คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรมได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 สิงหาคม 2547 สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ระหว่างปี 2547-2549 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนรวมจำนวน 440 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละยุทธศาสตร์โดยมีความก้าวหน้า ในการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคคลากรและสถานศึกษา ครอบคลุมกิจกรรมสร้างบุคลากรใหม่ด้านแม่พิมพ์เพื่อเตรียมเข้าทำงาน (Pre-Employment Training) การยกระดับฝีมือแรงงานของพนักงานในสถานประกอบการ (Further Training) การพัฒนาวิทยากรเพื่อการฝึกอบรมในสถานประกอบการ (Shop Floor Training) โดยในภาคอุตสาหกรรมโครงการได้ให้การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ โดยมีผู้จบการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 2,232 คน
ในภาคการศึกษา โครงการได้ให้การสนับสนุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนสาขาแม่พิมพ์ของวิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ จำนวน 62 แห่ง
1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทาง ครอบคลุมกิจกรรมวิจัยประยุกต์ (Applied Research) การให้คำปรึกษา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยได้จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่พิมพ์ (Excellence Center) จำนวน 7 แห่ง โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละศูนย์ ฯ ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการแก้ไขปัญหาการผลิตและหานวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านงานแม่พิมพ์ ผ่านกิจกรรมวิจัยพัฒนา จำนวน 37 เรื่อง การให้คำปรึกษา จำนวน 1,085 คน/วัน การถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 23 เรื่อง และการสร้างคู่มือปฏิบัติ จำนวน 15 เรื่อง ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาและต้นทุนได้
1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและการตลาด ประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญคือ การรวมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็น Cluster การแสดงสินค้าแม่พิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น โดยผู้ประกอบการแม่พิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและขนาดกลางได้ขยายโอกาสทางการตลาดมากขึ้น มีปริมาณลูกค้าและยอดขายสูงขึ้น เกิดการเชื่อมโยงและรวมกลุ่มเป็น Cluster ประกอบด้วย แผนงานหลัก 4 ด้าน คือ 1) การประชาสัมพันธ์และการตลาด 2) การรวมกลุ่มอุตสาหกรรม 3) การสนับสนุนและพัฒนาการประกอบการอุจสาหกรรมแม่พิมพ์ และ 4) การพัฒนาและบ่มเพาะผู้ประกอบการ
1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์และข้อมูลสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้องที่ครบถ้วนและทันสมัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของประเทศและการดำเนินธุรกิจ โดยได้พัฒนาซอฟแวร์ระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เพื่อ เผยแพร่ในลักษณะเว็บท่าจำนวน 1 ระบบ ซึ่งได้จัดเก็บข้อมูลผู้ประกอบการแม่พิมพ์ไว้ในระบบแล้ว จำนวน 238 ราย
2. เป้าหมายของโครงการ เพื่อให้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยมีศักยภาพในการผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงสูง และสามารถรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกโดยในระยะยาวสามารถยกระดับเทคโนโลยีเพื่อให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นแหล่งรวมบุคลากรที่มีทักษะสูง และมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเป็นศูนย์กลางในการลงทุนในการผลิตระดับสากล
3. การติดตามและประเมินผลโครงการปี 2548 เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง สถาบันไทย — เยอรมันในฐานะผู้บริหารโครงการได้มอบหมายให้หน่วยงานภายนอกทำการติดตามและประเมินผลการทำงาน เพื่อติดตามความ ก้าวหน้าของโครงการ วิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาวิเคราะห์ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการ ทราบทัศนคติและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ และนำผลที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานในปี 2550 เป็นต้นไป ซึ่งผลการติดตามและประเมินในประเด็นต่าง ๆ เป็นดังนี้
3.1 เป้าหมายโครงการ พบว่ามีความสอดคล้องต่อสภาพเศรษฐกิจภูมิศาสตร์ และโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทย ในลักษณะที่เป็นวิสัยทัศน์ โดยยังไม่ได้สร้างตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในระยะต่อไปเสนอแนะให้สร้างตัวชี้วัดแบบเปรียบเทียบ
3.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ ครอบคลุมสาระที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ การมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การมุ่งพัฒนาเทคโนโลยี การมุ่งส่งเสริมการลงทุนและการทำธุรกรรม และการมุ่งสร้างกลไกและระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นเส้นทางนำไปสู่เป้าหมายที่มียุทธศาสตร์ของโครงการรองรับอยู่
3.3 ยุทธศาสตร์ในภาพรวม พบว่า โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ได้วางยุทธศาสตร์ได้สอดคล้องกับเสริมกันอย่างมีตรรกะ โดยมองว่า การสร้างบุคลากรให้เข้มแข็ง นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง นำไปสู่การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง นำไปสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่เข้มแข็ง นำไปสู่การสร้างบุคลากรที่เข้มแข็ง ดังนั้นยุทธศาสตร์ในภาพรวมเป็นยุทธศาสตร์ที่สามารถสร้างความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ โดยเสนอแนะให้ตระหนักในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ที่ต้องใช้ความพยายามและความมุ่งมั่นทุ่มเทจึงจะบังเกิดผลได้
3.4 การบริหารโครงการ พบว่าโครงการนี้มีความเป็นเอกภาพสูง คือ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานการวางแผนโครงการ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ประกอบด้วยตัวแทนของหน่วยราชการและตัวแทนของภาคเอกชน และกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้สถาบันไทย — เยอรมัน ซึ่งมีประสบการณ์ในการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหรรมแม่พิมพ์ของประเทศทำหน้าที่เป็นผู้บริหารโครงการ นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้มอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูง (รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)
รับผิดชอบและนำการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์และการบริหารสถาบันไทย-เยอรมัน ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารโครงการจึงเกิดทิศทางที่ชัดเจน
สำหรับการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของปี 2549 (ตุลาคม 2548-2549) อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกผู้ดำเนินการ
4. ปัญหาและอุปสรรค
4.1 ผู้ประกอบการไม่ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมตามแผนและตามจำนวนที่วางไว้ เพราะไม่มีคนทดแทนในการทำงาน และบางส่วนยังมีความเชื่อว่า เมื่อบุคลากรได้รับรู้ความสามารถมากขึ้น ก็จะเปลี่ยนงานหรือเรียกร้องรายได้เพิ่มขึ้น
4.2 ข้อจำกัดในเรื่องความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เช่น เครือข่ายฝึกอบรมบางแห่งมีบุคลากรและทรัพยากรพร้อมที่จะจัดฝึกอบรมช่างแม่พิมพ์ แต่ผู้บริหารไม่ให้ความสนใจทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้
4.3 หน่วยงานที่จะพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางมีข้อจำกัดด้านจำนวนผู้เชี่ยวชาญ และครุภัณฑ์ ทำให้การบริการแก่ภาคอุตสาหกรรมทำได้ไม่เต็มที่ภายในเวลาที่กำหนด
4.4 การรวมกลุ่มผู้ประกอบการแม่พิมพ์เป็น Cluster กว่าจะสำเร็จต้องใช้ระยะเวลานาน จึงต้องอาศัยความเข้าใจ ความร่วมมือ ระยะเวลา และความเสียสละของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มท้อถอยและไม่ให้ความร่วมมือ
4.5 ความร่วมมือของผู้ประกอบการแม่พิมพ์ในการให้ข้อมูลสำหรับจัดทำระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยังมีอยู่จำกัด เนื่องจากผู้ประกอบการเกรงการรั่วไหลในเรื่องข้อมูลที่เป็นความลับ
5. แนวทางแก้ไข
5.1 เร่งฝึกบุคลากรที่เป็น Pre-employment Training แล้วส่งเข้าทำงานทดแทนในสถานประกอบการ เพื่อที่บุคลากรในสถานประกอบการจะสามารถเข้ารับการอบรมได้
5.2 ปรับการจัดการฝึกอบรม Further Training จากลักษณะ Package 25 วัน เป็นแบบ Module เพื่อให้สถานประกอบการสามารถส่งพนักงานเข้ารับการอบรมได้เป็นช่วง ๆ ในขณะที่งานประจำก็ไม่เสียหาย
5.3 ประสานงานให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานนั้น ๆ ให้มีการพบและหารือกับบริหารของโครงการหรือกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลและความจำเป็นที่จะต้องร่วมกันทำให้โครงการบรรลุถึงเป้าหมาย
5.4 ให้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจัดทำแผนการพัฒนาศูนย์ โดยโครงการจัดงบประมาณสนับสนุนบางส่วน
5.5 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ในระยะยาว และจัดทำการรวมกลุ่มที่มีความเป็นไปได้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นตัวอย่าง
5.6 ชี้ให้ผู้ประกอบการเห็นถึงประโยชน์ระยะยาวที่จะเกิดกับส่วนรวม และให้ความมั่นใจว่าข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บเป็นความลับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--
กระทรวงอุตสาหกรรมได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 สิงหาคม 2547 สรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ระหว่างปี 2547-2549 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนรวมจำนวน 440 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละยุทธศาสตร์โดยมีความก้าวหน้า ในการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคคลากรและสถานศึกษา ครอบคลุมกิจกรรมสร้างบุคลากรใหม่ด้านแม่พิมพ์เพื่อเตรียมเข้าทำงาน (Pre-Employment Training) การยกระดับฝีมือแรงงานของพนักงานในสถานประกอบการ (Further Training) การพัฒนาวิทยากรเพื่อการฝึกอบรมในสถานประกอบการ (Shop Floor Training) โดยในภาคอุตสาหกรรมโครงการได้ให้การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ โดยมีผู้จบการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 2,232 คน
ในภาคการศึกษา โครงการได้ให้การสนับสนุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนสาขาแม่พิมพ์ของวิทยาลัยเทคนิคต่าง ๆ จำนวน 62 แห่ง
1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทาง ครอบคลุมกิจกรรมวิจัยประยุกต์ (Applied Research) การให้คำปรึกษา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยได้จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่พิมพ์ (Excellence Center) จำนวน 7 แห่ง โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละศูนย์ ฯ ได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการในการแก้ไขปัญหาการผลิตและหานวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านงานแม่พิมพ์ ผ่านกิจกรรมวิจัยพัฒนา จำนวน 37 เรื่อง การให้คำปรึกษา จำนวน 1,085 คน/วัน การถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 23 เรื่อง และการสร้างคู่มือปฏิบัติ จำนวน 15 เรื่อง ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาและต้นทุนได้
1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและการตลาด ประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญคือ การรวมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็น Cluster การแสดงสินค้าแม่พิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น โดยผู้ประกอบการแม่พิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและขนาดกลางได้ขยายโอกาสทางการตลาดมากขึ้น มีปริมาณลูกค้าและยอดขายสูงขึ้น เกิดการเชื่อมโยงและรวมกลุ่มเป็น Cluster ประกอบด้วย แผนงานหลัก 4 ด้าน คือ 1) การประชาสัมพันธ์และการตลาด 2) การรวมกลุ่มอุตสาหกรรม 3) การสนับสนุนและพัฒนาการประกอบการอุจสาหกรรมแม่พิมพ์ และ 4) การพัฒนาและบ่มเพาะผู้ประกอบการ
1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์และข้อมูลสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้องที่ครบถ้วนและทันสมัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของประเทศและการดำเนินธุรกิจ โดยได้พัฒนาซอฟแวร์ระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เพื่อ เผยแพร่ในลักษณะเว็บท่าจำนวน 1 ระบบ ซึ่งได้จัดเก็บข้อมูลผู้ประกอบการแม่พิมพ์ไว้ในระบบแล้ว จำนวน 238 ราย
2. เป้าหมายของโครงการ เพื่อให้อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยมีศักยภาพในการผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงสูง และสามารถรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกโดยในระยะยาวสามารถยกระดับเทคโนโลยีเพื่อให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากลได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นแหล่งรวมบุคลากรที่มีทักษะสูง และมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเป็นศูนย์กลางในการลงทุนในการผลิตระดับสากล
3. การติดตามและประเมินผลโครงการปี 2548 เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง สถาบันไทย — เยอรมันในฐานะผู้บริหารโครงการได้มอบหมายให้หน่วยงานภายนอกทำการติดตามและประเมินผลการทำงาน เพื่อติดตามความ ก้าวหน้าของโครงการ วิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาวิเคราะห์ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการ ทราบทัศนคติและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ และนำผลที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานในปี 2550 เป็นต้นไป ซึ่งผลการติดตามและประเมินในประเด็นต่าง ๆ เป็นดังนี้
3.1 เป้าหมายโครงการ พบว่ามีความสอดคล้องต่อสภาพเศรษฐกิจภูมิศาสตร์ และโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทย ในลักษณะที่เป็นวิสัยทัศน์ โดยยังไม่ได้สร้างตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในระยะต่อไปเสนอแนะให้สร้างตัวชี้วัดแบบเปรียบเทียบ
3.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ ครอบคลุมสาระที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ การมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การมุ่งพัฒนาเทคโนโลยี การมุ่งส่งเสริมการลงทุนและการทำธุรกรรม และการมุ่งสร้างกลไกและระบบการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นเส้นทางนำไปสู่เป้าหมายที่มียุทธศาสตร์ของโครงการรองรับอยู่
3.3 ยุทธศาสตร์ในภาพรวม พบว่า โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ได้วางยุทธศาสตร์ได้สอดคล้องกับเสริมกันอย่างมีตรรกะ โดยมองว่า การสร้างบุคลากรให้เข้มแข็ง นำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง นำไปสู่การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง นำไปสู่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่เข้มแข็ง นำไปสู่การสร้างบุคลากรที่เข้มแข็ง ดังนั้นยุทธศาสตร์ในภาพรวมเป็นยุทธศาสตร์ที่สามารถสร้างความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ โดยเสนอแนะให้ตระหนักในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ที่ต้องใช้ความพยายามและความมุ่งมั่นทุ่มเทจึงจะบังเกิดผลได้
3.4 การบริหารโครงการ พบว่าโครงการนี้มีความเป็นเอกภาพสูง คือ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานการวางแผนโครงการ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ประกอบด้วยตัวแทนของหน่วยราชการและตัวแทนของภาคเอกชน และกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้สถาบันไทย — เยอรมัน ซึ่งมีประสบการณ์ในการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหรรมแม่พิมพ์ของประเทศทำหน้าที่เป็นผู้บริหารโครงการ นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้มอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูง (รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)
รับผิดชอบและนำการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์และการบริหารสถาบันไทย-เยอรมัน ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารโครงการจึงเกิดทิศทางที่ชัดเจน
สำหรับการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของปี 2549 (ตุลาคม 2548-2549) อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกผู้ดำเนินการ
4. ปัญหาและอุปสรรค
4.1 ผู้ประกอบการไม่ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมตามแผนและตามจำนวนที่วางไว้ เพราะไม่มีคนทดแทนในการทำงาน และบางส่วนยังมีความเชื่อว่า เมื่อบุคลากรได้รับรู้ความสามารถมากขึ้น ก็จะเปลี่ยนงานหรือเรียกร้องรายได้เพิ่มขึ้น
4.2 ข้อจำกัดในเรื่องความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เช่น เครือข่ายฝึกอบรมบางแห่งมีบุคลากรและทรัพยากรพร้อมที่จะจัดฝึกอบรมช่างแม่พิมพ์ แต่ผู้บริหารไม่ให้ความสนใจทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้
4.3 หน่วยงานที่จะพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางมีข้อจำกัดด้านจำนวนผู้เชี่ยวชาญ และครุภัณฑ์ ทำให้การบริการแก่ภาคอุตสาหกรรมทำได้ไม่เต็มที่ภายในเวลาที่กำหนด
4.4 การรวมกลุ่มผู้ประกอบการแม่พิมพ์เป็น Cluster กว่าจะสำเร็จต้องใช้ระยะเวลานาน จึงต้องอาศัยความเข้าใจ ความร่วมมือ ระยะเวลา และความเสียสละของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มท้อถอยและไม่ให้ความร่วมมือ
4.5 ความร่วมมือของผู้ประกอบการแม่พิมพ์ในการให้ข้อมูลสำหรับจัดทำระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ยังมีอยู่จำกัด เนื่องจากผู้ประกอบการเกรงการรั่วไหลในเรื่องข้อมูลที่เป็นความลับ
5. แนวทางแก้ไข
5.1 เร่งฝึกบุคลากรที่เป็น Pre-employment Training แล้วส่งเข้าทำงานทดแทนในสถานประกอบการ เพื่อที่บุคลากรในสถานประกอบการจะสามารถเข้ารับการอบรมได้
5.2 ปรับการจัดการฝึกอบรม Further Training จากลักษณะ Package 25 วัน เป็นแบบ Module เพื่อให้สถานประกอบการสามารถส่งพนักงานเข้ารับการอบรมได้เป็นช่วง ๆ ในขณะที่งานประจำก็ไม่เสียหาย
5.3 ประสานงานให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานนั้น ๆ ให้มีการพบและหารือกับบริหารของโครงการหรือกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลและความจำเป็นที่จะต้องร่วมกันทำให้โครงการบรรลุถึงเป้าหมาย
5.4 ให้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางจัดทำแผนการพัฒนาศูนย์ โดยโครงการจัดงบประมาณสนับสนุนบางส่วน
5.5 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ในระยะยาว และจัดทำการรวมกลุ่มที่มีความเป็นไปได้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นตัวอย่าง
5.6 ชี้ให้ผู้ประกอบการเห็นถึงประโยชน์ระยะยาวที่จะเกิดกับส่วนรวม และให้ความมั่นใจว่าข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บเป็นความลับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2550--จบ--