไทยในอนุภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ ประโยชน์ต่าง ๆ ของกรอบ BIMSTEC ต่อนโยบายต่างประเทศของไทยดังกล่าว ข้างต้นน่าจะคุ้มค่าภาระค่าใช้จ่ายของไทยที่ไม่สูงมากนัก (ขณะนี้ไทยสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ BIMSTEC ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการชั่วคราวระหว่างรอการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรโดยมีค่าใช้จ่ายปีละ 2 ล้านบาท)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. เจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC ต่อไปโดยไม่เร่งเพื่อรอดูผลการเจรจาเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย และอาเซียน-อินเดียก่อน และลดบทบาทลง โดยขอให้ประเทศอื่นทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการเจรจาการค้าแทน ทั้งนี้ ต้องพยายามไม่ให้ประเทศอื่นมองว่า ความล่าช้าเกิดขึ้นจากไทยและควรผลักดันให้เกิด political will ที่จะเปิดเสรีการค้าใน BIMSTEC อย่างแท้จริง ทั้งนี้ หากไม่มีความคืบหน้าใน 12 เดือนข้างหน้าอาจพิจารณาทบทวน
2. ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ไทยได้ให้ไว้ในกรอบ BIMSTEC โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ไทยเป็นประเทศนำและมีผลประโยชน์ชัดเจน ได้แก่ ประมง และปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชน
3. ดำเนินความร่วมมือต่อไปในสาขาและเรื่องที่ไทยมีผลประโยชน์ชัดเจนและประเทศใน BIMSTEC มีศักยภาพ หรือที่จะมีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ได้แก่ สาขาพลังงาน (เรื่อง พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ) สาขาเกษตร (เรื่อง พืชพลังงานทดแทน) และสาขาคมนาคม (เรื่อง เครือข่ายเชื่อมโยงถนน)
4. ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในด้านที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการเกษตร และสาธารณสุขซึ่งไทยเป็นประเทศนำ
5. มุ่งสร้าง sense of ownership เพื่อให้ประเทศสมาชิกอื่นรับผิดชอบมากขึ้น และส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อขยายความร่วมมือและลดภาระการให้ความช่วยเหลือของไทย
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหารือเรื่องการเข้าร่วมการจัดตั้งกองทุนท่องเที่ยว BIMSTEC ของไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ นั้น คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้มีมติให้กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พิจารณาท่าทีไทยเกี่ยวกับการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี BIMSTEC โดยคำนึงถึงภาพรวมกรอบ BIMSTEC
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว มีความเห็นดังนี้
1. ในภาพรวมการดำเนินความร่วมมือกรอบ BIMSTEC มีประโยชน์ต่อนโยบายต่างประเทศของไทย ทั้งด้านการเมืองและด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก โดยเฉพาะช่วยเสริมสร้าง ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของไทยในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง BIMSTEC ขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ปี 2540 และในฐานะสมาชิกที่มีบทบาทหลักในการดำเนินความร่วมมือ นอกจากนี้ กรอบ BIMSTEC ยังเป็นเครื่องมือหลักประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาความสำคัญเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของไทย โดยคำนึงว่า ไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับเอเชียใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ทวีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองในเวทีโลกขึ้นเรื่อย ๆ
2. ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือและการดำเนินการรายสาขา กระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2549 แล้วเห็นว่า ไทยควรดำเนินความร่วมมือในกรอบ BIMSTEC ต่อไป แต่อาจกำหนดทิศทางที่ชัดเจนสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า
3. สำหรับกองทุนการท่องเที่ยว BIMSTEC กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า น่าจะดำเนินการต่อไปได้เพราะใช้เงินในการร่วมจัดตั้งไม่มาก (10,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และมีประโยชน์ในการเสริมบทบาทนำทางการเมืองของไทยในอนุภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ ประโยชน์ต่าง ๆ ของกรอบ BIMSTEC ต่อนโยบายต่างประเทศของไทยดังกล่าว ข้างต้นน่าจะคุ้มค่าภาระค่าใช้จ่ายของไทยที่ไม่สูงมากนัก (ขณะนี้ไทยสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ BIMSTEC ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการชั่วคราวระหว่างรอการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรโดยมีค่าใช้จ่ายปีละ 2 ล้านบาท)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--