แท็ก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แฟชั่น ไอส์แลนด์
ผู้จัดการรายวัน
กรมควบคุมมลพิษ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาสตรีในช่วงปี 2550-2554 ต่อไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) ประธานกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติเสนอ
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ (กสค.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) จัดทำแผนพัฒนาสตรีฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของสตรี ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรีต่อเนื่องจากแผนพัฒนาสตรีฯ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและรับทราบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2545 โดยได้จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการร่างแผนพัฒนาสตรีดังกล่าว
ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ (กสค.) ครั้งที่ 3/2549 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2549 ซึ่งมีอดีตรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาสตรีฯ เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาสตรีในช่วงปี 2550-2554 ต่อไป โดยให้แก้ไขประเด็นในเรื่องการเพิ่มสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยการแก้ไขกฎหมาย แก้เป็นการรณรงค์และส่งเสริม สนับสนุนเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นผู้หญิงมากขึ้น ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของ (ร่าง) แผนพัฒนาสตรีฯ
1.1 เพื่อพัฒนาหญิงและชายให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
1.2 เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้สตรีได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
1.3 เพื่อให้สตรีได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี
2. เป้าหมายของ (ร่าง) แผนพัฒนาสตรีฯ เป้าหมายการดำเนินงานด้านสตรีไปสู่ความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย เมื่อสิ้นแผนฯ ฉบับที่ 10 ในปี 2554
2.1 เด็ก เยาวชน หญิงและชาย เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
2.2 สัดส่วนของสตรีในภาคการเมืองและการบริหารเพิ่มขึ้น
2.3 สตรีกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายวิธีการและการให้บริการสุขภาพอนามัยมากขึ้น และสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่จัดไว้โดยเฉพาะด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
2.4 อัตราการใช้ความรุนแรงต่อสตรีลดลง และสตรีที่ประสบปัญหาสามารถเข้าถึงบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึง
2.5 สตรีมีส่วนร่วมและรับผลประโยชน์จากเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
3. ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หลัก การเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนเจตคติในสังคมไทย เพื่อเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหาร ส่งเสริมสุขภาวะและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ เสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ย่อย 5 ประเด็น ได้แก่
3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างเจตคติความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย โดยมีแนวทางดังนี้
- การสร้างและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีเจตคติค่านิยมที่ส่งเสริมศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
- การเสริมสร้างครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง มีสัมพันธภาพที่ดีและคำนึงถึงบทบาทที่เหมาะสมและเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชายในกรอบของสถาบันครอบครัว
- การประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา และสื่อในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
- การส่งเสริมและสนับสนุนให้สื่อและผู้ทำงานด้านสื่อมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทหญิงชายและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
- การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหาร โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การเสริมสร้างศักยภาพสตรีในการมีส่วนร่วมในทางการเมืองและการบริหาร
- การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่หน่วยงาน
- การพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของสตรี
- การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับกลไกส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การส่งเสริมสุขภาวะสตรีและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอนามัยสตรีในระบบปกติ
- การส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับสตรี
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุสตรี
- การส่งเสริมสุขภาวะสตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ
3.4 ยุทธศาสตร์ ที่ 4 : การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน
- การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่หน่วยงาน
- การพัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย
- การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ
3.5 ยุทธศาสตร์ ที่ 5 : การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การเสริมสร้างศักยภาพสตรีในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ
- การพัฒนากลไกและโอกาสการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี
- การทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ
- การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับคุณค่าและมูลค่าของการดูแลครอบครัว
4. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาสตรีฯ มีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคี การพัฒนาทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคเอกชน สื่อมวลชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม และต้องคำนึงถึงโครงสร้างประชากรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งพิจารณาถึงความก้าวหน้าในการศึกษาระบบกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบริบทที่จะขับเคลื่อนแผนฯ ให้สอดคล้องและสอดรับกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ (กสค.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) จัดทำแผนพัฒนาสตรีฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของสตรี ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรีต่อเนื่องจากแผนพัฒนาสตรีฯ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและรับทราบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2545 โดยได้จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการร่างแผนพัฒนาสตรีดังกล่าว
ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบครัวแห่งชาติ (กสค.) ครั้งที่ 3/2549 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2549 ซึ่งมีอดีตรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาสตรีฯ เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาสตรีในช่วงปี 2550-2554 ต่อไป โดยให้แก้ไขประเด็นในเรื่องการเพิ่มสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยการแก้ไขกฎหมาย แก้เป็นการรณรงค์และส่งเสริม สนับสนุนเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นผู้หญิงมากขึ้น ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของ (ร่าง) แผนพัฒนาสตรีฯ
1.1 เพื่อพัฒนาหญิงและชายให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
1.2 เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้สตรีได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
1.3 เพื่อให้สตรีได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี
2. เป้าหมายของ (ร่าง) แผนพัฒนาสตรีฯ เป้าหมายการดำเนินงานด้านสตรีไปสู่ความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย เมื่อสิ้นแผนฯ ฉบับที่ 10 ในปี 2554
2.1 เด็ก เยาวชน หญิงและชาย เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
2.2 สัดส่วนของสตรีในภาคการเมืองและการบริหารเพิ่มขึ้น
2.3 สตรีกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายวิธีการและการให้บริการสุขภาพอนามัยมากขึ้น และสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่จัดไว้โดยเฉพาะด้านอนามัยการเจริญพันธุ์
2.4 อัตราการใช้ความรุนแรงต่อสตรีลดลง และสตรีที่ประสบปัญหาสามารถเข้าถึงบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึง
2.5 สตรีมีส่วนร่วมและรับผลประโยชน์จากเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
3. ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หลัก การเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนเจตคติในสังคมไทย เพื่อเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหาร ส่งเสริมสุขภาวะและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ เสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ย่อย 5 ประเด็น ได้แก่
3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างเจตคติความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย โดยมีแนวทางดังนี้
- การสร้างและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีเจตคติค่านิยมที่ส่งเสริมศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
- การเสริมสร้างครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง มีสัมพันธภาพที่ดีและคำนึงถึงบทบาทที่เหมาะสมและเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชายในกรอบของสถาบันครอบครัว
- การประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา และสื่อในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
- การส่งเสริมและสนับสนุนให้สื่อและผู้ทำงานด้านสื่อมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทหญิงชายและคุณค่าของความเป็นมนุษย์
- การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองและการบริหาร โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การเสริมสร้างศักยภาพสตรีในการมีส่วนร่วมในทางการเมืองและการบริหาร
- การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่หน่วยงาน
- การพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของสตรี
- การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับกลไกส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การส่งเสริมสุขภาวะสตรีและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอนามัยสตรีในระบบปกติ
- การส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับสตรี
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุสตรี
- การส่งเสริมสุขภาวะสตรีกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ
3.4 ยุทธศาสตร์ ที่ 4 : การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่และประชาชน
- การเสริมสร้างสมรรถนะและความเข้าใจแก่หน่วยงาน
- การพัฒนากลไกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตและร่างกาย
- การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ
3.5 ยุทธศาสตร์ ที่ 5 : การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี โดยมีแนวทาง ดังนี้
- การเสริมสร้างศักยภาพสตรีในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ
- การพัฒนากลไกและโอกาสการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรี
- การทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ
- การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับคุณค่าและมูลค่าของการดูแลครอบครัว
4. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาสตรีฯ มีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคี การพัฒนาทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคเอกชน สื่อมวลชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม และต้องคำนึงถึงโครงสร้างประชากรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งพิจารณาถึงความก้าวหน้าในการศึกษาระบบกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบริบทที่จะขับเคลื่อนแผนฯ ให้สอดคล้องและสอดรับกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มกราคม 2550--จบ--