สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 46

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 5, 2011 14:40 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลสรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 46 ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การช่วยเหลือด้านการเกษตร ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 กรณีพิเศษ และการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์อุทกภัย

ไม่มี

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (30 ธันวาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 53,267 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 29,426 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (55,016 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75) จำนวน 1,749 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 42.36 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 110.63 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (30 ธันวาคม 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 49,932 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 72 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 26,409 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่าง) น้อยกว่าปี 2552 (52,043 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75) จำนวน 2,111 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 41.73 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 109.68 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร

          อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ      ปริมาตรน้ำ            ปริมาณน้ำ         ปริมาณน้ำ
                            ในอ่างปี       ใช้การได้           ไหลลงอ่าง           ระบาย
                      ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
          1.ภูมิพล         8,313  62      4,513   34        0       0       21     21
          2.สิริกิติ์         7,483  79      4,633   49     7.64     5.2    29.98  29.98
          ภูมิพล+สิริกิติ์     15,796  70      9,146   40     7.64     5.2    50.98  50.98
          3.แควน้อยฯ        686  89        650   85     1.38    1.74     3.46   3.46
          4.ป่าสักชลสิทธิ์      774  81        771   80     0.78    0.79     3.04   3.04
          รวม 4 อ่างฯ    17,256  70     10,567   43      9.8    7.73    57.48  57.48
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำ น้อยกว่า ร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร

          อ่างเก็บน้ำ        ปริมาตรน้ำ      ปริมาตรน้ำ           ปริมาณน้ำ          ปริมาณน้ำ
                            ในอ่างปี       ใช้การได้           ไหลลงอ่าง           ระบาย
                      ปริมาตรน้ำ   %   ปริมาตรน้ำ    %      วันนี้  เมื่อวาน      วันนี้ เมื่อวาน
         1.ปราณบุรี           96  28         38   11     0.12    0.12     0.22   0.22
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 18 อ่าง ดังนี้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร

          อ่างเก็บน้ำ            ปริมาตรน้ำในอ่างฯ      ปริมาตรน้ำใช้การได้       ปริมาณน้ำไหล    ปริมาณน้ำระบาย

ลงอ่าง

                              ปริมาตร  % ความจุ     ปริมาตร   % ความจุ      วันนี้    เมื่อ    วันนี้     เมื่อ
                                  น้ำ     อ่างฯ         น้ำ      อ่างฯ             วาน            วาน
          1.แม่งัดฯ                269      102        247        93     0.14   0.25   0.42    0.37
          2.กิ่วลม                 101       90         97        87     0.63   0.62    1.6     1.6
          3.กิ่วคอหมา              176      104        170       100     0.01   0.15   0.15    0.15
          4.แควน้อยฯ              686       89        650        85     1.38   1.74   3.46    3.46
          5.ห้วยหลวง              109       92        104        88        0      0   0.57    0.57
          6.จุฬาภรณ์               151       92        107        65        0    0.2   0.96    0.98
          7.อุบลรัตน์             2,077       85      1,496        62        0   3.56   4.93    5.11
          8.ลำปาว              1,175       82      1,090        76     2.33   0.64   4.43    4.84
          9. ลำตะคอง             337      107        310        99        0    0.6   0.95    0.85
          10.ลำพระเพลิง           106       96        105        95        0      0   0.03    0.02
          11.มูลบน                116       82        109        77        0      0      0       0
          12.ลำแซะ               244       89        237        86        0      0      0       0
          13.ป่าสักฯ               774       81        771        80     0.78   0.79   3.04    3.04
          14.กระเสียว             248      103        208        87     0.24   0.24   0.06    0.06
          15.ขุนด่านฯ              199       89        194        87     0.06   0.07    1.2    0.92
          16.คลองสียัด             355       85        325        77        0      0    1.7     1.7
          17.หนองปลาไหล          152       93        136        84        0   0.01   0.39    0.36
          18.ประแสร์              231       93        211        85     0.01   0.01   0.13    0.13
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

2. สภาพน้ำท่า

ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิง ชี และมูล ตามสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่า กรมชลประทาน พบว่ามีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้น แม่น้ำวัง สถานี W.4A บริเวณบ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก แม่น้ำยม สถานี Y.16 บ้านบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร แม่น้ำน่าน สถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน แม่น้ำท่าตะเภา สถานี X.158 ที่สะพานบ้านวังครก อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 389 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 24 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 53 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 8 ลบ.ม./วินาที)

รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 138 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 10 ลบ.ม./วินาที) และรับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 242 ลบ.ม./วินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 2 ลบ.ม./วินาที)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 5 ลบ.ม./วินาที (เท่ากับเมื่อวาน)

การช่วยเหลือด้านการเกษตร

การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 221 เครื่อง ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 1 จังหวัด จำนวน 1 เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด 101 เครื่อง ภาคใต้ 7 จังหวัด จำนวน 119 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 5 จังหวัด จำนวน 69 เครื่อง

ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 กรณีพิเศษ เป็นเงิน

ความเสียหาย

ด้านพืช

จังหวัดประสบภัย จำนวน 74 จังหวัด พื้นที่ประสบภัย 11.26 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 8.36 ล้านไร่ พืชไร่ 1.87 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ 1.03 ล้านไร่

สำรวจแล้ว พบว่า เป็นพื้นที่เสียหายสิ้นเชิง (ณ วันที่ 24 ธ.ค. 53) จำนวน 7.13 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 5.88 ล้านไร่ พืชไร่ 0.89 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ 0.36 ล้านไร่ คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 16,389.08 ล้านบาท

ด้านประมง

จังหวัดประสบภัย จำนวน 68 จังหวัด สำรวจแล้ว พบว่าพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 179,161 ไร่ แบ่งเป็น บ่อปลา 153,926 ไร่ บ่อกุ้ง ปู หอย 25,235 ไร่ กระชัง/บ่อซีเมนต์ 466,885 ตารางเมตร เกษตรกร 124,299 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 869.81 ล้านบาท

ด้านปศุสัตว์

จังหวัดประสบภัย จำนวน 54 จังหวัด สำรวจแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธ.ค. 53) พบว่า สัตว์ตายและสูญหาย จำนวน 1,911,166 ตัว แปลงหญ้า 9,003.25 ไร่ เกษตรกร 24,080 ราย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือ 111.30 ล้านบาท

การช่วยเหลือ

1. เงินทดรองราชการแล้ว รวมทั้งสิ้น 192.52 ล้านบาท แบ่งเป็น

1.1 เงินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 39.91 ล้านบาท

1.2 เงินทดรองราชการในอำนาจนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด 119.58 ล้านบาท

1.3 เงินทดรองราชการในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 33.03 ล้านบาท

2. ขอเงินงบกลาง

2.1 กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ ส่งเอกสารให้ ธกส. เพื่อขออนุมัติเงินงวดแล้วทั้งสิ้น 12,028.60 ล้านบาท แบ่งเป็น ด้านพืช 11,807.25 ล้านบาท ด้านประมง 209.07 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ 12.28 ล้านบาท

2.2 ธกส. ขออนุมัติเงินงวดจากสำนักงบประมาณ ครั้งที่ 1 จำนวน 2,500 ล้านบาท

2.3 ธกส. โอนเงินให้ ธกส. สาขา เพื่อโอนเข้าบัญชีเกษตรกร ครั้งที่ 1 จำนวน 2,088.70 ล้านบาท แบ่งเป็น

ด้านพืช วงเงิน 2,073.38 ล้านบาท เกษตรกร 89,901 ราย ในพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำพูน พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท ฉะชิงเทรา นครนายก จันทบุรี

ด้านประมง วงเงิน 15.32 ล้านบาท เกษตรกร 5,824 ราย ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยนาท ฉะเชิงเทรา

ความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม

สำรวจความเสียหายแล้ว( ณ 30 ธ.ค.53) พบสวนยางพาราที่เสียสภาพสวนทั้งสิ้น 26,087.25 ไร่ เกษตรกร 10,924 ราย คิดเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น จำนวน 191.38 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วยเหลืออัตราไร่ละ 6,007 บาท เป็นเงิน 156.71 ล้านบาท และค่าปลูกซ่อมต้นยางและค้ำยันต้นยาง จำนวน 134,594 ต้น เป็นเงิน 34.67 ล้านบาท อยู่ระหว่างส่งเอกสารให้ ธกส. เพื่อขออนุมัติเงินงวดจากสำนักงบประมาณต่อไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มกราคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ