คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง รายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาเพิ่มเติม ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 เห็นชอบให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) รับไปดำเนินการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา โดยให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงระบบการจัดจำหน่ายสลากให้เหมาะสม รวมทั้งการจัดสรรสลากแก่ผู้จำหน่ายรายย่อย ตลอดจนผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่มีอาชีพจำหน่ายสลากโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางหรือนายหน้า เนื่องจากมีการจำหน่ายสลากเกินกว่าราคาที่กำหนด ซึ่งเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ซื้อสลากโดยทั่วไป
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้หารือกับผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ซื้อผู้ขายสลากทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมสรุปเป็นประเด็นในการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้ซื้อผู้ขาย นักวิชาการและสื่อมวลชน แล้วนำผลที่ได้รับไปพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาต่อไป
3. คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดทำแผนแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา โดยกำหนดจะเริ่มการจำหน่ายสลากตามระบบใหม่ได้ในสลากงวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2548
4. การจัดจำหน่ายระบบใหม่เพื่อควบคุมราคาและให้ผู้ค้าจริงเป็นผู้ได้รับโควตาโดยตรง มีขั้นตอนและแนวทางดังนี้
ขั้นตอนดำเนินการ
1. สำนักงานสลากฯ ได้ดำเนินการขอและยึดสลากคืนจากองค์กรต่าง ๆ ที่เคยได้รับสลากแต่ไม่ได้จำหน่ายเอง นำมาจัดสรรใหม่จำนวนประมาณ 5 ล้านฉบับ
2. นำสลากเสรีที่จัดจำหน่ายชั่วคราวให้กับผู้ค้าสลากรายละ 10 เล่ม จำนวนทั้งสิ้น 10 ล้านฉบับ มารวมกับสลากที่ขอและยึดคืน (ตามข้อ 1) เพื่อจัดสรรใหม่ให้กับผู้ค้าสลากปลีกจริงมาสมัครขอรับสลากไปจำหน่าย
3. เปิดรับสมัครผู้ประสงค์ต้องการจำหน่ายสลากทางไปรษณียบัตร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้พิการ 2) บุคคลทั่วไป 3) สมาคม องค์กร 4) นิติบุคคล (โดยจัดแยกเป็นในส่วนของกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทุกจังหวัด)
ปรากฏว่ามีผู้มาสมัครทั้งสิ้น 489,144 ราย และตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีเอกสารถูกต้อง จำนวน 228,815 ราย
4. ในส่วนกลาง สำนักงานสลากฯ เป็นผู้ดำเนินการ สุ่มคละรายชื่อ (Random) จำนวนสองเท่าของผู้ที่ได้รับการจัดสรร เพื่อนำมาตรวจสอบคุณสมบัติแล้วคัดเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายตามจำนวนที่จัดสรรให้ ส่วนที่เหลือสุ่มคละรายชื่อ (Random) จัดลำดับก่อนหลังเป็นบัญชีสำรอง ในส่วนภูมิภาคสำนักงานสลากฯ ทำการสุ่มคละรายชื่อ (Random) จำนวนสองเท่าของสัดส่วนที่ผู้ค้าสลากแต่ละจังหวัดจะได้รับ เพื่อให้จังหวัดทำการตรวจสอบคุณสมบัติ แล้วสำนักงานสลากฯ นำมาคัดเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากตามจำนวนที่จัดสรรให้ ส่วนที่เหลือทำการสุ่มคละรายชื่อจัดลำดับก่อนหลังเป็นบัญชีรายสำรอง
ขั้นตอนการควบคุม
1. แบ่งสลากแยกเป็น 4 สี ดังนี้
- สลากแถบสีเขียว ให้ตัวแทนจำหน่ายในกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่าย
- สลากแถบสีน้ำเงิน ให้ตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคเป็นผู้จำหน่าย
- สลากแถบสีน้ำตาล ให้สมาชิกของสมาคม องค์กรเป็นผู้จำหน่าย
- สลากแถบสีชมพู ให้สมาชิกหรือตัวแทนของบริษัท หรือนิติบุคคลเป็นผู้จำหน่าย
2. สำนักงานสลากฯ ได้ออกบัตรประจำตัวให้กับผู้จำหน่ายติดที่หน้าอกหรือคล้องคอ โดยแยกบัตรออกเป็น 4 สีตามสีในสลาก ดังนี้
- บัตรสีเขียว ให้ตัวแทนจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร
- บัตรสีน้ำเงิน ให้ตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาค
- บัตรสีน้ำตาล ให้สมาชิกของสมาคม องค์กร
- บัตรสีชมพู ให้สมาชิกหรือตัวแทนของบริษัท นิติบุคคล
3. ติดประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิจำหน่ายสลากของแต่ละจังหวัดที่ศาลากลางจังหวัดนั้น ๆ ในกรุงเทพฯ ติดที่หน้าสำนักงานสลากฯ โรงพิมพ์สำนักงานฯ สลากสาขา 1 และ 2 รวม 4 แห่ง
4. ออกหนังสือรับรองการเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากให้กับผู้ค้าสลากของสำนักงานสลากฯ ติดตามร้าน หรือแผง หรือตู้ที่จำหน่ายสลากของตัวแทนจำหน่าย
ผลการดำเนินการ (ตั้งแต่สลากงวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2548)
ด้านราคา
1. ผู้ค้าสลากทั่วไป (รายย่อย) จำหน่ายสลากแก่ผู้ซื้อฉบับละ 40 บาท หรือคู่ละ 80 บาท เป็นส่วนใหญ่ทั่วทั้งประเทศ โดยไม่มีการร้องเรียนว่ามีการจำหน่ายสลากเกินราคาเหมือนเช่นในอกีตที่ผ่านมา
2. ผู้ค้าสลากที่เป็นองค์กร สมาคม และนิติบุคคล จำหน่ายสลากให้กับสมาชิกในราคาส่วนลดตามที่สำนักงานสลากฯ กำหนดทุกราย (บางรายจำหน่ายต่ำกว่าราคาส่วนลดที่กำหนด)
ด้านผู้จำหน่าย
1. ผู้ได้รับโควตาเดิมและผู้ที่ได้รับสิทธิโควตาใหม่ (ที่ไม่จำหน่ายจริง) ได้สละสิทธิ์ไม่มารับสลาก เนื่องจากเหตุผลการวางมาตรการควบคุมที่เข้มงวดทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถนำสลากมาจัดสรรให้กับผู้ที่รอรับสลากไปจำหน่ายจริงได้อีก จำนวนประมาณ 2,000 ราย
2. ได้เปิดให้ผู้ประสงค์จะจำหน่ายสลากที่เหลือมาลงทะเบียน ณ จังหวัดตามภูมิลำเนา และเข้าประชาคมตรวจสอบกันเอง แล้วรวบรวมรายชื่อและจำนวนเสนอมาให้ทางสำนักงานสลากฯ หาแนวทางจัดสรรสลากให้ในโอกาสต่อไป สำหรับในกรุงเทพมหานครได้ลงทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้วโดยมีผู้ขอรับสลากอีกจำนวน 6,000 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 เห็นชอบให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) รับไปดำเนินการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา โดยให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงระบบการจัดจำหน่ายสลากให้เหมาะสม รวมทั้งการจัดสรรสลากแก่ผู้จำหน่ายรายย่อย ตลอดจนผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่มีอาชีพจำหน่ายสลากโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางหรือนายหน้า เนื่องจากมีการจำหน่ายสลากเกินกว่าราคาที่กำหนด ซึ่งเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ซื้อสลากโดยทั่วไป
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้หารือกับผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ซื้อผู้ขายสลากทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมสรุปเป็นประเด็นในการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้ซื้อผู้ขาย นักวิชาการและสื่อมวลชน แล้วนำผลที่ได้รับไปพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาต่อไป
3. คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดทำแผนแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา โดยกำหนดจะเริ่มการจำหน่ายสลากตามระบบใหม่ได้ในสลากงวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2548
4. การจัดจำหน่ายระบบใหม่เพื่อควบคุมราคาและให้ผู้ค้าจริงเป็นผู้ได้รับโควตาโดยตรง มีขั้นตอนและแนวทางดังนี้
ขั้นตอนดำเนินการ
1. สำนักงานสลากฯ ได้ดำเนินการขอและยึดสลากคืนจากองค์กรต่าง ๆ ที่เคยได้รับสลากแต่ไม่ได้จำหน่ายเอง นำมาจัดสรรใหม่จำนวนประมาณ 5 ล้านฉบับ
2. นำสลากเสรีที่จัดจำหน่ายชั่วคราวให้กับผู้ค้าสลากรายละ 10 เล่ม จำนวนทั้งสิ้น 10 ล้านฉบับ มารวมกับสลากที่ขอและยึดคืน (ตามข้อ 1) เพื่อจัดสรรใหม่ให้กับผู้ค้าสลากปลีกจริงมาสมัครขอรับสลากไปจำหน่าย
3. เปิดรับสมัครผู้ประสงค์ต้องการจำหน่ายสลากทางไปรษณียบัตร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้พิการ 2) บุคคลทั่วไป 3) สมาคม องค์กร 4) นิติบุคคล (โดยจัดแยกเป็นในส่วนของกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทุกจังหวัด)
ปรากฏว่ามีผู้มาสมัครทั้งสิ้น 489,144 ราย และตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีเอกสารถูกต้อง จำนวน 228,815 ราย
4. ในส่วนกลาง สำนักงานสลากฯ เป็นผู้ดำเนินการ สุ่มคละรายชื่อ (Random) จำนวนสองเท่าของผู้ที่ได้รับการจัดสรร เพื่อนำมาตรวจสอบคุณสมบัติแล้วคัดเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายตามจำนวนที่จัดสรรให้ ส่วนที่เหลือสุ่มคละรายชื่อ (Random) จัดลำดับก่อนหลังเป็นบัญชีสำรอง ในส่วนภูมิภาคสำนักงานสลากฯ ทำการสุ่มคละรายชื่อ (Random) จำนวนสองเท่าของสัดส่วนที่ผู้ค้าสลากแต่ละจังหวัดจะได้รับ เพื่อให้จังหวัดทำการตรวจสอบคุณสมบัติ แล้วสำนักงานสลากฯ นำมาคัดเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากตามจำนวนที่จัดสรรให้ ส่วนที่เหลือทำการสุ่มคละรายชื่อจัดลำดับก่อนหลังเป็นบัญชีรายสำรอง
ขั้นตอนการควบคุม
1. แบ่งสลากแยกเป็น 4 สี ดังนี้
- สลากแถบสีเขียว ให้ตัวแทนจำหน่ายในกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่าย
- สลากแถบสีน้ำเงิน ให้ตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาคเป็นผู้จำหน่าย
- สลากแถบสีน้ำตาล ให้สมาชิกของสมาคม องค์กรเป็นผู้จำหน่าย
- สลากแถบสีชมพู ให้สมาชิกหรือตัวแทนของบริษัท หรือนิติบุคคลเป็นผู้จำหน่าย
2. สำนักงานสลากฯ ได้ออกบัตรประจำตัวให้กับผู้จำหน่ายติดที่หน้าอกหรือคล้องคอ โดยแยกบัตรออกเป็น 4 สีตามสีในสลาก ดังนี้
- บัตรสีเขียว ให้ตัวแทนจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร
- บัตรสีน้ำเงิน ให้ตัวแทนจำหน่ายในภูมิภาค
- บัตรสีน้ำตาล ให้สมาชิกของสมาคม องค์กร
- บัตรสีชมพู ให้สมาชิกหรือตัวแทนของบริษัท นิติบุคคล
3. ติดประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิจำหน่ายสลากของแต่ละจังหวัดที่ศาลากลางจังหวัดนั้น ๆ ในกรุงเทพฯ ติดที่หน้าสำนักงานสลากฯ โรงพิมพ์สำนักงานฯ สลากสาขา 1 และ 2 รวม 4 แห่ง
4. ออกหนังสือรับรองการเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากให้กับผู้ค้าสลากของสำนักงานสลากฯ ติดตามร้าน หรือแผง หรือตู้ที่จำหน่ายสลากของตัวแทนจำหน่าย
ผลการดำเนินการ (ตั้งแต่สลากงวดประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2548)
ด้านราคา
1. ผู้ค้าสลากทั่วไป (รายย่อย) จำหน่ายสลากแก่ผู้ซื้อฉบับละ 40 บาท หรือคู่ละ 80 บาท เป็นส่วนใหญ่ทั่วทั้งประเทศ โดยไม่มีการร้องเรียนว่ามีการจำหน่ายสลากเกินราคาเหมือนเช่นในอกีตที่ผ่านมา
2. ผู้ค้าสลากที่เป็นองค์กร สมาคม และนิติบุคคล จำหน่ายสลากให้กับสมาชิกในราคาส่วนลดตามที่สำนักงานสลากฯ กำหนดทุกราย (บางรายจำหน่ายต่ำกว่าราคาส่วนลดที่กำหนด)
ด้านผู้จำหน่าย
1. ผู้ได้รับโควตาเดิมและผู้ที่ได้รับสิทธิโควตาใหม่ (ที่ไม่จำหน่ายจริง) ได้สละสิทธิ์ไม่มารับสลาก เนื่องจากเหตุผลการวางมาตรการควบคุมที่เข้มงวดทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถนำสลากมาจัดสรรให้กับผู้ที่รอรับสลากไปจำหน่ายจริงได้อีก จำนวนประมาณ 2,000 ราย
2. ได้เปิดให้ผู้ประสงค์จะจำหน่ายสลากที่เหลือมาลงทะเบียน ณ จังหวัดตามภูมิลำเนา และเข้าประชาคมตรวจสอบกันเอง แล้วรวบรวมรายชื่อและจำนวนเสนอมาให้ทางสำนักงานสลากฯ หาแนวทางจัดสรรสลากให้ในโอกาสต่อไป สำหรับในกรุงเทพมหานครได้ลงทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้วโดยมีผู้ขอรับสลากอีกจำนวน 6,000 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--