คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เรื่อง มาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอ ดังนี้
1. ความก้าวหน้าการดำเนินการ
1.1 มาตรการที่มีผลในทางปฏิบัติแล้ว และหน่วยงานรับผิดชอบได้ชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อสงสัยของเอกชนจนเป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนแล้วจำนวน 3 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการลดหย่อน ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (กระทรวงมหาดไทย) มาตรการชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยทรัพย์สิน (กระทรวงพาณิชย์) และมาตรการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ธนาคารแห่งประเทศไทย)
1.2 มาตรการที่ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติเนื่องจากอยู่ระหว่างการเตรียมการของหน่วยงานรับผิดชอบ ประกอบด้วย มาตรการภาษี (กรมสรรพากร) มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด (กระทรวงพาณิชย์) มาตรการสนับสนุนแรงงานต่างด้าว (กระทรวงแรงงาน) มาตรการเพื่อสร้างหลักประกันทางสังคมสำหรับแรงงาน (สำนักงานกองทุนประกันสังคม) และมาตรการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับประชาชน (กระทรวงมหาดไทย)
2. ข้อเสนอเพิ่มเติมจากภาคเอกชน
2.1 มาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ ควรให้มีความครอบคลุมไปถึงกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มข้าราชการ กลุ่มค้าขายรายย่อย เช่น หาบเร่ แผงลอย ด้วย ได้แก่ มาตรการยกเว้นหรือลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาตรการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการลดภาระการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
2.2 มาตรการด้านแรงงาน ให้สถานประกอบการสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้พร้อมกับลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ได้แก่ การลดหย่อนค่าใบอนุญาต การชำระค่าตรวจและค่าประกันสุขภาพเป็นงวดปีละ 4 งวด การให้ผู้ประกอบการสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวทดแทนแรงงานที่ออกจากงานหรือการจ้างเพิ่มเติมกรณีขยายกิจการ ให้มีการจัดตั้งศูนย์ดูแลแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีการเปิดรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ตลอดเวลา และรวมถึงการให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวใหม่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. ความก้าวหน้าการดำเนินการ
1.1 มาตรการที่มีผลในทางปฏิบัติแล้ว และหน่วยงานรับผิดชอบได้ชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อสงสัยของเอกชนจนเป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนแล้วจำนวน 3 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการลดหย่อน ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (กระทรวงมหาดไทย) มาตรการชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยทรัพย์สิน (กระทรวงพาณิชย์) และมาตรการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ธนาคารแห่งประเทศไทย)
1.2 มาตรการที่ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติเนื่องจากอยู่ระหว่างการเตรียมการของหน่วยงานรับผิดชอบ ประกอบด้วย มาตรการภาษี (กรมสรรพากร) มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด (กระทรวงพาณิชย์) มาตรการสนับสนุนแรงงานต่างด้าว (กระทรวงแรงงาน) มาตรการเพื่อสร้างหลักประกันทางสังคมสำหรับแรงงาน (สำนักงานกองทุนประกันสังคม) และมาตรการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับประชาชน (กระทรวงมหาดไทย)
2. ข้อเสนอเพิ่มเติมจากภาคเอกชน
2.1 มาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ ควรให้มีความครอบคลุมไปถึงกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มข้าราชการ กลุ่มค้าขายรายย่อย เช่น หาบเร่ แผงลอย ด้วย ได้แก่ มาตรการยกเว้นหรือลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาตรการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการลดภาระการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
2.2 มาตรการด้านแรงงาน ให้สถานประกอบการสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้พร้อมกับลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ได้แก่ การลดหย่อนค่าใบอนุญาต การชำระค่าตรวจและค่าประกันสุขภาพเป็นงวดปีละ 4 งวด การให้ผู้ประกอบการสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวทดแทนแรงงานที่ออกจากงานหรือการจ้างเพิ่มเติมกรณีขยายกิจการ ให้มีการจัดตั้งศูนย์ดูแลแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีการเปิดรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวได้ตลอดเวลา และรวมถึงการให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวใหม่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--