คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้
1. ข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) เพื่อแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินการต่อไป
2. ข้อเสนอโครงการเกษียณก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ
3. ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอของมาตรการนี้
สำนักงาน ก.พ.รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 เห็นชอบให้มีการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของรัฐนั้น คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2550 วันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ได้พิจารณาเรื่องข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) และมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คปร. เฉพาะกิจเพื่อกำกับการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ โดยมีเลขาธิการ ก.พ.เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่พิจารณารายละเอียดข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการและกำกับติดตามการดำเนินโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด โดยให้รายงานผลการพิจารณาต่อ คปร. เพื่อทราบต่อไป
2. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำกับการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ ในการประชุมครั้งที่ 1/2550 วันที่ 11 กรกฎาคม 2550 มีมติ ดังนี้
2.1 มาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด)
2.1.1 เห็นควรดำเนินมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี งบประมาณ (พ.ศ. 2552-2556) โดยหากส่วนราชการใดพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมของส่วนราชการ และมีงบประมาณของส่วนราชการรองรับให้พิจารณาดำเนินการได้ ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการทบทวนบทบาท ภารกิจ วิเคราะห์และสำรวจอัตรากำลัง โดยจำแนกประเด็นการบริหารบุคคลและเสนอรายละเอียดมาตรการที่แตกต่างกัน ดังนี้
กรณีที่ ประเด็นการบริหารบุคคล รายละเอียดมาตรการ
1 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการปรับเปลี่ยน ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินมาตรการได้ โดยไม่
สถานภาพโดยออกจากระบบราชการ กำหนดจำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมมาตรการ
2 ส่วนราชการประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจ ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินมาตรการสำหรับกลุ่มบุคลากร
ที่อยู่ในภารกิจที่ส่วนราชการจะยุบเลิก โดยไม่กำหนดจำนวน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม มาตรการและให้เสนอ คปร.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดำเนินมาตรการ
3 ส่วนราชการมีอัตรากำลังเกิน กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมมาตรการได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของ
กลุ่มเป้าหมาย และใช้งบประมาณภายในวงเงินงบบุคลากร
ที่ได้รับจัดสรรตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ
(ไม่รวมงบประมาณที่มีการตัดโอนระหว่างปี)
4 ส่วนราชการมีอัตรากำลังเหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมมาตรการได้ไม่เกินร้อยละ 10
แต่มีประเด็นจำนวนข้าราชการสูงอายุ (50 ปีขึ้นไป) ของกลุ่มเป้าหมาย และใช้งบประมาณภายในวงเงินงบ
มากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการของ ประมาณงบบุคลากรที่ได้รับจัดสรรตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ
ส่วนราชการ ประมาณ (ไม่รวมเงินงบประมาณที่มีการตัดโอนระหว่างปี)
ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องไม่มีการจ้างผู้ที่เข้าร่วมมาตรการ
ในลักษณะการจ้างกำลังคนประเภทอื่น
5 ส่วนราชการมีอัตรากำลังไม่เพียงพอแก่การทำงาน กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมมาตรการได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของ
ตามบทบาท ภารกิจ และมีประเด็นจำนวน กลุ่มเป้าหมาย และใช้งบประมาณภายในวงเงินงบ
ข้าราชการสูงอายุ (50 ปีขึ้นไป) มากกว่า ประมาณงบบุคลากรที่ได้รับจัดสรรตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ
ร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการของส่วนราชการ (ไม่รวมเงินงบประมาณที่มีการตัดโอนระหว่างปี) ทั้งนี้
ส่วนราชการจะต้องไม่มีการจ้างผู้ที่เข้าร่วมมาตรการใน
ลักษณะการจ้างกำลังคนประเภทอื่น
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการยุบเลิกตำแหน่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ เฉพาะกรณีที่ 1 กรณีที่ 2 และกรณีที่ 3
2.1.2 กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปี (ไม่รวมเวลาราชการทวีคูณ)
2.1.3 คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนหรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัย พิจารณาโทษทางวินัย รายงานการลงโทษทางวินัย หรือพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย หรือเป็นผู้ต้องหา
ในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
(2) ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมาย เช่น ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ เป็นต้น
(3) ถ้าเป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย และจะต้องยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการสำหรับเวลาที่ยังปฏิบัติราชการชดใช้ไม่ครบ
ทั้งนี้ ผู้จะได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการตามมาตรการจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตั้งแต่วันที่ยื่นใบสมัครจนถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการ
2.1.4 เงื่อนไขเพิ่มเติม
1) ผู้ออกจากราชการจะต้องมีเวลาราชการเหลือ 1 ปีขึ้นไป
2) ห้ามบรรจุกลับเข้ารับราชการประจำในฝ่ายบริหาร
3) หากประสงค์บรรจุเป็นพนักงานราชการ ก็ให้บรรจุได้ กรณีมีสัญญาจ้างไม่เกิน 1 ปี โดยไม่มีการต่อสัญญาอีก
2.1.5 สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ลาออกตามมาตรการ
1) สิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินก้อน ตามสูตร (8 + อายุราชการที่เหลือ (ปี)) X เงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมเงินประจำตำแหน่ง (ถ้ามี) แต่สูงสุดไม่เกิน 15 เท่าของเงินเดือนรวมเงินประจำตำแหน่ง
2) สิทธิประโยชน์จูงใจอื่น
- สิทธิประโยชน์จูงใจตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ข้าราชการผู้เข้าร่วมมาตรการมีสิทธิได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามรอบการประเมินเสมือนข้าราชการผู้ออกจากราชการเหตุเกษียณอายุ (ออกจากราชการวันที่ 1 ตุลาคม)
- ให้ข้าราชการผู้เข้าร่วมมาตรการได้รับสิทธิประโยชน์จูงใจ ได้รับยกเว้นภาษีในส่วนของเงินก้อนที่ได้รับตามมาตรการ
- ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จูงใจไม่ต้องชดใช้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติและให้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาต่อไป ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมมาตรการกู้เงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทั้งนี้ รวมถึงกรณีมาตรการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ธอส.-กบข.
- ให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- กระทรวงแรงงานสนับสนุนการจัดหางานในภาคเอกชนรองรับผู้ที่ออกจากราชการตามมาตรการฯ
2.1.6 การดำเนินโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพและไม่มีผลเสียหายต่องานราชการ
ให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุมัติให้ข้าราชการเข้าร่วมมาตรการฯ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่องานราชการ ดังนี้
1) ให้ยกเว้นการใช้มาตรการนี้สำหรับข้าราชการในงานหรือสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณากำหนด ในกรณีที่ส่วนราชการมีเหตุผลความจำเป็น อ.ก.พ. กรมอาจพิจารณาให้ผู้ที่อยู่ในสายงานหรือวิชาชีพขาดแคลนดังกล่าวเข้าร่วมโครงการได้ โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนคนในสายงานหรือวิชาชีพนั้น
2) ห้ามข้าราชการผู้รับผิดชอบงานโครงการสำคัญของส่วนราชการเข้าร่วมมาตรการ
3) ห้ามข้าราชการผู้มีผลงานดีเด่นและได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละสองขั้นไม่น้อยกว่า 2 ครั้งภายในระยะเวลา 5 ปีเข้าร่วมมาตรการ
4) อื่น ๆ ตามความเหมาะสมของส่วนราชการ
ทั้งนี้ ส่วนราชการที่ดำเนินมาตรการฯ ตามกรณีที่ 1 กรณีคณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการปรับเปลี่ยนสถานภาพโดยออกจากระบบราชการ กรณีที่ 2 กรณีส่วนราชการประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจ และกรณีที่ 3 ส่วนราชการมีอัตรากำลังเกิน ให้ยกเว้นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุมัติเข้าร่วมมาตรการ
2.1.7 วันออกจากราชการ
ให้ผู้เข้าร่วมมาตรการออกจากราชการได้ในวันที่ 1 ตุลาคม
2.1.8 งบประมาณดำเนินการ
มติคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการภายในวงเงินงบประมาณของส่วนราชการ หมายถึง ให้ส่วนราชการบริหารจัดการเงินก้อนสำหรับสิทธิประโยชน์ภายในวงเงินงบบุคลากรของส่วนราชการ ในส่วนของเงินบำนาญ บำเหน็จ บำเหน็จดำรงชีพ ให้ใช้จากงบกลาง
2.2 ข้อเสนอโครงการเกษียณก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้พิจารณาดำเนินการเช่นเดียวกับข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำกับการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการได้พิจารณารายละเอียดข้อเสนอมาตรการของกระทรวงกลาโหมแล้ว มีมติให้ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ โดยให้เริ่มดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (1 ตุลาคม 2551) ทั้งนี้ อาจกำหนดให้ผู้ออกจากราชการได้รับบำเหน็จดำรงชีพในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เตรียมงบประมาณเพื่อการนี้ไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--
1. ข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) เพื่อแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินการต่อไป
2. ข้อเสนอโครงการเกษียณก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ
3. ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอของมาตรการนี้
สำนักงาน ก.พ.รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 เห็นชอบให้มีการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของรัฐนั้น คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2550 วันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ได้พิจารณาเรื่องข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) และมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คปร. เฉพาะกิจเพื่อกำกับการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ โดยมีเลขาธิการ ก.พ.เป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่พิจารณารายละเอียดข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการและกำกับติดตามการดำเนินโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด โดยให้รายงานผลการพิจารณาต่อ คปร. เพื่อทราบต่อไป
2. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำกับการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ ในการประชุมครั้งที่ 1/2550 วันที่ 11 กรกฎาคม 2550 มีมติ ดังนี้
2.1 มาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด)
2.1.1 เห็นควรดำเนินมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด) ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี งบประมาณ (พ.ศ. 2552-2556) โดยหากส่วนราชการใดพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมของส่วนราชการ และมีงบประมาณของส่วนราชการรองรับให้พิจารณาดำเนินการได้ ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการทบทวนบทบาท ภารกิจ วิเคราะห์และสำรวจอัตรากำลัง โดยจำแนกประเด็นการบริหารบุคคลและเสนอรายละเอียดมาตรการที่แตกต่างกัน ดังนี้
กรณีที่ ประเด็นการบริหารบุคคล รายละเอียดมาตรการ
1 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการปรับเปลี่ยน ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินมาตรการได้ โดยไม่
สถานภาพโดยออกจากระบบราชการ กำหนดจำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมมาตรการ
2 ส่วนราชการประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจ ให้ส่วนราชการสามารถดำเนินมาตรการสำหรับกลุ่มบุคลากร
ที่อยู่ในภารกิจที่ส่วนราชการจะยุบเลิก โดยไม่กำหนดจำนวน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม มาตรการและให้เสนอ คปร.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ดำเนินมาตรการ
3 ส่วนราชการมีอัตรากำลังเกิน กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมมาตรการได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของ
กลุ่มเป้าหมาย และใช้งบประมาณภายในวงเงินงบบุคลากร
ที่ได้รับจัดสรรตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ
(ไม่รวมงบประมาณที่มีการตัดโอนระหว่างปี)
4 ส่วนราชการมีอัตรากำลังเหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมมาตรการได้ไม่เกินร้อยละ 10
แต่มีประเด็นจำนวนข้าราชการสูงอายุ (50 ปีขึ้นไป) ของกลุ่มเป้าหมาย และใช้งบประมาณภายในวงเงินงบ
มากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการของ ประมาณงบบุคลากรที่ได้รับจัดสรรตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ
ส่วนราชการ ประมาณ (ไม่รวมเงินงบประมาณที่มีการตัดโอนระหว่างปี)
ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องไม่มีการจ้างผู้ที่เข้าร่วมมาตรการ
ในลักษณะการจ้างกำลังคนประเภทอื่น
5 ส่วนราชการมีอัตรากำลังไม่เพียงพอแก่การทำงาน กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมมาตรการได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของ
ตามบทบาท ภารกิจ และมีประเด็นจำนวน กลุ่มเป้าหมาย และใช้งบประมาณภายในวงเงินงบ
ข้าราชการสูงอายุ (50 ปีขึ้นไป) มากกว่า ประมาณงบบุคลากรที่ได้รับจัดสรรตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ
ร้อยละ 20 ของจำนวนข้าราชการของส่วนราชการ (ไม่รวมเงินงบประมาณที่มีการตัดโอนระหว่างปี) ทั้งนี้
ส่วนราชการจะต้องไม่มีการจ้างผู้ที่เข้าร่วมมาตรการใน
ลักษณะการจ้างกำลังคนประเภทอื่น
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการยุบเลิกตำแหน่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ เฉพาะกรณีที่ 1 กรณีที่ 2 และกรณีที่ 3
2.1.2 กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปี (ไม่รวมเวลาราชการทวีคูณ)
2.1.3 คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบสวนหรือสอบหาข้อเท็จจริงทางวินัย พิจารณาโทษทางวินัย รายงานการลงโทษทางวินัย หรือพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย หรือเป็นผู้ต้องหา
ในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
(2) ไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ ตามกฎหมาย เช่น ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ เป็นต้น
(3) ถ้าเป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย และจะต้องยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการสำหรับเวลาที่ยังปฏิบัติราชการชดใช้ไม่ครบ
ทั้งนี้ ผู้จะได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการตามมาตรการจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตั้งแต่วันที่ยื่นใบสมัครจนถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการ
2.1.4 เงื่อนไขเพิ่มเติม
1) ผู้ออกจากราชการจะต้องมีเวลาราชการเหลือ 1 ปีขึ้นไป
2) ห้ามบรรจุกลับเข้ารับราชการประจำในฝ่ายบริหาร
3) หากประสงค์บรรจุเป็นพนักงานราชการ ก็ให้บรรจุได้ กรณีมีสัญญาจ้างไม่เกิน 1 ปี โดยไม่มีการต่อสัญญาอีก
2.1.5 สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ลาออกตามมาตรการ
1) สิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินก้อน ตามสูตร (8 + อายุราชการที่เหลือ (ปี)) X เงินเดือนเดือนสุดท้ายรวมเงินประจำตำแหน่ง (ถ้ามี) แต่สูงสุดไม่เกิน 15 เท่าของเงินเดือนรวมเงินประจำตำแหน่ง
2) สิทธิประโยชน์จูงใจอื่น
- สิทธิประโยชน์จูงใจตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ข้าราชการผู้เข้าร่วมมาตรการมีสิทธิได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามรอบการประเมินเสมือนข้าราชการผู้ออกจากราชการเหตุเกษียณอายุ (ออกจากราชการวันที่ 1 ตุลาคม)
- ให้ข้าราชการผู้เข้าร่วมมาตรการได้รับสิทธิประโยชน์จูงใจ ได้รับยกเว้นภาษีในส่วนของเงินก้อนที่ได้รับตามมาตรการ
- ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จูงใจไม่ต้องชดใช้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2535 กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติและให้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาต่อไป ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมมาตรการกู้เงินตามโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทั้งนี้ รวมถึงกรณีมาตรการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ธอส.-กบข.
- ให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- กระทรวงแรงงานสนับสนุนการจัดหางานในภาคเอกชนรองรับผู้ที่ออกจากราชการตามมาตรการฯ
2.1.6 การดำเนินโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพและไม่มีผลเสียหายต่องานราชการ
ให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุมัติให้ข้าราชการเข้าร่วมมาตรการฯ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่องานราชการ ดังนี้
1) ให้ยกเว้นการใช้มาตรการนี้สำหรับข้าราชการในงานหรือสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณากำหนด ในกรณีที่ส่วนราชการมีเหตุผลความจำเป็น อ.ก.พ. กรมอาจพิจารณาให้ผู้ที่อยู่ในสายงานหรือวิชาชีพขาดแคลนดังกล่าวเข้าร่วมโครงการได้ โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนคนในสายงานหรือวิชาชีพนั้น
2) ห้ามข้าราชการผู้รับผิดชอบงานโครงการสำคัญของส่วนราชการเข้าร่วมมาตรการ
3) ห้ามข้าราชการผู้มีผลงานดีเด่นและได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละสองขั้นไม่น้อยกว่า 2 ครั้งภายในระยะเวลา 5 ปีเข้าร่วมมาตรการ
4) อื่น ๆ ตามความเหมาะสมของส่วนราชการ
ทั้งนี้ ส่วนราชการที่ดำเนินมาตรการฯ ตามกรณีที่ 1 กรณีคณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการปรับเปลี่ยนสถานภาพโดยออกจากระบบราชการ กรณีที่ 2 กรณีส่วนราชการประสงค์จะยุบเลิกบางภารกิจ และกรณีที่ 3 ส่วนราชการมีอัตรากำลังเกิน ให้ยกเว้นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุมัติเข้าร่วมมาตรการ
2.1.7 วันออกจากราชการ
ให้ผู้เข้าร่วมมาตรการออกจากราชการได้ในวันที่ 1 ตุลาคม
2.1.8 งบประมาณดำเนินการ
มติคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการภายในวงเงินงบประมาณของส่วนราชการ หมายถึง ให้ส่วนราชการบริหารจัดการเงินก้อนสำหรับสิทธิประโยชน์ภายในวงเงินงบบุคลากรของส่วนราชการ ในส่วนของเงินบำนาญ บำเหน็จ บำเหน็จดำรงชีพ ให้ใช้จากงบกลาง
2.2 ข้อเสนอโครงการเกษียณก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้พิจารณาดำเนินการเช่นเดียวกับข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำกับการดำเนินการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการได้พิจารณารายละเอียดข้อเสนอมาตรการของกระทรวงกลาโหมแล้ว มีมติให้ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับข้อเสนอมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ โดยให้เริ่มดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (1 ตุลาคม 2551) ทั้งนี้ อาจกำหนดให้ผู้ออกจากราชการได้รับบำเหน็จดำรงชีพในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เตรียมงบประมาณเพื่อการนี้ไว้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 สิงหาคม 2550--จบ--