คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาอาคารแฟลตดินแดง ดังนี้
1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาคารแฟลตดินแดงเสียหาย โดยให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนผู้อยู่อาศัยในอาคารแฟลต 1-8 และ 21-32 เข้าร่วมเป็นกรรมการเพื่อกำหนดแผนงาน มาตรการในการช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. การเคหะแห่งชาติได้จัดประชุมคณะกรรมการและผู้นำชุมชนดินแดง ในวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2550 เพื่อรายงานผลการสำรวจความเสียหาย โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการและผู้นำชุมชนดินแดง ซึ่งได้เสนอข้อคิดเห็นต่อการเคหะแห่งชาติในเรื่องหลักการในการทำงานร่วมกับชาวชุมชนดินแดงเพื่อพัฒนาชุมชนดินแดงใหม่ดังนี้
(1) ผู้อยู่อาศัยต้องได้สิทธิในการอยู่ในที่เดิม
(2) การเคหะแห่งชาติจะต้องไม่แสวงหากำไรจากการทำโครงการ
(3) ให้มีการร่วมคิดกับผู้อยู่อาศัยในชุมชนดินแดงในการวางแนวทางการสร้างชุมชนดินแดงใหม่ โดยจะมีการประชุมผู้อยู่อาศัยเป็นรายอาคาร เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
(4) ในช่วงของการร่วมคิดกับผู้อยู่อาศัยในชุมชนเพื่อสร้างชุมชนดินแดงใหม่ ให้มีการซ่อมแซมสภาพที่เสียหาย
(5) การเคหะแห่งชาติ ต้องสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้อยู่อาศัยได้ทราบข้อเท็จจริงและความก้าวหน้าของโครงการตลอดเวลา
3. คณะกรรมการ การเคหะแห่งชาติได้พิจารณาในการประชุมเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2550 แล้วมีมติเห็นว่าอาคารกลุ่มแฟลตดินแดงนี้ไม่อาจใช้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนได้อีกต่อไป ชีวิตและความปลอดภัยของชาวแฟลตดินแดงมีความสำคัญที่สุด พร้อมกันนี้ได้นำข้อเสนอของชุมชนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550 และมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติร่วมกับชาวชุมชนดินแดงไปร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาชุมชนดินแดงใหม่ ที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยให้การพัฒนาโครงการจะต้องยึดหลักการสำคัญดังนี้
(1) ผู้อยู่อาศัยเดิมได้อยู่ที่เดิม
(2) การเคหะแห่งชาติต้องไม่แสวงหากกำไรจากการทำโครงการนี้
(3) ชาวชุมชนดินแดงจะร่วมทำงานกับการเคหะแห่งชาติพัฒนากลไกและกระบวนการการทำงานร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น
(3.1) รูปแบบชุมชนใหม่
(3.2) รูปแบบการเงินและการลงทุน
(3.3) การจัดการระหว่างย้าย
(3.4) จะต้องมีการปรึกษาหารือและพัฒนาการสื่อสารที่ดีร่วมกัน
4. กระบวนการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ดังนั้น ในเบื้องต้น การเคหะแห่งชาติกับชาวชุมชนจะร่วมกันทำการซ่อมแซมอาคารในส่วนที่ชำรุดเร่งด่วนไปก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--
1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาคารแฟลตดินแดงเสียหาย โดยให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนผู้อยู่อาศัยในอาคารแฟลต 1-8 และ 21-32 เข้าร่วมเป็นกรรมการเพื่อกำหนดแผนงาน มาตรการในการช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. การเคหะแห่งชาติได้จัดประชุมคณะกรรมการและผู้นำชุมชนดินแดง ในวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2550 เพื่อรายงานผลการสำรวจความเสียหาย โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการและผู้นำชุมชนดินแดง ซึ่งได้เสนอข้อคิดเห็นต่อการเคหะแห่งชาติในเรื่องหลักการในการทำงานร่วมกับชาวชุมชนดินแดงเพื่อพัฒนาชุมชนดินแดงใหม่ดังนี้
(1) ผู้อยู่อาศัยต้องได้สิทธิในการอยู่ในที่เดิม
(2) การเคหะแห่งชาติจะต้องไม่แสวงหากำไรจากการทำโครงการ
(3) ให้มีการร่วมคิดกับผู้อยู่อาศัยในชุมชนดินแดงในการวางแนวทางการสร้างชุมชนดินแดงใหม่ โดยจะมีการประชุมผู้อยู่อาศัยเป็นรายอาคาร เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
(4) ในช่วงของการร่วมคิดกับผู้อยู่อาศัยในชุมชนเพื่อสร้างชุมชนดินแดงใหม่ ให้มีการซ่อมแซมสภาพที่เสียหาย
(5) การเคหะแห่งชาติ ต้องสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้อยู่อาศัยได้ทราบข้อเท็จจริงและความก้าวหน้าของโครงการตลอดเวลา
3. คณะกรรมการ การเคหะแห่งชาติได้พิจารณาในการประชุมเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2550 แล้วมีมติเห็นว่าอาคารกลุ่มแฟลตดินแดงนี้ไม่อาจใช้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนได้อีกต่อไป ชีวิตและความปลอดภัยของชาวแฟลตดินแดงมีความสำคัญที่สุด พร้อมกันนี้ได้นำข้อเสนอของชุมชนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550 และมอบนโยบายให้การเคหะแห่งชาติร่วมกับชาวชุมชนดินแดงไปร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาชุมชนดินแดงใหม่ ที่มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยให้การพัฒนาโครงการจะต้องยึดหลักการสำคัญดังนี้
(1) ผู้อยู่อาศัยเดิมได้อยู่ที่เดิม
(2) การเคหะแห่งชาติต้องไม่แสวงหากกำไรจากการทำโครงการนี้
(3) ชาวชุมชนดินแดงจะร่วมทำงานกับการเคหะแห่งชาติพัฒนากลไกและกระบวนการการทำงานร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ เช่น
(3.1) รูปแบบชุมชนใหม่
(3.2) รูปแบบการเงินและการลงทุน
(3.3) การจัดการระหว่างย้าย
(3.4) จะต้องมีการปรึกษาหารือและพัฒนาการสื่อสารที่ดีร่วมกัน
4. กระบวนการทำงานร่วมกันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ดังนั้น ในเบื้องต้น การเคหะแห่งชาติกับชาวชุมชนจะร่วมกันทำการซ่อมแซมอาคารในส่วนที่ชำรุดเร่งด่วนไปก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 มิถุนายน 2550--จบ--