คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ความก้าวหน้าในการ ดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก มีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกและอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน ณ วันที่14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รวม 4 จังหวัด 6 อำเภอ 9 จุด (ตำบล)ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี 5 จุด ใน 2 อำเภอ จังหวัดนนทบุรี 1 จุด ใน 1 อำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2 จุด ใน 2 อำเภอ จังหวัดอ่างทอง 1 จุด ใน 1 อำเภอ
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคไข้หวัดนกระหว่างปี 2547 และปี 2548 ในช่วงเดือนตุลาคม พบว่า ปี 2547 พบโรคไข้หวัดนก 457 จุด ใน 44 จังหวัด ปี 2548 พบโรคไข้หวัดนก 25 จุด ใน 8 จังหวัด
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
2.1 ผลการจับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ซึ่งกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม — 14 พฤศจิกายน 2548 ตามมาตรการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด มีผู้กระทำผิดและถูกจับกุมทั้งสิ้น 43 ราย แบ่งเป็นชนิดสัตว์ของกลางซึ่งยึดได้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ดังนี้ เป็ดเนื้อไล่ทุ่ง 24,200 ตัว เป็ดไข่ไล่ทุ่ง 49,400 ตัว ลูกเป็ด 97,049 ตัว ไข่เป็ด 3,000 ฟอง ไก่ชน 13 ตัว ไก่เนื้อ 1,784 ตัว ซากเป็ด 100 กิโลกรัม ซากไก่ 4,170 กิโลกรัม
3. กรมปศุสัตว์ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปผลการดำเนินงานการศึกษาขั้นกลาง ตามโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับโรคไข้หวัดนกในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวโน้มการแพร่กระจายของโรค พื้นที่เสี่ยง ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการติดตามการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในพื้นที่นำร่อง 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการใช้ข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 เพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคให้เกษตรกร และประชาชนในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร ให้มีส่วนร่วมในการรายงานการเกิดโรคโดยผ่านอาสาสมัคร ผู้นำชุมชน ตลอดจนอดีตกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้มีการรับแจ้งการเกิดโรคและควบคุมโรคให้สงบได้อย่างรวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. สถานการณ์ของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก มีพื้นที่พบเชื้อโรคไข้หวัดนกและอยู่ในระหว่างการเฝ้าระวังยังไม่ครบ 21 วัน ณ วันที่14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รวม 4 จังหวัด 6 อำเภอ 9 จุด (ตำบล)ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี 5 จุด ใน 2 อำเภอ จังหวัดนนทบุรี 1 จุด ใน 1 อำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2 จุด ใน 2 อำเภอ จังหวัดอ่างทอง 1 จุด ใน 1 อำเภอ
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการเกิดโรคไข้หวัดนกระหว่างปี 2547 และปี 2548 ในช่วงเดือนตุลาคม พบว่า ปี 2547 พบโรคไข้หวัดนก 457 จุด ใน 44 จังหวัด ปี 2548 พบโรคไข้หวัดนก 25 จุด ใน 8 จังหวัด
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก
2.1 ผลการจับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ซึ่งกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม — 14 พฤศจิกายน 2548 ตามมาตรการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด มีผู้กระทำผิดและถูกจับกุมทั้งสิ้น 43 ราย แบ่งเป็นชนิดสัตว์ของกลางซึ่งยึดได้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ดังนี้ เป็ดเนื้อไล่ทุ่ง 24,200 ตัว เป็ดไข่ไล่ทุ่ง 49,400 ตัว ลูกเป็ด 97,049 ตัว ไข่เป็ด 3,000 ฟอง ไก่ชน 13 ตัว ไก่เนื้อ 1,784 ตัว ซากเป็ด 100 กิโลกรัม ซากไก่ 4,170 กิโลกรัม
3. กรมปศุสัตว์ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปผลการดำเนินงานการศึกษาขั้นกลาง ตามโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับโรคไข้หวัดนกในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการวางแผนและการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวโน้มการแพร่กระจายของโรค พื้นที่เสี่ยง ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการติดตามการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในพื้นที่นำร่อง 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการใช้ข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 เพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคให้เกษตรกร และประชาชนในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร ให้มีส่วนร่วมในการรายงานการเกิดโรคโดยผ่านอาสาสมัคร ผู้นำชุมชน ตลอดจนอดีตกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้มีการรับแจ้งการเกิดโรคและควบคุมโรคให้สงบได้อย่างรวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--