คณะรัฐมนตรีพิจารณาภาพรวมและแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดจันทบุรี ตามที่สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบยุทธศาสตร์ และแนวทางแก้ไขปัญหาตามที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเสนอ
2. เห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการในเรื่องเร่งด่วน รวมทั้งให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนด้านงบประมาณต่อไป ดังนี้
(1) เร่งรัดการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของภาคตะวันออกทั้งระบบสำหรับภาคอุตสาหกรรม และน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
(2) โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องทางจราจรจาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร จำนวน 8 เส้นทาง โดยมอบหมายกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ
(3) โครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด โดยสร้างความเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในกลุ่มจังหวัด โดยมอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับกลุ่มจังหวัดและจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ
(4) การสร้างระบบสิ่งจูงใจทั้งด้านการส่งเสริมการลงทุน และสิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อจูงใจการลงทุนเพิ่มขึ้นในกลุ่มจังหวัด โดยมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกระทรวงการคลัง
3. เห็นชอบยุทธศาสตร์ และแนวทางแก้ไขปัญหาตามที่จังหวัดจันทบุรีเสนอ
4. เห็นชอบข้อเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของจังหวัดจันทบุรี ดังนี้
(1) โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองอ่างพร้อมขุดคลองเชื่อมและสะพาน ของกรมชลประทาน
(2) เร่งรัดโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคตะวันออก ของกระทรวงพาณิชย์
(3) โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยศึกษาความเป็นไปได้และนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติต่อไป
(4) โครงการพัฒนาจันทบุรีเป็นนครแห่งอัญมณี ของจังหวัดจันทบุรี โดยมอบหมายให้จังหวัดจันทบุรีเป็นผู้ดำเนินการเสนอขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป
(5) โครงการปรับปรุงถนนสาย จบ.4012 แยกทางหลวงหมายเลข 3406 (กม.ที่ 14) — บ้านขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว ของจังหวัดจันทบุรี
(6) โครงการขยายถนนจันทบุรี — สระแก้ว ช่วงจากจังหวัดจันทบุรี — อำเภอโป่งน้ำร้อน ของกรมทางหลวง
(7) โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริหารราชการชายแดน ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม ของจังหวัดจันทบุรี โดยให้กระทรวงการคลังสนับสนุนการดำเนินงาน
(8) โครงการพัฒนาพระตำหนักวังสวนบ้านแก้ว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
5. ให้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมชลประทาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมไทย กรมทางหลวง กระทรวงการคลัง พิจารณาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ โดยให้สำนักงบประมาณ พิจารณาสนับสนุนด้านงบประมาณโดยเร่งด่วนต่อไป
สำหรับบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)มีสาระสำคัญดังนี้
1) บทบาทการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกที่สำคัญมี 2 ประการ คือ (1) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ (Industrial Heartland) โดยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี น้ำมัน ยานยนต์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และประตูส่งออกที่สำคัญของประเทศ และ (2) แหล่งเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ (Green Land) โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตและจำหน่ายผลไม้เพื่อการส่งออกที่เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและพลังงาน การท่องเที่ยวและการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนา คุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ (1) การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและพลังงานของอาเซียนควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (3) การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวหลักของแต่ละจังหวัดกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ (4) การเป็นพันธมิตรกับภูมิภาคอินโดจีน
3) ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วย
3.1) การสร้างฐานการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ประสบปัญหาข้อจำกัด 2 ด้าน คือ
(1) ปัญหาการขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนแล้งทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม ในจังหวัดชลบุรี — ระยอง และ (2) การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไม่ทันกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะถนนเชื่อมโยงแหล่งอุตสาหกรรมกับท่าเรือน้ำลึก
แนวทางแก้ไข คือ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของภาคตะวันออกทั้งระบบ และปรับปรุงและขยายระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง บริเวณที่เป็นคอขวดของการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.2) การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร ประสบปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ อันเนื่องมาจากความไม่สมดุลของการผลิตและการตลาด รวมทั้งเทคโนโลยีการแปรรูป
แนวทางแก้ไข
(1) ด้านการผลิต โดยวางแผนการจัดการปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับเกษตรกร การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการวิจัยและพัฒนา
(2) ด้านการแปรรูป โดยการให้สิทธิส่งเสริมการลงทุนพิเศษและการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการเกษตร
(3) ด้านการตลาด โดยเร่งรัดการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคตะวันออก เพิ่มการพัฒนาและการลงทุนด้านระบบขนส่ง บริการบรรจุภัณฑ์และเก็บรักษา รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร
3.3) การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อสร้างจุดเด่นและความเป็นเอกลักษณ์ในแหล่งท่องเที่ยวแต่ละประเภท
แนวทางแก้ไข จัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวและจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งฟื้นฟูและสนับสนุนการจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน สนับสนุนการท่องเที่ยวพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและได้มาตรฐาน และพัฒนาสินค้า OTOP ให้สนับสนุนการท่องเที่ยว
3.4) การสร้างพันธมิตรกับภูมิภาคอินโดจีน ได้แก่ ขาดระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกัน และแรงงานกัมพูชาลักลอบเข้ามาทำงานในฝั่งไทย
แนวทางแก้ไข ยกระดับมาตรฐานให้บริการและอำนวยความสะดวก เช่น (One Stop Service) ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างกัน และสร้างฐานการผลิตตามแนวชายแดนเพื่อให้เกิดการจ้างงานและลดปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามา
ส่วนภาพรวมและแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดจันทบุรี มีสาระสำคัญดังนี้
1) บทบาทการพัฒนาของจังหวัดจันทบุรีในบริบทของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก มี 4 บทบาท คือ (1) ศูนย์ผลไม้ และศูนย์กลางการแปรรูปการเกษตรเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะและยางพารา (2) แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากมีทรัพยากร ชายหาด ภูเขา น้ำตก ที่สวยงาม รวมทั้งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญ (3) เมืองอัญมณี โดยเป็นศูนย์กลางการค้าขายอัญมณี ศูนย์เจียระไนและแหล่งเผาพลอย ที่มีชื่อเสียง (4) การค้าพื้นชายแดนไทย — กัมพูชา จะมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางทางการค้า การคมนาคมขนส่ง และการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดจันทบุรี เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัดและบทบาทของจังหวัดจันทบุรี เห็นควรวางยุทธศาสตร์ 8 ประการ มีดังนี้คือ (1) พัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสู่มาตรฐานสากล (2)พัฒนาสินค้าเกษตรและแปรรูปให้ได้มาตรฐานสากลและกระจายสินค้าทั้งในและนอกประเทศ (3) พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว (4) ขยายการค้าและการท่องเที่ยวสู่ภูมิภาคอินโดจีน (5) พัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรกรรม เกษตรแปรรูป และการท่องเที่ยวให้สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า (6) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน (7) เสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต (8) ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดี
3) ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย
3.1) อุทกภัย เนื่องจากพื้นที่ป่าลดลง และการขยายตัวของเมืองขวางทางน้ำ
แนวทางแก้ไข คือ เร่งรัดโครงการบรรเทาอุทกภัยจังหวัดจันทบุรี ระยะที่ 2
3.2) ปัญหาด้านการเกษตร ได้แก่ ราคาผลผลิตตกต่ำ และการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
แนวทางแก้ไข คือ พัฒนาระบบตลาด และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร และการพัฒนาแหล่งน้ำ
3.3) ปัญหาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ขาดแคลนวัตถุดิบ ผู้เชี่ยวชาญลดลงและภูมิปัญญาท้องถิ่นยังไม่มีการถ่ายทอด รวมทั้งยังไม่มีการสร้างมาตรฐานรับรองคุณภาพอัญมณีที่เป็นสากล
แนวทางแก้ไข คือ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารดูแลในภาพรวมและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการผลิตอัญมณีเข้าถึงแหล่งทุน จัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และพัฒนาอัญมณีและพัฒนาบุคลากรด้านอัญมณี
3.4) ปัญหาด้านการท่องเที่ยว รูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวใหม่มีน้อย ที่ยังขาดการประชาสัมพันธ์และเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวยังไม่สะดวก
แนวทางแก้ไข คือ พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และบริการด้านข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว
3.5) ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ที่ยังไม่มีระบบ (One Stop Service) ทำให้เสียเวลาในการขออนุญาตส่งออกและนำเข้า และสภาพเส้นทางในการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างลำบาก
แนวทางแก้ไข คือ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการด้านการค้าและการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงจุดการค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา
3.6) ปัญหาสภาพป่าชายเลนเสื่อมโทรม เนื่องจากถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งจำนวนมาก
แนวทางแก้ไข คือ สนับสนุนการนำระบบชลประทานน้ำเค็ม มาใช้ในการเลี้ยงกุ้ง
4) ข้อเสนอแผนงาน และโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของจังหวัดจันทบุรี
4.1) แผนงานป้องกันอุทกภัย ได้แก่ โครงการป้องกันปัญหาอุทกภัย ระยะที่ 2 จำนวน 13 โครงการ ซึ่งอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร การดำเนินงานเห็นควรให้ใช้งบประมาณจากกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองอ่างพร้อมขุดคลองเชื่อมและสะพาน วงเงิน 54 ล้านบาท เป็นโครงการเร่งด่วนลำดับแรก
4.2) แผนงานแก้ไขปัญหาทางด้านการเกษตร ประกอบด้วย
(1) แผนงานการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ประกอบด้วย 1) โครงการการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ จำนวน 7 โครงการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร อย่างเป็นระบบต่อไป 2) โครงการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคตะวันออก เห็นควรสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ 3) โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ
(2) แผนงานการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ จำนวน 19 โครงการ ซึ่งอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร เห็นควรให้กระทรวง กรมที่เกี่ยวข้องสนับสนุนงบประมาณดำเนินงาน ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับ โครงการที่มีความพร้อม และสามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่เป็นลำดับแรก
4.3) แผนงานพัฒนาจันทบุรีให้เป็นนครแห่งอัญมณี ประกอบด้วย
(1) ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและดูแล คลัสเตอร์อัญมณี เพื่อบริหารจัดการในภาพรวม
(2) โครงการจัดตั้งศูนย์รวมอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี โดยจังหวัดจันทบุรีได้สนับสนุนงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 50 ล้านบาท
(3) โครงการจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และพัฒนาอัญมณี เห็นควรสนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อดำเนินการในเบื้องต้นวงเงิน 32.5 ล้านบาท
(4) โครงการพัฒนาบุคลากร เห็นควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจัดทำโครงการในลักษณะนำร่อง วงเงิน 10 ล้านบาท
(5) โครงการแปลงสินทรัพย์อัญมณีเป็นทุน เห็นควรมอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับธนาคารกรุงไทย พิจารณาดำเนินการให้มีผลในทางปฏิบัติ
4.4) แผนงานด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 2 โครงการ
(1) โครงการปรับปรุงถนนสาย จบ.4012 แยกทางหลวงหมายเลข 3409 (กม. ที่ 14.00) บ้านขุนซ่อง อำเภอแก่งหาแมว วงเงิน 50 ล้านบาท ให้ใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการสนับสนุนการดำเนินงาน
(2) โครงการพัฒนาพระตำหนักวังสวนแก้ว พัฒนาพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น เห็นควรให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ
4.5) แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์
(1) โครงการก่อสร้างศูนย์บริหารราชการชายแดน ณ จุดผ่านแดนถาวร 2 จุด ที่บ้านแหลม ต.เทพนิมิต และบ้านผักกาด ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน วงเงิน 60 ล้านบาท เห็นควรให้กระทรวงการคลังพิจารณา สนับสนุนงบประมาณประจำปี 2550 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ณ จุดบ้านแหลม ในลำดับแรกเนื่องจากมีความพร้อมในเรื่องพื้นที่ สำหรับจุดผ่านแดนบ้านผักกาดให้จัดเตรียมความพร้อมด้านพื้นที่และของบประมาณดำเนินการปีต่อไป
(2) โครงการปรับปรุงถนนสายจันทบุรี สระแก้ว ช่วงจากจันทบุรี — อำเภอโป่งน้ำร้อน ระยะทาง 37 กิโลเมตร วงเงิน 700 ล้านบาท เห็นควรให้กรมทางหลวงพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ โดยให้เร่งปรับปรุงสายทาง ระยะทาง 10 กิโลเมตรแรก เป็นกรณีเร่งด่วน
(3) โครงการปรับปรุงถนนสายบ้านแหลม บึงชนังล่าง อ.โป่งน้ำร้อน วงเงิน 15.20 ล้านบาท ให้ใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการสนับสนุนการดำเนินงานในปี 2550
(4) โครงการปรับปรุงถนนสายบ้าแหลม อ.โป่งน้ำร้อน ถึงบ่อเวล และ โครงการถนนสายบ้านผักกาด — ไพลิน — บรรจบกับถนนหมายเลข 5 จ.พระตระบอง ประเทศกัมพูชา เส้นทางจำนวน 2 สายทาง เห็นควรให้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน พิจารณาความเหมาะสมและให้ความเห็นชอบในการดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 สิงหาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบยุทธศาสตร์ และแนวทางแก้ไขปัญหาตามที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเสนอ
2. เห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการในเรื่องเร่งด่วน รวมทั้งให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนด้านงบประมาณต่อไป ดังนี้
(1) เร่งรัดการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของภาคตะวันออกทั้งระบบสำหรับภาคอุตสาหกรรม และน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
(2) โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องทางจราจรจาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร จำนวน 8 เส้นทาง โดยมอบหมายกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ
(3) โครงการการส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด โดยสร้างความเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในกลุ่มจังหวัด โดยมอบหมายกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับกลุ่มจังหวัดและจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ
(4) การสร้างระบบสิ่งจูงใจทั้งด้านการส่งเสริมการลงทุน และสิทธิพิเศษทางภาษี เพื่อจูงใจการลงทุนเพิ่มขึ้นในกลุ่มจังหวัด โดยมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกระทรวงการคลัง
3. เห็นชอบยุทธศาสตร์ และแนวทางแก้ไขปัญหาตามที่จังหวัดจันทบุรีเสนอ
4. เห็นชอบข้อเสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของจังหวัดจันทบุรี ดังนี้
(1) โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองอ่างพร้อมขุดคลองเชื่อมและสะพาน ของกรมชลประทาน
(2) เร่งรัดโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคตะวันออก ของกระทรวงพาณิชย์
(3) โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยศึกษาความเป็นไปได้และนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติต่อไป
(4) โครงการพัฒนาจันทบุรีเป็นนครแห่งอัญมณี ของจังหวัดจันทบุรี โดยมอบหมายให้จังหวัดจันทบุรีเป็นผู้ดำเนินการเสนอขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป
(5) โครงการปรับปรุงถนนสาย จบ.4012 แยกทางหลวงหมายเลข 3406 (กม.ที่ 14) — บ้านขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว ของจังหวัดจันทบุรี
(6) โครงการขยายถนนจันทบุรี — สระแก้ว ช่วงจากจังหวัดจันทบุรี — อำเภอโป่งน้ำร้อน ของกรมทางหลวง
(7) โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริหารราชการชายแดน ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม ของจังหวัดจันทบุรี โดยให้กระทรวงการคลังสนับสนุนการดำเนินงาน
(8) โครงการพัฒนาพระตำหนักวังสวนบ้านแก้ว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
5. ให้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมชลประทาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมไทย กรมทางหลวง กระทรวงการคลัง พิจารณาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ โดยให้สำนักงบประมาณ พิจารณาสนับสนุนด้านงบประมาณโดยเร่งด่วนต่อไป
สำหรับบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)มีสาระสำคัญดังนี้
1) บทบาทการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกที่สำคัญมี 2 ประการ คือ (1) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ (Industrial Heartland) โดยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี น้ำมัน ยานยนต์ เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และประตูส่งออกที่สำคัญของประเทศ และ (2) แหล่งเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ (Green Land) โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตและจำหน่ายผลไม้เพื่อการส่งออกที่เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและพลังงาน การท่องเที่ยวและการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนา คุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ (1) การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและพลังงานของอาเซียนควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (3) การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวหลักของแต่ละจังหวัดกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ (4) การเป็นพันธมิตรกับภูมิภาคอินโดจีน
3) ประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วย
3.1) การสร้างฐานการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ประสบปัญหาข้อจำกัด 2 ด้าน คือ
(1) ปัญหาการขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนแล้งทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม ในจังหวัดชลบุรี — ระยอง และ (2) การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไม่ทันกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะถนนเชื่อมโยงแหล่งอุตสาหกรรมกับท่าเรือน้ำลึก
แนวทางแก้ไข คือ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของภาคตะวันออกทั้งระบบ และปรับปรุงและขยายระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง บริเวณที่เป็นคอขวดของการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.2) การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร ประสบปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ อันเนื่องมาจากความไม่สมดุลของการผลิตและการตลาด รวมทั้งเทคโนโลยีการแปรรูป
แนวทางแก้ไข
(1) ด้านการผลิต โดยวางแผนการจัดการปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับเกษตรกร การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการวิจัยและพัฒนา
(2) ด้านการแปรรูป โดยการให้สิทธิส่งเสริมการลงทุนพิเศษและการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการเกษตร
(3) ด้านการตลาด โดยเร่งรัดการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคตะวันออก เพิ่มการพัฒนาและการลงทุนด้านระบบขนส่ง บริการบรรจุภัณฑ์และเก็บรักษา รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร
3.3) การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อสร้างจุดเด่นและความเป็นเอกลักษณ์ในแหล่งท่องเที่ยวแต่ละประเภท
แนวทางแก้ไข จัดระเบียบแหล่งท่องเที่ยว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวและจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งฟื้นฟูและสนับสนุนการจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน สนับสนุนการท่องเที่ยวพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและได้มาตรฐาน และพัฒนาสินค้า OTOP ให้สนับสนุนการท่องเที่ยว
3.4) การสร้างพันธมิตรกับภูมิภาคอินโดจีน ได้แก่ ขาดระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกัน และแรงงานกัมพูชาลักลอบเข้ามาทำงานในฝั่งไทย
แนวทางแก้ไข ยกระดับมาตรฐานให้บริการและอำนวยความสะดวก เช่น (One Stop Service) ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระหว่างกัน และสร้างฐานการผลิตตามแนวชายแดนเพื่อให้เกิดการจ้างงานและลดปัญหาแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามา
ส่วนภาพรวมและแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดจันทบุรี มีสาระสำคัญดังนี้
1) บทบาทการพัฒนาของจังหวัดจันทบุรีในบริบทของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก มี 4 บทบาท คือ (1) ศูนย์ผลไม้ และศูนย์กลางการแปรรูปการเกษตรเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะและยางพารา (2) แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากมีทรัพยากร ชายหาด ภูเขา น้ำตก ที่สวยงาม รวมทั้งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญ (3) เมืองอัญมณี โดยเป็นศูนย์กลางการค้าขายอัญมณี ศูนย์เจียระไนและแหล่งเผาพลอย ที่มีชื่อเสียง (4) การค้าพื้นชายแดนไทย — กัมพูชา จะมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางทางการค้า การคมนาคมขนส่ง และการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดจันทบุรี เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัดและบทบาทของจังหวัดจันทบุรี เห็นควรวางยุทธศาสตร์ 8 ประการ มีดังนี้คือ (1) พัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสู่มาตรฐานสากล (2)พัฒนาสินค้าเกษตรและแปรรูปให้ได้มาตรฐานสากลและกระจายสินค้าทั้งในและนอกประเทศ (3) พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว (4) ขยายการค้าและการท่องเที่ยวสู่ภูมิภาคอินโดจีน (5) พัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรกรรม เกษตรแปรรูป และการท่องเที่ยวให้สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า (6) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน (7) เสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต (8) ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดี
3) ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย
3.1) อุทกภัย เนื่องจากพื้นที่ป่าลดลง และการขยายตัวของเมืองขวางทางน้ำ
แนวทางแก้ไข คือ เร่งรัดโครงการบรรเทาอุทกภัยจังหวัดจันทบุรี ระยะที่ 2
3.2) ปัญหาด้านการเกษตร ได้แก่ ราคาผลผลิตตกต่ำ และการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
แนวทางแก้ไข คือ พัฒนาระบบตลาด และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร และการพัฒนาแหล่งน้ำ
3.3) ปัญหาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ขาดแคลนวัตถุดิบ ผู้เชี่ยวชาญลดลงและภูมิปัญญาท้องถิ่นยังไม่มีการถ่ายทอด รวมทั้งยังไม่มีการสร้างมาตรฐานรับรองคุณภาพอัญมณีที่เป็นสากล
แนวทางแก้ไข คือ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารดูแลในภาพรวมและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการผลิตอัญมณีเข้าถึงแหล่งทุน จัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และพัฒนาอัญมณีและพัฒนาบุคลากรด้านอัญมณี
3.4) ปัญหาด้านการท่องเที่ยว รูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวใหม่มีน้อย ที่ยังขาดการประชาสัมพันธ์และเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวยังไม่สะดวก
แนวทางแก้ไข คือ พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และบริการด้านข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว
3.5) ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ที่ยังไม่มีระบบ (One Stop Service) ทำให้เสียเวลาในการขออนุญาตส่งออกและนำเข้า และสภาพเส้นทางในการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างลำบาก
แนวทางแก้ไข คือ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการด้านการค้าและการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงจุดการค้าชายแดนไทยกับกัมพูชา
3.6) ปัญหาสภาพป่าชายเลนเสื่อมโทรม เนื่องจากถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งจำนวนมาก
แนวทางแก้ไข คือ สนับสนุนการนำระบบชลประทานน้ำเค็ม มาใช้ในการเลี้ยงกุ้ง
4) ข้อเสนอแผนงาน และโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของจังหวัดจันทบุรี
4.1) แผนงานป้องกันอุทกภัย ได้แก่ โครงการป้องกันปัญหาอุทกภัย ระยะที่ 2 จำนวน 13 โครงการ ซึ่งอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร การดำเนินงานเห็นควรให้ใช้งบประมาณจากกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองอ่างพร้อมขุดคลองเชื่อมและสะพาน วงเงิน 54 ล้านบาท เป็นโครงการเร่งด่วนลำดับแรก
4.2) แผนงานแก้ไขปัญหาทางด้านการเกษตร ประกอบด้วย
(1) แผนงานการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ประกอบด้วย 1) โครงการการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ จำนวน 7 โครงการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร อย่างเป็นระบบต่อไป 2) โครงการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรภาคตะวันออก เห็นควรสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ 3) โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ
(2) แผนงานการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ จำนวน 19 โครงการ ซึ่งอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร เห็นควรให้กระทรวง กรมที่เกี่ยวข้องสนับสนุนงบประมาณดำเนินงาน ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับ โครงการที่มีความพร้อม และสามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่เป็นลำดับแรก
4.3) แผนงานพัฒนาจันทบุรีให้เป็นนครแห่งอัญมณี ประกอบด้วย
(1) ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารและดูแล คลัสเตอร์อัญมณี เพื่อบริหารจัดการในภาพรวม
(2) โครงการจัดตั้งศูนย์รวมอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี โดยจังหวัดจันทบุรีได้สนับสนุนงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 50 ล้านบาท
(3) โครงการจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และพัฒนาอัญมณี เห็นควรสนับสนุนงบประมาณให้มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อดำเนินการในเบื้องต้นวงเงิน 32.5 ล้านบาท
(4) โครงการพัฒนาบุคลากร เห็นควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจัดทำโครงการในลักษณะนำร่อง วงเงิน 10 ล้านบาท
(5) โครงการแปลงสินทรัพย์อัญมณีเป็นทุน เห็นควรมอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับธนาคารกรุงไทย พิจารณาดำเนินการให้มีผลในทางปฏิบัติ
4.4) แผนงานด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 2 โครงการ
(1) โครงการปรับปรุงถนนสาย จบ.4012 แยกทางหลวงหมายเลข 3409 (กม. ที่ 14.00) บ้านขุนซ่อง อำเภอแก่งหาแมว วงเงิน 50 ล้านบาท ให้ใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการสนับสนุนการดำเนินงาน
(2) โครงการพัฒนาพระตำหนักวังสวนแก้ว พัฒนาพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น เห็นควรให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ
4.5) แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์
(1) โครงการก่อสร้างศูนย์บริหารราชการชายแดน ณ จุดผ่านแดนถาวร 2 จุด ที่บ้านแหลม ต.เทพนิมิต และบ้านผักกาด ต.คลองใหญ่ อ.โป่งน้ำร้อน วงเงิน 60 ล้านบาท เห็นควรให้กระทรวงการคลังพิจารณา สนับสนุนงบประมาณประจำปี 2550 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ณ จุดบ้านแหลม ในลำดับแรกเนื่องจากมีความพร้อมในเรื่องพื้นที่ สำหรับจุดผ่านแดนบ้านผักกาดให้จัดเตรียมความพร้อมด้านพื้นที่และของบประมาณดำเนินการปีต่อไป
(2) โครงการปรับปรุงถนนสายจันทบุรี สระแก้ว ช่วงจากจันทบุรี — อำเภอโป่งน้ำร้อน ระยะทาง 37 กิโลเมตร วงเงิน 700 ล้านบาท เห็นควรให้กรมทางหลวงพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ โดยให้เร่งปรับปรุงสายทาง ระยะทาง 10 กิโลเมตรแรก เป็นกรณีเร่งด่วน
(3) โครงการปรับปรุงถนนสายบ้านแหลม บึงชนังล่าง อ.โป่งน้ำร้อน วงเงิน 15.20 ล้านบาท ให้ใช้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการสนับสนุนการดำเนินงานในปี 2550
(4) โครงการปรับปรุงถนนสายบ้าแหลม อ.โป่งน้ำร้อน ถึงบ่อเวล และ โครงการถนนสายบ้านผักกาด — ไพลิน — บรรจบกับถนนหมายเลข 5 จ.พระตระบอง ประเทศกัมพูชา เส้นทางจำนวน 2 สายทาง เห็นควรให้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน พิจารณาความเหมาะสมและให้ความเห็นชอบในการดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 สิงหาคม 2548--จบ--