สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 43

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 15, 2010 16:13 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 43 ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การช่วยเหลือด้านการเกษตร และผลกระทบด้านการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

ปัจจุบันมีสถานการณ์น้ำท่วมขัง 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 4-6 ธันวาคม 2553 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง วัดปริมาณฝนสะสม 3 วัน (4-6 ธ.ค.53) ที่ อำเภอเกาะสมุย ดอนสัก.คีรีรัฐนิคม ได้ดังนี้ 165.8 ,119.0 ,111.0 ตามลำดับ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำตาปี 3 อำเภอ ดังนี้ อำเภอเคียนซา พุนพิน และเมือง คาดว่าจะเข้าสู่ปกติภายในวันนี้ (13 ธ.ค.53)

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (13 ธันวาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 54,447 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด ลดลงจากสัปดาห์ก่อน (55,021 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 574 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 30,606 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (57,010 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 78) จำนวน 2,563 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 64.91 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 95.88 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (13 ธันวาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 50,984 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด ลดลงจากสัปดาห์ก่อน (51,508 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 524 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำใช้การได้ 27,461 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (53,890 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 77) จำนวน 2,906 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 64.27 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 95.35 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

                                                                         หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
          อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ      ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ    ปริมาณน้ำ
                            ในอ่างปี       ใช้การได้           ไหลลงอ่าง          ระบาย     รับได้อีก
                      ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
          1.ภูมิพล         8,671  64      4,871   36     9.05    1.52    20.00  20.00     4,791
          2.สิริกิติ์         7,718  81      4,868   51    12.36    5.43    13.93  14.03     1,792
          ภูมิพล+สิริกิติ์     16,389  71      9,739   42    21.41    6.95    33.93  34.03     6,583
          3.แควน้อยฯ        718  93        682   89     2.96    1.97     5.18   5.18        51
          4.ป่าสักชลสิทธิ์      836  87        833   87     0.00    0.00     3.56   3.56       124
          รวม 4 อ่างฯ    17,943  73     11,254   46    24.37    8.92    42.67  42.77     6,758

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 21 อ่าง ดังนี้

                                                                                     หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำ            ปริมาตรน้ำในอ่างฯ      ปริมาตรน้ำใช้การได้       ปริมาณน้ำไหล    ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำรับได้อีก
                                                                   ลงอ่าง
                    ปริมาตร  % ความจุ     ปริมาตร   % ความจุ      วันนี้    เมื่อ    วันนี้     เมื่อ
                        น้ำ     อ่างฯ         น้ำ      อ่างฯ             วาน            วาน
1.สิริกิติ์               7,718       81      4,868        51    12.36   5.43  13.93   14.03         1,792
2.แม่งัดฯ                273      103        251        95     0.37   0.36   0.32    0.31             0
3.กิ่วลม                 106       93        102        91     0.62   0.56   0.12    0.12             6
4.กิ่วคอหมา              177      104        171       101     0.29   0.15   0.29    0.29             0
5.แควน้อยฯ              718       93        682        89     2.96   1.97   5.18    5.18            51
6.ห้วยหลวง              120      102        115        97     0.00   0.00   0.05    0.05             0
7.จุฬาภรณ์               158       96        114        70     0.37   0.24   0.24    0.22             6
8.อุบลรัตน์             2,196       90      1,615        66     2.81   0.09   8.30    9.18           236
9.ลำปาว              1,221       85      1,136        79     0.00   1.20   1.92    1.20           209
10. ลำตะคอง            340      108        313       100     1.34   0.55   0.39    0.39             0
11.ลำพระเพลิง           106       96        105        95     0.11   0.11   0.00    0.00             3
12.มูลบน                116       82        109        77     0.00   0.00   0.00    0.00            25
13.ลำแซะ               116       42        109        40     0.00   0.00   0.00    0.00           159
14.ป่าสักฯ               836       87        833        87     0.00   0.00   3.56    3.56           124
15.ทับเสลา              150       94        142        89     0.00   0.00   2.18    2.19            10
16.กระเสียว             247      103        207        86     0.60   0.60   0.42    0.42             0
17.ขุนด่านฯ              210       94        205        92     0.07   0.07   0.55    0.56            14
18.คลองสียัด             384       91        354        84     0.00   0.00   1.35    1.35            36
19.บางพระ               95       81         83        71     0.07   0.28   0.08    0.07            22
20.หนองปลาไหล          155       95        141        86     0.00   0.26   0.67    0.70             9
21.ประแสร์              237       96        217        88     0.01   0.01   0.13    0.13            11

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในลำน้ำปิง วัง ยม น่าน ชี และมูล ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่ากรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 395 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 15 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 45 ลบ.ม./วินาที (เท่ากับเมื่อวาน)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 112 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 12 ลบ.ม./วินาที) และรับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 179 ลบ.ม./วินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 8 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 5 ลบ.ม./วินาที (เท่ากับเมื่อวาน)

การช่วยเหลือด้านการเกษตร

1. แจ้งเตือน ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในภาคใต้ ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2553 จำนวน 5 ฉบับ คาดการณ์พื้นที่น้ำท่วมและดินถล่ม ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม 2553 จำนวน 1 ฉบับ

2. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 277 เครื่อง ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 1 จังหวัด จำนวน 1 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด จำนวน 4 เครื่อง ภาคกลาง 10 จังหวัด 145 เครื่อง ภาคตะวันออก 1 จังหวัด จำนวน 2 เครื่อง ภาคใต้ 8 จังหวัด จำนวน 125 เครื่อง

3. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 3,043,105 กิโลกรัม แร่ธาตุและเวชภัณฑ์ 6,834 ชุด และดูแลสุขภาพสัตว์ 613,881 ตัว

ผลกระทบด้านการเกษตร

ด้านพืช

ช่วงภัยวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 9 ธันวาคม 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธ.ค.53) จังหวัดประสบภัย จำนวน 74 จังหวัด พื้นที่ประสบภัย 11.26 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 8.36 ล้านไร่ พืชไร่ 1.87 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ 1.03 ล้านไร่ สำรวจแล้ว พบว่า เป็นพื้นที่เสียหายสิ้นเชิง (ณ วันที่ 9 ธ.ค. 53) จำนวน 5.15 ล้านไร่ คิดเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 11,790.93 ล้านบาท กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 53 โดยขออนุมัติเงินงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พิษณุโลก น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม อำนาจเจริญ และฉะเชิงเทรา เกษตรกร 62,216 ราย พื้นที่เสียหาย 677,491 ไร่ เป็นเงิน 1,528.95 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ

ด้านประมง แบ่งเป็นความเสียหายเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเรือประมง ดังนี้

1. พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ช่วงภัยวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 3 ธันวาคม 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธ.ค. 53) จังหวัดประสบภัย จำนวน 55 จังหวัด เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 161,397 ไร่ และกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 130,229 ตารางเมตร เกษตรกร 94,328 ราย สำรวจแล้ว พบว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงเสียหายแล้ว (ณ วันที่ 3 ธ.ค. 53) จำนวน 125,612 ไร่ และ 130,059 ตารางเมตร กรมประมง ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 53 โดยขออนุมัติเงินงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยนาท และฉะเชิงเทรา เกษตรกร 5,824 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเสียหาย 4,852 ไร่ คิดเป็นเงินช่วยเหลือ 15,324,144 บาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ

2. เรือประมง ช่วงระหว่าง วันที่ 31 ตุลาคม — 12 พฤศจิกายน 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ย. 53) ประสบภัยพิบัติทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี กระบี่ ตรัง พัทลุง ชุมพร จำนวน 1,096 ลำ แบ่งเป็น เรือประมงพานิช 67 ลำ เรือประมงพื้นบ้าน 1,029 ลำ

ด้านปศุสัตว์

ช่วงภัย วันที่ 1 สิงหาคม 2553 - 3 ธันวาคม 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธ.ค.53) จังหวัดประสบภัย จำนวน 54 จังหวัด เกษตรกร 279,289 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 27,738,902 ตัว แบ่งเป็น โค - กระบือ 695,338 ตัว สุกร 681,389 ตัว แพะ - แกะ 76,950 ตัว สัตว์ปีก 26,285,225 ตัว แปลงหญ้า 45,817 ไร่ สำรวจแล้ว พบว่า สัตว์ตายและสูญหาย จำนวน 218,210 ตัว แปลงหญ้า 1,950 ไร่ เกษตรกร 3,783 ราย

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 ธันวาคม 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ