เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่ง
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ 2530 (การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขัน)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ 2530 (การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมากระทรวงการคลังได้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรทั้งระบบเพื่อให้เข้าสู่อัตราอากรตามโครงสร้างการผลิต 3 ขั้นตอนที่กระทรวงการคลังกำหนด (วัตถุดิบ ร้อยละ1 สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 5 และสินค้าสำเร็จรูปร้อยละ 10) แต่เนื่องจากปัจจุบันยังมีสินค้าในกลุ่มปัจจัยการผลิต ซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งมีอัตราอากรขาเข้าที่สูงกว่าอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิต 3 อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงเป็นผลทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศไม่สามารถแข่งขันได้
2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระจกโฟลตในประเทศ ได้ร้องเรียนถึงปัญหาที่ได้รับจากการนำระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2007 มาใช้เป็นผลทำให้มีการนำเข้ากระจกที่มีราคาถูกจากจีนจำนวนมาก
3. กระทรวงการคลังได้ร่วมหารือกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นควรเสนอปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าปัจจัยการผลิต จึงได้เสนอร่างประเทศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่ง
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ 2530 (การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตรศุลกากรปัจจัยการผลิต ซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต จำนวน 155 ประเภทย่อย ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับปัจจัยการผลิตที่ปัจจุบันไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ จำนวน 126 ประเภทย่อย
1.2 ปรับลดอัตราอากรขาเข้าให้เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด คือ ร้อยละ 5 และร้อยละ 10
1.3 ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กแผ่นชนิดทีเอ็มบีพีในอัตราร้อยละ 1 ต่อไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551
1.4 ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกสะท้อนแสงและกระจกฉนวนความร้อนเป็นร้อยละ 5 และร้อยละ 10
2. ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกโฟลตเฉพาะที่มีความหนาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร จากร้อยละ 5 เป็น ร้อยละ 20 จำนวน 2 ประเภทย่อย เพื่อแก้ไขปัญหากระจกที่นำเข้าจากจีนราคาถูก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ 2530 (การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขัน)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ 2530 (การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมากระทรวงการคลังได้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรทั้งระบบเพื่อให้เข้าสู่อัตราอากรตามโครงสร้างการผลิต 3 ขั้นตอนที่กระทรวงการคลังกำหนด (วัตถุดิบ ร้อยละ1 สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 5 และสินค้าสำเร็จรูปร้อยละ 10) แต่เนื่องจากปัจจุบันยังมีสินค้าในกลุ่มปัจจัยการผลิต ซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งมีอัตราอากรขาเข้าที่สูงกว่าอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิต 3 อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด จึงเป็นผลทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศไม่สามารถแข่งขันได้
2. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระจกโฟลตในประเทศ ได้ร้องเรียนถึงปัญหาที่ได้รับจากการนำระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน ฉบับปี 2007 มาใช้เป็นผลทำให้มีการนำเข้ากระจกที่มีราคาถูกจากจีนจำนวนมาก
3. กระทรวงการคลังได้ร่วมหารือกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) สถาบันยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นควรเสนอปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าปัจจัยการผลิต จึงได้เสนอร่างประเทศดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่ง
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ 2530 (การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตรศุลกากรปัจจัยการผลิต ซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต จำนวน 155 ประเภทย่อย ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับปัจจัยการผลิตที่ปัจจุบันไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ จำนวน 126 ประเภทย่อย
1.2 ปรับลดอัตราอากรขาเข้าให้เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด คือ ร้อยละ 5 และร้อยละ 10
1.3 ขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กแผ่นชนิดทีเอ็มบีพีในอัตราร้อยละ 1 ต่อไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551
1.4 ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกสะท้อนแสงและกระจกฉนวนความร้อนเป็นร้อยละ 5 และร้อยละ 10
2. ปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้ากระจกโฟลตเฉพาะที่มีความหนาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร จากร้อยละ 5 เป็น ร้อยละ 20 จำนวน 2 ประเภทย่อย เพื่อแก้ไขปัญหากระจกที่นำเข้าจากจีนราคาถูก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2550--จบ--