คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สรุปสถานการณ์ภัยหนาวและภัยแล้งตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ดังนี้
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 48 จังหวัด 471 อำเภอ 54 กิ่งอำเภอ 3,423 ตำบล 35,618 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,512,633 คน 2,177,530 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และนครสวรรค์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
- ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และสระแก้ว
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 46 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนให้แก่จังหวัดที่ประสบภัยหนาวตามที่ร้องขอ ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
1.3.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่น ๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 1,628,299 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 1,409,150 ผืน เสื้อกันหนาว 152,169 ตัว หมวกไหมพรม 50,873 ผืน และอื่น ๆ 16,107 ชิ้น)
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550)
ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550) ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 20 จังหวัด 158 อำเภอ 20 กิ่งฯ 1,072 ตำบล 9,097 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 9,097 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 44.22 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 20 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 12.35 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) แยกเป็น
- ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง แพร่ ตาก และน่าน
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองคายมุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ยโสธร สกลนคร และนครพนม
- ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี
- ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด และสระแก้ว
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 881,907 ครัวเรือน 3,642,967 คน (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 881,907 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 23.13 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 20 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน (5 กุมภาพันธ์ 2550) เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง คิดเป็นร้อยละ
ปัจจุบัน (ณ 5 ก.พ. 2550) (ของหมู่บ้านทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 5,591 17.16
2 เหนือ 16,306 2,781 17.06
3 ตะวันออก 4,816 657 13.64
4 กลาง 11,377 68 0.6
5 ใต้ 8,588 - -
รวม 73,663 9,097 12.35
2.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 438,809 ไร่
2.4 การให้ความช่วยเหลือ
2.4.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก 442 เครื่อง เพื่อการอุปโภคบริโภค 17 เครื่อง
(2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 2,170 แห่ง
(3) การขุดลอกแหล่งน้ำ 101 แห่ง
2.4.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค ใช้รถบรรทุกน้ำ 171 คัน แจกจ่ายน้ำ 5,211 เที่ยว จำนวน 30,887,800 ลิตร
2.4.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายจากงบ 50 ล้านบาทของจังหวัดไปแล้ว จำนวน 74,976,137 บาท
2.5 การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งของการประปาส่วนภูมิภาคการประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า (จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 5,923,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 69,595.25 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
1. สถานการณ์ภัยหนาว (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550)
1.1 พื้นที่ประสบภัยหนาว จำนวน 48 จังหวัด 471 อำเภอ 54 กิ่งอำเภอ 3,423 ตำบล 35,618 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,512,633 คน 2,177,530 ครัวเรือน แยกเป็น
- ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และนครสวรรค์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
- ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และสระแก้ว
1.2 จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 46 จังหวัด
1.3 การให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยหนาว
1.3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดหาเครื่องนุ่งห่มกันหนาวเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวปีงบประมาณ 2550 ไว้ดังนี้
1) โอนเงินงบประมาณไปตั้งจ่ายที่คลังจังหวัด เพื่อจัดซื้อเครื่องกันหนาวจากกลุ่มอาชีพ/กลุ่มแม่บ้านในจังหวัด รวมจำนวน 54 จังหวัด ในวงเงินงบประมาณ 31,155,000 บาท
2) จัดส่งเครื่องกันหนาวไปให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1-10 และจังหวัด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนให้แก่จังหวัดที่ประสบภัยหนาวตามที่ร้องขอ ในวงเงินงบประมาณ 28,845,000 บาท
1.3.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภากาชาดไทย มูลนิธิ ภาคเอกชน และอื่น ๆ ได้แจกจ่ายเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยหนาวไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 1,628,299 ชิ้น (แยกเป็น ผ้าห่มนวม 1,409,150 ผืน เสื้อกันหนาว 152,169 ตัว หมวกไหมพรม 50,873 ผืน และอื่น ๆ 16,107 ชิ้น)
2. สถานการณ์ภัยแล้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550)
ได้รับรายงานจากจังหวัดว่าได้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550) ดังนี้
2.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 20 จังหวัด 158 อำเภอ 20 กิ่งฯ 1,072 ตำบล 9,097 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 9,097 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 44.22 ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 20 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็นร้อยละ 12.35 ของหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) แยกเป็น
- ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย ลำปาง แพร่ ตาก และน่าน
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองคายมุกดาหาร อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ ยโสธร สกลนคร และนครพนม
- ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี
- ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด และสระแก้ว
2.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 881,907 ครัวเรือน 3,642,967 คน (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน 881,907 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 23.13 ของครัวเรือนทั้งหมดใน 20 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ณ ปัจจุบัน (5 กุมภาพันธ์ 2550) เปรียบเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด จำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง คิดเป็นร้อยละ
ปัจจุบัน (ณ 5 ก.พ. 2550) (ของหมู่บ้านทั้งประเทศ)
1 ตะวันออกเฉียงเหนือ 32,576 5,591 17.16
2 เหนือ 16,306 2,781 17.06
3 ตะวันออก 4,816 657 13.64
4 กลาง 11,377 68 0.6
5 ใต้ 8,588 - -
รวม 73,663 9,097 12.35
2.3 พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 438,809 ไร่
2.4 การให้ความช่วยเหลือ
2.4.1 การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการเพาะปลูก 442 เครื่อง เพื่อการอุปโภคบริโภค 17 เครื่อง
(2) สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 2,170 แห่ง
(3) การขุดลอกแหล่งน้ำ 101 แห่ง
2.4.2 การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค ใช้รถบรรทุกน้ำ 171 คัน แจกจ่ายน้ำ 5,211 เที่ยว จำนวน 30,887,800 ลิตร
2.4.3 งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายจากงบ 50 ล้านบาทของจังหวัดไปแล้ว จำนวน 74,976,137 บาท
2.5 การสนับสนุนน้ำประปาช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้งของการประปาส่วนภูมิภาคการประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการแจกจ่ายน้ำประปาให้แก่รถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการโดยไม่คิดมูลค่า (จ่ายน้ำฟรี) เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 5,923,000 ลิตร คิดเป็นเงิน 69,595.25 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--