คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ไฟป่าและผลการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2550-1 เมษายน 2550 ดังนี้
1. สถานการณ์ไฟป่า
1.1 สถานการณ์ไฟป่าในภาพรวมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2550 ปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 6,811 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 103,425.25 ไร่ โดยท้องที่ภาคเหนือ มีสถิติไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 4,194 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 46,958.75 ไร่
1.2 จากการตรวจติดตามจุดที่ดาวเทียมตรวจพบความร้อนซึ่งมีโอกาสเป็นบริเวณที่เกิดไฟไหม้ (Hotspots) จากดาวเทียม Terra และ Aqua ด้วยระบบ MODIS ช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2550 - 1 เมษายน 2550 พบว่า ตั้งแต่วันที่ 26 — 27 มีนาคม 2550 เกิด Hotspot จำนวนมากในพื้นที่ประเทศไทย โดยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ตรวจพบ Hotspot จำนวน 238 จุด เพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2550 เป็น 420 จุด และจากการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องพบว่าในวันที่ 1 เมษายน 2550 ตรวจพบ Hotspots 145 จุด สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือ เกิด Hotspots มากที่สุดในวันที่ 29 มีนาคม 2550 จำนวน 318 จุด และตรวจพบ Hotspots ในวันที่ 1 เมษายน 2550 จำนวน 55 จุด
1.3 สถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2550- 1 เมษายน 2550 ปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 330 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 2,484.25 ไร่ โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ถูกไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 672 ไร่ รองลงมาได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ถูกไฟไหม้ จำนวน 549.50 ไร่ และ 387.75 ไร่ ตามลำดับ
2. สถานการณ์มลพิษหมอกควัน
2.1 สถานการณ์มลพิษหมอกควันภาคเหนือช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2550- 1 เมษายน 2550 ในภาพรวมของภาคเหนือ ปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 00.00 น. มีแนวโน้มลดลง โดยจังหวัดเชียงใหม่และลำปางมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว (มาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) สำหรับจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอนยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน
2.2 จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 26 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 140 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีศูนย์ราชการรวม และตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กลดลงจนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ สถานีศูนย์ราชการรวม มีค่าเท่ากับ 101 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2.3 จังหวัดลำปาง ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐานแล้วตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 26 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 113 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ สถานีสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ มีค่าเท่ากับ 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2.4 จังหวัดเชียงราย ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กในช่วงวันที่ 26-29 มีนาคม 2550 ยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน และลดลงจนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในวันที่ 30 มีนาคม 2550 และกลับเพิ่มขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 31 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 184 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หลังจากนั้นมีค่าลดลงในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 126 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน
2.5 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 29 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 246 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 147 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน
3. ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาไฟป่าและมลพิษหมอกควัน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
3.1 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
1) กำลังสนับสนุนเพิ่มเติมจำนวน 580 คน ยังคงปฏิบัติภารกิจการควบคุมไฟป่าในจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือที่มีปัญหาหมอกควันต่อไป จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ จึงจะถอนกำลังกลับที่ตั้ง ขณะนี้มีกำลังพนักงานดับไฟป่าในท้องที่ภาคเหนือรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,248 คน
2) สั่งการให้กำลังพลจากส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 3 (ภาคเหนือ) สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า จำนวน 300 คน เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจลาดตระเวนและจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดสำหรับผู้ลักลอบจุดไฟเผาป่า
3) สั่งการให้หน่วยงานทุกหน่วยงานในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ถือภารกิจด้านไฟป่า เป็นภารกิจเร่งด่วนและต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก สำหรับพื้นที่ภาคเหนือให้เพิ่มการตรวจลาดตระเวนในพื้นที่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันมิให้เกิดการบุกรุกและจุดไฟเผาป่าเพิ่มขึ้นอีก
4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
5) War Room ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงติดตามรายงานสถานการณ์ไฟป่า ปัญหาอุปสรรค และการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
6) พยากรณ์สถานการณ์ไฟป่า เพื่อแจ้งเตือนภัยไฟป่าล่วงหน้าต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่าน Website: www.dnp.go.th /forestfire/
7) รับแจ้งเหตุไฟไหม้ป่าผ่านสายด่วน 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1- 27 มีนาคม 2550 มีผู้แจ้งเหตุไฟไหม้ป่าจำนวน 207 ครั้ง
8) ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อแจ้งตำแหน่งและภาพถ่ายของพื้นที่ที่พบการบุกรุกแผ้วถางป่าให้ทราบ พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้สั่งกำชับอำเภอ กิ่งอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานอื่นๆ ภายในจังหวัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าและจุดไฟเผาป่าเพิ่มขึ้นอีก
9) เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน และได้จัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการฯ เพื่อเป็นการประสานงานในการแก้ไขปัญหาภาพรวม
3.2 กรมควบคุมมลพิษ
1) ดำเนินการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดส่งข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) และดัชนีคุณภาพอากาศไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วันละ 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 09.00 12.00 15.00 และ 18.00 น. พร้อมเผยแพร่ลงในเว็บไซด์ www.pcd.go.th
2) ส่งข้อความแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันผ่านโทรศัพท์มือถือไปยังเครือข่ายความร่วมมือการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ภาคเหนือ
3) จัดทำสรุปสถานการณ์มลพิษหมอกควันรายวันในเวลา 09.00 น. จัดส่งให้กับสื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ
4) ยังคงติดตั้งหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่ในบริเวณโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และบริเวณสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--
1. สถานการณ์ไฟป่า
1.1 สถานการณ์ไฟป่าในภาพรวมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2550 ปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 6,811 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 103,425.25 ไร่ โดยท้องที่ภาคเหนือ มีสถิติไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 4,194 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 46,958.75 ไร่
1.2 จากการตรวจติดตามจุดที่ดาวเทียมตรวจพบความร้อนซึ่งมีโอกาสเป็นบริเวณที่เกิดไฟไหม้ (Hotspots) จากดาวเทียม Terra และ Aqua ด้วยระบบ MODIS ช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2550 - 1 เมษายน 2550 พบว่า ตั้งแต่วันที่ 26 — 27 มีนาคม 2550 เกิด Hotspot จำนวนมากในพื้นที่ประเทศไทย โดยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ตรวจพบ Hotspot จำนวน 238 จุด เพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2550 เป็น 420 จุด และจากการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องพบว่าในวันที่ 1 เมษายน 2550 ตรวจพบ Hotspots 145 จุด สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือ เกิด Hotspots มากที่สุดในวันที่ 29 มีนาคม 2550 จำนวน 318 จุด และตรวจพบ Hotspots ในวันที่ 1 เมษายน 2550 จำนวน 55 จุด
1.3 สถานการณ์ไฟป่าในจังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2550- 1 เมษายน 2550 ปฏิบัติงานดับไฟป่า จำนวน 330 ครั้ง พื้นที่ถูกไฟไหม้ 2,484.25 ไร่ โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ถูกไฟไหม้มากที่สุด จำนวน 672 ไร่ รองลงมาได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ถูกไฟไหม้ จำนวน 549.50 ไร่ และ 387.75 ไร่ ตามลำดับ
2. สถานการณ์มลพิษหมอกควัน
2.1 สถานการณ์มลพิษหมอกควันภาคเหนือช่วงระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2550- 1 เมษายน 2550 ในภาพรวมของภาคเหนือ ปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 00.00 น. มีแนวโน้มลดลง โดยจังหวัดเชียงใหม่และลำปางมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว (มาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) สำหรับจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอนยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน
2.2 จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 26 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 140 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีศูนย์ราชการรวม และตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กลดลงจนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ สถานีศูนย์ราชการรวม มีค่าเท่ากับ 101 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2.3 จังหวัดลำปาง ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐานแล้วตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2550 เป็นต้นมา ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 26 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 113 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ณ สถานีสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ สถานีสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ มีค่าเท่ากับ 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2.4 จังหวัดเชียงราย ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กในช่วงวันที่ 26-29 มีนาคม 2550 ยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน และลดลงจนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในวันที่ 30 มีนาคม 2550 และกลับเพิ่มขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 31 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 184 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หลังจากนั้นมีค่าลดลงในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 126 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน
2.5 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปริมาณฝุ่นขนาดเล็กยังคงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุด ตรวจพบในวันที่ 29 มีนาคม 2550 มีค่าเท่ากับ 246 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 1 เมษายน 2550 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 147 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน
3. ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาไฟป่าและมลพิษหมอกควัน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควัน ในพื้นที่ภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
3.1 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
1) กำลังสนับสนุนเพิ่มเติมจำนวน 580 คน ยังคงปฏิบัติภารกิจการควบคุมไฟป่าในจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือที่มีปัญหาหมอกควันต่อไป จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ จึงจะถอนกำลังกลับที่ตั้ง ขณะนี้มีกำลังพนักงานดับไฟป่าในท้องที่ภาคเหนือรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,248 คน
2) สั่งการให้กำลังพลจากส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 3 (ภาคเหนือ) สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า จำนวน 300 คน เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจลาดตระเวนและจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดสำหรับผู้ลักลอบจุดไฟเผาป่า
3) สั่งการให้หน่วยงานทุกหน่วยงานในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ถือภารกิจด้านไฟป่า เป็นภารกิจเร่งด่วนและต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก สำหรับพื้นที่ภาคเหนือให้เพิ่มการตรวจลาดตระเวนในพื้นที่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันมิให้เกิดการบุกรุกและจุดไฟเผาป่าเพิ่มขึ้นอีก
4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์
5) War Room ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงติดตามรายงานสถานการณ์ไฟป่า ปัญหาอุปสรรค และการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
6) พยากรณ์สถานการณ์ไฟป่า เพื่อแจ้งเตือนภัยไฟป่าล่วงหน้าต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่าน Website: www.dnp.go.th /forestfire/
7) รับแจ้งเหตุไฟไหม้ป่าผ่านสายด่วน 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1- 27 มีนาคม 2550 มีผู้แจ้งเหตุไฟไหม้ป่าจำนวน 207 ครั้ง
8) ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อแจ้งตำแหน่งและภาพถ่ายของพื้นที่ที่พบการบุกรุกแผ้วถางป่าให้ทราบ พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้สั่งกำชับอำเภอ กิ่งอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานอื่นๆ ภายในจังหวัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมพื้นที่ไม่ให้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าและจุดไฟเผาป่าเพิ่มขึ้นอีก
9) เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) เป็นประธานกรรมการ เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน และได้จัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการฯ เพื่อเป็นการประสานงานในการแก้ไขปัญหาภาพรวม
3.2 กรมควบคุมมลพิษ
1) ดำเนินการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดส่งข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) และดัชนีคุณภาพอากาศไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วันละ 4 ครั้ง ในช่วงเวลา 09.00 12.00 15.00 และ 18.00 น. พร้อมเผยแพร่ลงในเว็บไซด์ www.pcd.go.th
2) ส่งข้อความแจ้งเตือนสถานการณ์มลพิษหมอกควันผ่านโทรศัพท์มือถือไปยังเครือข่ายความร่วมมือการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ภาคเหนือ
3) จัดทำสรุปสถานการณ์มลพิษหมอกควันรายวันในเวลา 09.00 น. จัดส่งให้กับสื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ
4) ยังคงติดตั้งหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่ในบริเวณโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และบริเวณสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 เมษายน 2550--จบ--