แท็ก
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงแรงงาน
คณะรัฐมนตรี
อาหารสยาม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งได้ปรับปรุงตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับค่าจ้าง นอกจากนิยามศัพท์คำว่า “ค่าจ้าง” แล้ว ได้กำหนดหมวด 6 ว่าด้วย “คณะกรรมการค่าจ้าง” ไว้ ซึ่งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจในขอบเขตที่จำกัดเฉพาะการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด นอกจากนั้นจะเป็นการให้ข้อเสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างแก่คณะรัฐมนตรี เพื่อให้ข้อแนะนำภาคเอกชนเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและการปรับค่าจ้างประจำปี มีผลทำให้
1.1 นายจ้างถือการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมการค่าจ้างเป็นหลักในการจ่ายค่าจ้าง โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงานของลูกจ้าง ถ้าปีใดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ขึ้น ลูกจ้างก็ไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกจ้างไม่มีกำลังใจในการทำงานและไม่มุ่งหวัง หรือพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าต่อไป ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาของประเทศด้วย จึงควรมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าจ้างประจำปีไว้เป็นแนวทางให้นายจ้างถือปฏิบัติ
1.2 ปัจจุบันคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานไว้เป็นแนวทางให้นายจ้างถือปฏิบัติเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจบังคับเพราะกฎหมายกำหนดเพียงให้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ข้อแนะนำภาคเอกชนเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและการปรับค่าจ้างเท่านั้น จึงมีลูกจ้างอีกเป็นจำนวนมากที่มีฝีมือตามมาตรฐานที่กำหนดแต่ไม่ได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือของตนเอง การแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อให้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานและอัตราค่าจ้างตามสาขาอาชีพของลูกจ้างให้เกิดความเหมาะสมแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเอกชน และทำให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
2. ได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนี้
1. เพิ่มเติมนิยามคำว่า “อัตราค่าจ้าง” เพื่อให้ครอบคลุมถึงอัตราค่าจ้างทุกประเภทที่คณะกรรมการกำหนด และเพิ่มเติมนิยามคำว่า “อัตราค่าจ้างตามการประเมิน” เพื่อให้คณะกรรมการค่าจ้างมีการกำหนดค่าจ้างตามการประเมิน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5)
2. เพิ่มเติมให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ และให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินห้าคนเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการค่าจ้างซึ่งในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงาน การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กฎหมาย หรือทรงคุณวุฒิอื่น และให้นำบทบัญญัติเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการค่าจ้างมาใช้บังคับโดยอนุโลม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 78)
3. เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ให้สามารถกำหนดแนวทางการปรับค่าจ้างประจำปีตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม และกำหนดอัตราค่าจ้างตามการประเมิน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 79)
4. เพิ่มเติมให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามการประเมิน เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 84)
5. เพิ่มเติมให้การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างอาจเกิดขึ้นจากคณะกรรมการเป็นผู้ริเริ่มเอง หรือกรรมการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพิจารณาเห็นควรปรับอัตราค่าจ้าง และกำหนดให้การพิจารณาดังกล่าวครอบคลุมถึงสาขาสาขาอาชีพด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 87)
6. แก้ไขเพิ่มเติมให้ประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างของคณะกรรมการค่าจ้างต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 88)
7. แก้ไขให้ประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างทุกประเภท ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างไม่ว่านายจ้างและลูกจ้างนั้นจะมีสัญชาติ ศาสนา หรือเพศใด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 89)
8. แก้ไขให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างทุกประเภทที่กำหนด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 90)
9. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างให้มีหน้าที่ในการจัดทำแผนพัฒนาระบบค่าจ้างและรายได้ของประเทศเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้าง รวมทั้งติดตามและประเมินผลแผนดังกล่าวด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับค่าจ้าง นอกจากนิยามศัพท์คำว่า “ค่าจ้าง” แล้ว ได้กำหนดหมวด 6 ว่าด้วย “คณะกรรมการค่าจ้าง” ไว้ ซึ่งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจในขอบเขตที่จำกัดเฉพาะการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด นอกจากนั้นจะเป็นการให้ข้อเสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างแก่คณะรัฐมนตรี เพื่อให้ข้อแนะนำภาคเอกชนเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและการปรับค่าจ้างประจำปี มีผลทำให้
1.1 นายจ้างถือการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมการค่าจ้างเป็นหลักในการจ่ายค่าจ้าง โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงานของลูกจ้าง ถ้าปีใดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ขึ้น ลูกจ้างก็ไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกจ้างไม่มีกำลังใจในการทำงานและไม่มุ่งหวัง หรือพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าต่อไป ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาของประเทศด้วย จึงควรมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าจ้างประจำปีไว้เป็นแนวทางให้นายจ้างถือปฏิบัติ
1.2 ปัจจุบันคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานไว้เป็นแนวทางให้นายจ้างถือปฏิบัติเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจบังคับเพราะกฎหมายกำหนดเพียงให้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ข้อแนะนำภาคเอกชนเกี่ยวกับการกำหนดค่าจ้างและการปรับค่าจ้างเท่านั้น จึงมีลูกจ้างอีกเป็นจำนวนมากที่มีฝีมือตามมาตรฐานที่กำหนดแต่ไม่ได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือของตนเอง การแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อให้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานและอัตราค่าจ้างตามสาขาอาชีพของลูกจ้างให้เกิดความเหมาะสมแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเอกชน และทำให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
2. ได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนี้
1. เพิ่มเติมนิยามคำว่า “อัตราค่าจ้าง” เพื่อให้ครอบคลุมถึงอัตราค่าจ้างทุกประเภทที่คณะกรรมการกำหนด และเพิ่มเติมนิยามคำว่า “อัตราค่าจ้างตามการประเมิน” เพื่อให้คณะกรรมการค่าจ้างมีการกำหนดค่าจ้างตามการประเมิน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5)
2. เพิ่มเติมให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ และให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินห้าคนเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการค่าจ้างซึ่งในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงาน การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กฎหมาย หรือทรงคุณวุฒิอื่น และให้นำบทบัญญัติเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการค่าจ้างมาใช้บังคับโดยอนุโลม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 78)
3. เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ให้สามารถกำหนดแนวทางการปรับค่าจ้างประจำปีตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม และกำหนดอัตราค่าจ้างตามการประเมิน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 79)
4. เพิ่มเติมให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามการประเมิน เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 84)
5. เพิ่มเติมให้การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างอาจเกิดขึ้นจากคณะกรรมการเป็นผู้ริเริ่มเอง หรือกรรมการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพิจารณาเห็นควรปรับอัตราค่าจ้าง และกำหนดให้การพิจารณาดังกล่าวครอบคลุมถึงสาขาสาขาอาชีพด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 87)
6. แก้ไขเพิ่มเติมให้ประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างของคณะกรรมการค่าจ้างต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 88)
7. แก้ไขให้ประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างทุกประเภท ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างไม่ว่านายจ้างและลูกจ้างนั้นจะมีสัญชาติ ศาสนา หรือเพศใด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 89)
8. แก้ไขให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างทุกประเภทที่กำหนด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 90)
9. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการค่าจ้างให้มีหน้าที่ในการจัดทำแผนพัฒนาระบบค่าจ้างและรายได้ของประเทศเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้าง รวมทั้งติดตามและประเมินผลแผนดังกล่าวด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มีนาคม 2550--จบ--