แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ร่างพระราชบัญญัติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เป็นประธานที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ไปประกอบการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า ได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... โดยมีเนื้อหาแตกต่างไปจากร่างพระราชบัญญัติที่ส่วนราชการเคยได้ให้ความเห็นไว้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 พิจารณา โดยส่วนราชการดังกล่าวได้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในทรัพยากรน้ำ องค์การบริหารจัดการลุ่มน้ำและองค์กรผู้ใช้น้ำ กองทุนทรัพยากรน้ำการพัฒนา ฟื้นฟู คุ้มครอง และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำขาดแคลน และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทางน้ำชลประทาน ดังนี้
1. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยเพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร่างข้อ 5)
2. กำหนดให้การใช้ทรัพยากรน้ำแบ่งเป็นสามประเภท คือ
2.1 การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการยังชีพ ฯลฯ
2.2 การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 2 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ฯลฯ
2.3 การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 3 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมากหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำหรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง (ร่างมาตรา 10)
3. ให้มีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 32 คน โดยเพิ่มอธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มอธิบดีกรมการปกครองตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย เพื่อการประสาน สั่งการกับจังหวัดและอำเภอ โดยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยทั่วไปและมีอำนาจหน้าที่อื่น ได้แก่ เสนอนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนแม่บทลุ่มน้ำ แผนงาน หรือโครงการพัฒนา บริหารจัดการ ฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำ กำหนดสิทธิในทรัพยากรน้ำของแต่ละลุ่มน้ำเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสมเหตุสมผล ควบคุม กำกับ ติดตาม เร่งรัด และตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ พิจารณาอนุญาตการใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 3 รวมทั้ง กำหนดลำดับความสำคัญเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำ ฯลฯ (ร่างมาตรา 14 — ร่างมาตรา 15)
4. กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการคัดเลือก และแต่งตั้งผู้แทนแต่ละส่วนและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรักษาการของคณะกรรมการดังกล่าว ระเบียบการประชุม มติที่ประชุม และการวินิจัฉัยชี้ขาดของที่ประชุม (ร่างมาตรา 17 — ร่างมาตรา 22)
5. ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ หรือมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีอำนาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลใดมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง มาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ (ร่างมาตรา 23 — ร่างมาตรา 24)
6. ให้กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งกรรมการและอนุกรรมการได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นตามระเบียบของทางราชการ (ร่างมาตรา 25)
7. การกำหนดลุ่มน้ำให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยให้คำนึงถึงสภาพอุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ ระบบนิเวศน์ วัฒนธรรมประเพณี ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ลุ่มน้ำก่อน (ร่างมาตรา 26)
8. คณะกรรมการประจำลุ่มน้ำที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยทั่วไปในลุ่มน้ำ ออกข้อกำหนดลุ่มน้ำ และมีอำนาจอื่นตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 27 — ร่างมาตรา 29)
9. การกำหนดลุ่มน้ำย่อยให้กระทำโดยประกาศคณะกรรมการลุ่มน้ำที่ลุ่มน้ำย่อยนั้นตั้งอยู่ โดยให้คำนึงถึงสภาพอุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ ระบบนิเวศน์ วัฒนธรรมและประเพณี ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียภายในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยก่อน (ร่างมาตรา 31)
10. ให้มีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงาน ระดับกองหรือสำนัก สังกัดกรมทรัพยากรน้ำขึ้นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด และให้มีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำและสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อย เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 36 — ร่างมาตรา 40)
11. ให้มีองค์กรผู้ใช้น้ำ สหพันธ์ผู้ใช้น้ำ และสมาพันธ์ผู้ใช้น้ำมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ การดำเนินงาน ระบบบัญชีและการเงิน รวมทั้ง หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการก่อตั้งเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 41 — ร่างมาตรา 43)
12. ให้มีการจัดตั้งกองทุนทรัพยากรน้ำขึ้นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งให้การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 46)
13. กำหนดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินกองทุนและการบริหารจัดการกองทุน ลุ่มน้ำ สำหรับรายละเอียด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับกองทุนลุ่มน้ำให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 47 และร่างมาตร 48)
14. เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองแหล่งต้นน้ำ ลำธาร รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือคณะกรรมการลุ่มน้ำ มีอำนาจออกกฎกระทวง ประกาศ หรือคำสั่งกำหนดพื้นที่ต้นน้ำ ลำธาร เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือประกาศให้โครงการประเภทใดหรือขนาดใดที่อาจส่งผลกระทบต่อลุ่มน้ำ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการลุ่มน้ำ หรือคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อยก่อนดำเนินการ (ร่างมาตรา 49 - ร่างมาตรา 50)
15. ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 53)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า ได้ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... โดยมีเนื้อหาแตกต่างไปจากร่างพระราชบัญญัติที่ส่วนราชการเคยได้ให้ความเห็นไว้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 พิจารณา โดยส่วนราชการดังกล่าวได้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในทรัพยากรน้ำ องค์การบริหารจัดการลุ่มน้ำและองค์กรผู้ใช้น้ำ กองทุนทรัพยากรน้ำการพัฒนา ฟื้นฟู คุ้มครอง และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำขาดแคลน และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทางน้ำชลประทาน ดังนี้
1. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยเพิ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร่างข้อ 5)
2. กำหนดให้การใช้ทรัพยากรน้ำแบ่งเป็นสามประเภท คือ
2.1 การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการยังชีพ ฯลฯ
2.2 การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 2 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ฯลฯ
2.3 การใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 3 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมากหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำหรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง (ร่างมาตรา 10)
3. ให้มีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 32 คน โดยเพิ่มอธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มอธิบดีกรมการปกครองตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย เพื่อการประสาน สั่งการกับจังหวัดและอำเภอ โดยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยทั่วไปและมีอำนาจหน้าที่อื่น ได้แก่ เสนอนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนแม่บทลุ่มน้ำ แผนงาน หรือโครงการพัฒนา บริหารจัดการ ฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำ กำหนดสิทธิในทรัพยากรน้ำของแต่ละลุ่มน้ำเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสมเหตุสมผล ควบคุม กำกับ ติดตาม เร่งรัด และตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ พิจารณาอนุญาตการใช้ทรัพยากรน้ำประเภทที่ 3 รวมทั้ง กำหนดลำดับความสำคัญเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำ ฯลฯ (ร่างมาตรา 14 — ร่างมาตรา 15)
4. กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการคัดเลือก และแต่งตั้งผู้แทนแต่ละส่วนและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การรักษาการของคณะกรรมการดังกล่าว ระเบียบการประชุม มติที่ประชุม และการวินิจัฉัยชี้ขาดของที่ประชุม (ร่างมาตรา 17 — ร่างมาตรา 22)
5. ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ หรือมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีอำนาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลใดมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง มาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ (ร่างมาตรา 23 — ร่างมาตรา 24)
6. ให้กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งกรรมการและอนุกรรมการได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นตามระเบียบของทางราชการ (ร่างมาตรา 25)
7. การกำหนดลุ่มน้ำให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยให้คำนึงถึงสภาพอุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ ระบบนิเวศน์ วัฒนธรรมประเพณี ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ลุ่มน้ำก่อน (ร่างมาตรา 26)
8. คณะกรรมการประจำลุ่มน้ำที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยทั่วไปในลุ่มน้ำ ออกข้อกำหนดลุ่มน้ำ และมีอำนาจอื่นตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 27 — ร่างมาตรา 29)
9. การกำหนดลุ่มน้ำย่อยให้กระทำโดยประกาศคณะกรรมการลุ่มน้ำที่ลุ่มน้ำย่อยนั้นตั้งอยู่ โดยให้คำนึงถึงสภาพอุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ ระบบนิเวศน์ วัฒนธรรมและประเพณี ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียภายในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยก่อน (ร่างมาตรา 31)
10. ให้มีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นหน่วยงาน ระดับกองหรือสำนัก สังกัดกรมทรัพยากรน้ำขึ้นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอำนาจหน้าที่ตามกำหนด และให้มีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำและสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อย เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด (ร่างมาตรา 36 — ร่างมาตรา 40)
11. ให้มีองค์กรผู้ใช้น้ำ สหพันธ์ผู้ใช้น้ำ และสมาพันธ์ผู้ใช้น้ำมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ การดำเนินงาน ระบบบัญชีและการเงิน รวมทั้ง หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการก่อตั้งเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 41 — ร่างมาตรา 43)
12. ให้มีการจัดตั้งกองทุนทรัพยากรน้ำขึ้นในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งให้การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 46)
13. กำหนดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินกองทุนและการบริหารจัดการกองทุน ลุ่มน้ำ สำหรับรายละเอียด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับกองทุนลุ่มน้ำให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 47 และร่างมาตร 48)
14. เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองแหล่งต้นน้ำ ลำธาร รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือคณะกรรมการลุ่มน้ำ มีอำนาจออกกฎกระทวง ประกาศ หรือคำสั่งกำหนดพื้นที่ต้นน้ำ ลำธาร เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมหรือประกาศให้โครงการประเภทใดหรือขนาดใดที่อาจส่งผลกระทบต่อลุ่มน้ำ ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการลุ่มน้ำ หรือคณะกรรมการลุ่มน้ำย่อยก่อนดำเนินการ (ร่างมาตรา 49 - ร่างมาตรา 50)
15. ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 53)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 พฤษภาคม 2550--จบ--