คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า วงจรการผลิตโคนมและผลิตภัณฑ์มีองค์กรที่รับผิดชอบหลายฝ่าย ทั้งเกษตรกร สหกรณ์ ผู้รวบรวมน้ำนม ผู้แปรรูป ผู้ผลิตอุตสาหกรรม ผู้บริโภค และหน่วยงานราชการหลายส่วนงาน ทำให้การวางแผนหรือการแก้ไขปัญหามีผลกระทบต่อกัน การดำเนินงานบริหารจัดการที่ผ่านมาดำเนินการโดยคณะกรรมการ แต่ก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนตามรัฐบาลหรือผู้บริหาร นอกจากนี้มาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดโดยคณะกรรมการไม่ใช่มาตรการทางกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ได้ จึงมีแนวคิดร่วมกันว่าควรตั้งเป็นคณะกรรมการที่มีกฎหมายรองรับ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเป็นเวทีในการ วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในรูปของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ได้มีมติเห็นชอบด้วย ในการประชุมครั้งที่ 1 / 2549 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 จึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดนิยาม “การพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์” “ หน่วยงานของรัฐ” “โคนม” “น้ำนมโค” “ผลิตภัณฑ์” “ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนม” “องค์กรผู้เลี้ยง” “คณะกรรมการ” และ “รัฐมนตรี”
2. กำหนดให้มี “คณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าภายใน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการซึ่งเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรผู้เลี้ยงจำนวนสามคน ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด สมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ และสมาคมผู้เลี้ยงโคนมไทยโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน กรรมการซึ่งเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมนมจำนวนสามคน ได้แก่สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย สมาคมผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนม และสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งกรรมการร่วมกันคัดเลือกจำนวนไม่เกินสี่คน อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุมของคณะกรรมการ
4. คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
4.1 พิจารณาการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ทั้งระบบ กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในเรื่องดังกล่าว เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสนับสนุนให้องค์กรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการร่วมมือดำเนินการให้มีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.2 ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรผู้เลี้ยง และผู้ประกอบการในการกำหนดมาตรฐาน ปัจจัยการผลิตและผลิตภัณฑ์สถานที่เลี้ยงโคนม ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งระบบการขนส่งเพื่อให้การผลิตและการตลาดเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
4.3 ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือองค์กรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการในการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งองค์กร เพื่อให้มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ระหว่างองค์กรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการ
4.4 ประสานกับหน่วยงานของรัฐและคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโคนมรวมทั้งประสานการจัดทำแผนและโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรผู้เลี้ยง และผู้ประกอบการ
4.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมายรวมทั้งออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้และปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการดำเนินงานของคณะกรรมการ ประกอบด้วย อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานกรรมการ และผู้แทนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนมและองค์กรผู้เลี้ยง ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามจำนวนที่เห็นสมควร เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยีกรมปศุสัตว์ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมี กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ
6. ค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการ คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นให้จ่ายจากงบบริหารของกรมปศุสัตว์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า วงจรการผลิตโคนมและผลิตภัณฑ์มีองค์กรที่รับผิดชอบหลายฝ่าย ทั้งเกษตรกร สหกรณ์ ผู้รวบรวมน้ำนม ผู้แปรรูป ผู้ผลิตอุตสาหกรรม ผู้บริโภค และหน่วยงานราชการหลายส่วนงาน ทำให้การวางแผนหรือการแก้ไขปัญหามีผลกระทบต่อกัน การดำเนินงานบริหารจัดการที่ผ่านมาดำเนินการโดยคณะกรรมการ แต่ก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนตามรัฐบาลหรือผู้บริหาร นอกจากนี้มาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดโดยคณะกรรมการไม่ใช่มาตรการทางกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ได้ จึงมีแนวคิดร่วมกันว่าควรตั้งเป็นคณะกรรมการที่มีกฎหมายรองรับ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเป็นเวทีในการ วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในรูปของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ได้มีมติเห็นชอบด้วย ในการประชุมครั้งที่ 1 / 2549 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 จึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดนิยาม “การพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์” “ หน่วยงานของรัฐ” “โคนม” “น้ำนมโค” “ผลิตภัณฑ์” “ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนม” “องค์กรผู้เลี้ยง” “คณะกรรมการ” และ “รัฐมนตรี”
2. กำหนดให้มี “คณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าภายใน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการซึ่งเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากองค์กรผู้เลี้ยงจำนวนสามคน ได้แก่ ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด สมาคมกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมน้ำนมดิบ และสมาคมผู้เลี้ยงโคนมไทยโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน กรรมการซึ่งเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมนมจำนวนสามคน ได้แก่สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย สมาคมผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนม และสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งกรรมการร่วมกันคัดเลือกจำนวนไม่เกินสี่คน อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุมของคณะกรรมการ
4. คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
4.1 พิจารณาการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ทั้งระบบ กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในเรื่องดังกล่าว เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสนับสนุนให้องค์กรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการร่วมมือดำเนินการให้มีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.2 ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรผู้เลี้ยง และผู้ประกอบการในการกำหนดมาตรฐาน ปัจจัยการผลิตและผลิตภัณฑ์สถานที่เลี้ยงโคนม ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งระบบการขนส่งเพื่อให้การผลิตและการตลาดเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
4.3 ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือองค์กรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการในการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งองค์กร เพื่อให้มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ระหว่างองค์กรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการ
4.4 ประสานกับหน่วยงานของรัฐและคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโคนมรวมทั้งประสานการจัดทำแผนและโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรผู้เลี้ยง และผู้ประกอบการ
4.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมายรวมทั้งออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้และปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
5. ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการดำเนินงานของคณะกรรมการ ประกอบด้วย อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานกรรมการ และผู้แทนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนมและองค์กรผู้เลี้ยง ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามจำนวนที่เห็นสมควร เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยีกรมปศุสัตว์ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมี กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ
6. ค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการ คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นให้จ่ายจากงบบริหารของกรมปศุสัตว์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550--จบ--