แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม
กระทรวงคมนาคม
คิง พาวเวอร์
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอทั้ง 3 ข้อดังนี้
1. รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง (เชียงของ-ห้วยทราย)
2. ให้ สศช. เป็นหน่วยงานประสานงานหลักในระดับนโยบาย และกระทรวงคมนาคม (คค.) โดยกรมทางหลวง เป็นหน่วยงานปฏิบัติของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor Bridge Project) ระหว่างเชียงของ -ห้วยทราย เชื่อมเชียงราย-คุนหมิง ผ่าน สปป.ลาว (เส้นทาง R3)
3. เห็นชอบในหลักการจัดสรรงบประมาณสำรองฉุกเฉินปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 35 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการฯ โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ และเป็นผู้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
สาระสำคัญของเรื่อง มีดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ว่า สศช. ได้ประสานกับธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียเพื่อจัดประชุมหารือ 4 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนรัฐบาลจีน ผู้แทนรัฐบาล สปป.ลาว ผู้แทนรัฐบาลไทย [ประกอบด้วย สศช. คค. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และกระทรวงการคลัง (กค.)
] และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2550 ณ โรงแรมลาวพลาซ่า นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพื่อหารือแนวทางการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ — ใต้ (North-South Economic Corridor Bridge) โดยได้ผลสรุปดังนี้
1.1 ขอบเขตการก่อสร้างและพื้นที่โครงการ ครอบคลุมการก่อสร้าง 4 ส่วนได้แก่
1.1.1 ถนนจากแยกทางหลวงหมายเลข 3 ที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ถึงทางหลวงหมายเลข 1020 อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
1.1.2 การก่อสร้างตัวสะพานข้ามแม่น้ำโขง
1.1.3 การก่อสร้างด่านพรมแดน (Border Control Area) และการกันพื้นที่ Common Control Area ตามหลักการ Single Stop Inspection ของแต่ละฝ่าย
1.1.4 การก่อสร้างจุดเปลี่ยนการจราจรในฝั่งไทย
1.2 แผนการดำเนินงานโครงการ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1.2.1 ช่วงออกแบบรายละเอียด (Detailed Design Phase) ระยะเวลารวม 9 เดือน (สิงหาคม 2550-พฤษภาคม 2551)
1.2.2 ช่วงประกวดราคาและการก่อสร้าง (Procurement and Construction Phase) ระยะเวลารวมประมาณ 41 เดือน (พฤษภาคม 2551 — กันยายน 2554)
1.3 การออกแบบรายละเอียดโครงการ (Detailed Design) ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของไทยในการออกค่าใช้จ่ายจำนวนประมาณ 35 ล้านบาท เพื่อใช้ในการออกแบบรายละเอียดโครงการฯ โดยกรมทางหลวงจะเป็นหน่วยงานปฏิบัติหลักในการดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการศึกษาโครงการ (TOR) และคัดเลือกที่ปรึกษา เพื่อออกแบบรายละเอียดโครงการฯ และให้จีน ลาว และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับการออกแบบรายละเอียดด้วย โดยจะใช้เวลาดำเนินการตามขั้นตอนประมาณ 9 เดือน (สิงหาคม 2550-พฤษภาคม 2551)
1.4 ค่าใช้จ่ายการก่อสร้าง รัฐบาลไทยและจีนจะออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่งของค่างานโครงการ ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและงานที่เกี่ยวข้องซึ่งไทยและลาวจะต้องเป็นผู้ออกเอง ในส่วนของฝ่ายไทยนั้น กรมทางหลวง จะต้องดำเนินการเตรียมงบประมาณค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและงานที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นในการเวนคืนที่ดินตามพื้นที่ขอบเขตโครงการฯ ซึ่งเป็นพื้นที่การก่อสร้างถนนแนวใหม่ให้แล้วเสร็จหรือหลังจากที่แบบก่อสร้างแล้วเสร็จ
1.5 การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง (เชียงของ — ห้วยทราย) โดยมอบหมายให้ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียเป็นผู้ยกร่างบันทึกความเข้าใจ เพื่อให้สามารถลงนามร่วมกันได้ในการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2550 ซึ่ง สศช. จะได้ประสานกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณารายละเอียดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--
1. รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง (เชียงของ-ห้วยทราย)
2. ให้ สศช. เป็นหน่วยงานประสานงานหลักในระดับนโยบาย และกระทรวงคมนาคม (คค.) โดยกรมทางหลวง เป็นหน่วยงานปฏิบัติของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor Bridge Project) ระหว่างเชียงของ -ห้วยทราย เชื่อมเชียงราย-คุนหมิง ผ่าน สปป.ลาว (เส้นทาง R3)
3. เห็นชอบในหลักการจัดสรรงบประมาณสำรองฉุกเฉินปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จำนวน 35 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการฯ โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ และเป็นผู้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
สาระสำคัญของเรื่อง มีดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ว่า สศช. ได้ประสานกับธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียเพื่อจัดประชุมหารือ 4 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนรัฐบาลจีน ผู้แทนรัฐบาล สปป.ลาว ผู้แทนรัฐบาลไทย [ประกอบด้วย สศช. คค. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และกระทรวงการคลัง (กค.)
] และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2550 ณ โรงแรมลาวพลาซ่า นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพื่อหารือแนวทางการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงตามแนวเศรษฐกิจเหนือ — ใต้ (North-South Economic Corridor Bridge) โดยได้ผลสรุปดังนี้
1.1 ขอบเขตการก่อสร้างและพื้นที่โครงการ ครอบคลุมการก่อสร้าง 4 ส่วนได้แก่
1.1.1 ถนนจากแยกทางหลวงหมายเลข 3 ที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ถึงทางหลวงหมายเลข 1020 อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
1.1.2 การก่อสร้างตัวสะพานข้ามแม่น้ำโขง
1.1.3 การก่อสร้างด่านพรมแดน (Border Control Area) และการกันพื้นที่ Common Control Area ตามหลักการ Single Stop Inspection ของแต่ละฝ่าย
1.1.4 การก่อสร้างจุดเปลี่ยนการจราจรในฝั่งไทย
1.2 แผนการดำเนินงานโครงการ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1.2.1 ช่วงออกแบบรายละเอียด (Detailed Design Phase) ระยะเวลารวม 9 เดือน (สิงหาคม 2550-พฤษภาคม 2551)
1.2.2 ช่วงประกวดราคาและการก่อสร้าง (Procurement and Construction Phase) ระยะเวลารวมประมาณ 41 เดือน (พฤษภาคม 2551 — กันยายน 2554)
1.3 การออกแบบรายละเอียดโครงการ (Detailed Design) ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของไทยในการออกค่าใช้จ่ายจำนวนประมาณ 35 ล้านบาท เพื่อใช้ในการออกแบบรายละเอียดโครงการฯ โดยกรมทางหลวงจะเป็นหน่วยงานปฏิบัติหลักในการดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการศึกษาโครงการ (TOR) และคัดเลือกที่ปรึกษา เพื่อออกแบบรายละเอียดโครงการฯ และให้จีน ลาว และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับการออกแบบรายละเอียดด้วย โดยจะใช้เวลาดำเนินการตามขั้นตอนประมาณ 9 เดือน (สิงหาคม 2550-พฤษภาคม 2551)
1.4 ค่าใช้จ่ายการก่อสร้าง รัฐบาลไทยและจีนจะออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่งของค่างานโครงการ ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและงานที่เกี่ยวข้องซึ่งไทยและลาวจะต้องเป็นผู้ออกเอง ในส่วนของฝ่ายไทยนั้น กรมทางหลวง จะต้องดำเนินการเตรียมงบประมาณค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและงานที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นในการเวนคืนที่ดินตามพื้นที่ขอบเขตโครงการฯ ซึ่งเป็นพื้นที่การก่อสร้างถนนแนวใหม่ให้แล้วเสร็จหรือหลังจากที่แบบก่อสร้างแล้วเสร็จ
1.5 การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง (เชียงของ — ห้วยทราย) โดยมอบหมายให้ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียเป็นผู้ยกร่างบันทึกความเข้าใจ เพื่อให้สามารถลงนามร่วมกันได้ในการประชุมระดับรัฐมนตรี GMS ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2550 ซึ่ง สศช. จะได้ประสานกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณารายละเอียดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤษภาคม 2550--จบ--