การรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการควบคุมและรับรองการจับสัตว์น้ำเพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง IUU

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 12, 2011 14:40 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการควบคุมและรับรองการจับสัตว์น้ำเพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง IUU ครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนกรกฎาคม — กันยายน 2553 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการควบคุมและรับรองการจับสัตว์น้ำเพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง IUU ครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนกรกฎาคม — กันยายน 2553 โดยเป็นข้อมูลผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 สรุปได้ดังนี้

1.ผลการดำเนิน

1.1 ออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำไปแล้วจำนวน 3,274 ฉบับ (ใบรับรองการจับสัตว์น้ำ 2,475 ฉบับ และใบรับรองการจับสัตว์น้ำแบบง่าย 799 ฉบับ) รวมน้ำหนักสินค้า จำนวน 14,711.51 ตัน คิดเป็นจำนวนสัตว์น้ำรวม 27,870.80 ตัน ออกเอกสารรับรองสินค้าประมงจับก่อนวันที่ 1 มกราคม 2553 จำนวน 6,515 ฉบับ ออกเอกสารรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ (สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ) จำนวน 834 ฉบับ

1.2 แจกจ่ายสมุดบันทึกการทำการประมง (Logbook) ให้แก่เรือประมง จำนวน 5,623 ฉบับ ซึ่งได้รับ Logbook กลับคืน จำนวน 17,653 ฉบับ และบันทึกข้อมูลลงระบบรวม จำนวน 17,481 ฉบับ ส่วนการออก Mobile Unit เพื่อเร่งรัดการจดทะเบียนเรือประมงและอาชญาบัตร สามารถดำเนินการจดทะเบียนเรือได้ จำนวน 6,764 ลำ และบริการรับคำขอจดอาชญาบัตรได้ จำนวน 2,244 ลำ

1.3 ทำการตรวจสอบสุขอนามัยท่าเรือประมง จำนวน 64 แห่ง ในจังหวัดชายแดนทะเลครบตามเป้าหมายที่วางไว้พร้อมทั้งได้ทำการคัดเลือกท่าเทียบเรือที่มีศักยภาพในการปรับปรุงปี 2554 ได้ทั้งหมด 20 ท่า ทำการกำหนดมาตรฐานสุขอนามัยเรือประมงเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินสุขอนามัยเรือประมงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้จำนวนรวม 750 ลำ นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจประเมินสุขอนามัยเรือประมงในพื้นที่จังหวัดต่างๆ รวมจำนวน 29 คน อบรมชาวประมง/เจ้าของเรือประมง จำนวน 725 คน และอบรมด้านสุขอนามัยให้แก่ผู้ประกอบการแพปลา องค์การสะพานปลา และท่าเทียบเรือ เจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัด จำนวน 433 คน

1.4 ดำเนินการประกวดราคาและจัดทำสัญญาเพื่อจัดจ้างทำระบบข้อมูลและการสร้างเครือข่ายข้อมูลการทำประมงของเรือประมงไทยในวงเงินจัดจ้างจำนวน 12,790,000 บาท โดยผู้รับจ้างเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2553 กำหนดแล้วเสร็จ 27 มิถุนายน 2554

1.5 ศูนย์ประสานงาน IUU ได้จัดชุดเจ้าหน้าที่ในส่วนเกี่ยวข้องจากส่วนกลางเพื่อเดินสายชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดและสำนักงานประมงอำเภอรวมจำนวนทั้งสิ้น 9 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ 22 จังหวัด และได้ดำเนินการจัดการประชาสัมพันธ์โดยส่วนกลางเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ 4 ตอน ทำสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปของโปสเตอร์ต่างๆ แผ่นพับ Roll up เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและแนวทางปฏิบัติให้แก่ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

1.6 จัดตั้งศูนย์ประสานงานการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (ศปส.) หรือศูนย์ IUU ภายในบริเวณกรมประมง กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 โดยศูนย์ฯ ได้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการเป็นประจำทุก 1 — 2 สัปดาห์

1.7 ในการดำเนินการตามข้อ 1.1 — 1.6 ได้ใช้งบประมาณจากงบกลางฯ จำนวน 30,498,583 บาท โดยมีปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

ปัญหาและอุปสรรค                                               แนวทางแก้ไข
-ชาวประมงบางรายไม่ให้ความร่วมมือในการ                           -กรมประมงบูรณาการทำงานกับกรมเจ้าท่า
จดทะเบียนเรือประมงและขออาชญาบัตรทำการประมง                     ในการออก Mobile Unit เร่งรัดการ

จดทะเบียนเรือประมงและอาชญาบัตรให้มากยิ่งขึ้น

-ประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบสัตว์น้ำมายังประเทศไทยเพื่อ                     -กรมประมงได้แจ้งไปยังสหภาพยุโรปให้ดำเนินการ
แปรรูปส่งออกไปยังสหภาพยุโรปโดยเฉพาะประเทศ                       ช่วยเหลือประเทศที่ยังไม่มี CA แล้ว และประสาน
ในหมู่เกาะแปซิฟิก ยังไม่ได้แจ้ง Competent Authority                 กับหน่วยงานของประเทศดังกล่าว เพื่อรับทราบปัญหา
(CA) ให้สหภาพยุโรปทราบ ทำให้ยังไม่สามารถออกใบ                    และช่วยเหลือทางเทคนิคในเรื่องนี้ด้วย
รับรองการจับสัตว์น้ำให้แก่ผู้ประกอบการไทยได้
-ประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบสัตว์น้ำมายังไทยบางประเทศ เช่น                 -กรมประมงได้ส่งผู้แทนไปเจรจากับ CA ไต้หวัน
ไต้หวัน ส่งใบรับรองการจับสัตว์น้ำมาให้ผู้ประกอบการนำเข้า                เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ของไทยล่าช้ามาก และสำเนาใบรับรองฯ ที่ให้มาไม่ชัดเจน
ทำให้ต้องเสียเวลาแก้ไขเอกสาร

ทั้งนี้ กรมประมงได้วางแนวทางในการปฏิบัติของชาวประมง แพปลา และผู้ประกอบการโรงงานให้มีความสะดวกที่สุด มีการทำความเข้าใจให้แก่ชาวประมง แพปลาและผู้ประกอบการโรงงานได้ทราบถึงความจำเป็นและแนวทางปฏิบัติที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่สำหรับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องดังกล่าว และกรมประมงได้เปิดอีเมล์ที่ iuucenter@gmail.com เพื่อบริการผู้ประกอบการในการร้องเรียนปัญหาเรื่อง IUU มายังศูนย์ประสานงาน IUU เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ต่อไป

20. เรื่อง แผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554-2555

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554-2555 และกำหนดให้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นแนวทางที่สำคัญในยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมถึงให้จังหวัดพิจารณานำแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด พ.ศ. 2553-2555 ไปดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ด้วย ตามเหตุผลและความจำเป็นที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เสนอและเห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ที่ได้รับจัดสรรไปดำเนินการก่อน ส่วนปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศตามระเบียบและขั้นตอนต่อไป

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554-2555

1. หลักการสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการ

แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2552 — 2555 มีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลงเหลือ 14.15 คนต่อประชากรหนึ่งแสนหรือประมาณ 9,012 คน ภายในปี พ.ศ. 2555 ดังนั้น หากจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวในปี พ.ศ. 2554 — 2555 จะต้องลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ได้ในจำนวนประมาณ 1,287 คน

2. กรอบการจัดทำแผนปฏิบัติการ

แผนปฏิบัติการฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นภายใต้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2552-2555 ซึ่งเน้นในเรื่องการลดปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บรุนแรง ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรจึงวางกรอบโครงการกิจกรรมที่สอดรับกับแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2552-2555 และทิศทางการดำเนินงานทศวรรษความปลอดภัยทางถนน โดยมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยการแก้ไขปัญหาเมาแล้วขับ และการใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

3. กรอบงบประมาณแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554-2555 ประกอบด้วย 6 แผนงาน 44 โครงการ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 มกราคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ